ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปกครองประเทศฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 54:
 
คณะรัฐมนตรีจะมีประชุมประจำสัปดาห์ทุกวันพุธ ซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประธานการประชุม ณ [[พระราชวังเอลิเซ่]]
 
==ฝ่ายนิติบัญญัติ==
 
ระบบรัฐสภาฝรั่งเศส ประกอบไปด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
 
การประชุมรัฐสภาแบ่งเป็นสมัยประชุมทั้งสิ้น 9 เดือนต่อ 1 ปี ในกรณีจำเป็น ประธานาธิบดีสามารถขอเพิ่มวาระการประชุมได้ แม้ว่าอำนาจบริหารของฝ่ายนิติบัญญติจะถูกตัดออกจากสมัยสาธารณรัฐที่ 4 แต่สภาผู้แทนราษฎรยังสามารถยุบรัฐบาลได้โดยใช้เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งกรณียังไม่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5
 
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเสนอญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (motion de censure) ได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่การแสดงความรับผิดชอบ โดยญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่สามารถเสนอได้คือญัตติที่มีสมาชิกจำนวน 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเป็นผู้เสนอ เมื่อมีการเสนอญัตติ สภาก็จะทำการอภิปรายและลงมติตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือ การอภิปรายต้องจัดขึ้นภายใน 3 วันเป็นอย่างช้า โดยวันดังกล่าวหมายถึงวันที่เป็นวันประชุม ส่วนการลงมตินั้นต้องไม่เกิดขึ้นภายในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงหลังการเสนอญัตติ ญัตติจะได้รับความเห็นชอบก็ต่อเมื่อญัตตินั้นได้คะแนนเสียงข้างมากของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด
 
ถ้าไม่มีการเสนอญัตติภายในเวลา 24 ชั่วโมง หรือญัตติไม่ได้รับความเห็นชอบ ให้ถือว่าร่างกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลนั้นได้รับความเห็นชอบจากสภา การแสดงความรับผิดชอบนี้จะมีผลสำหรับวาระการพิจารณาที่นำกระบวนการดังกล่าวมาใช้เท่านั้น และไม่ส่งผลใด ๆ ต่อกระบวนการส่งไป-มา<ref>ระบบรัฐสภาสาธารณรัฐฝรั่งเศส [http://www.senate.go.th/index-of-parliament/pages/index_france02.htm] โดยสำนักเลขาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา</ref>
 
สมาชิกรัฐสภาได้รับอภิสิทธิ์ต่อการจับกุม ในระหว่างสมัยวาระประชุม โดยทั้งสองสภาสมารถตั้งคณะกรรมาธิการชั่วคราวเพื่อทำการสอบสวนได้
 
{{กระทรวงในประเทศฝรั่งเศส}}