ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าแม่วัดดุสิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ฉัตรา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tom02 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{โปร}}
'''เจ้าแม่วัดดุสิต''' พระบรมราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์[[ราชวงศ์จักรี]] พระองค์เป็นพระนมชั้นเอกใน[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]][[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ทรงพระราชทานสร้างวังมีตำหนักตึกที่ริม[[วัดดุสิดาราม]]ถวายพระองค์เจ้าพระนมนาง ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า เจ้าแม่ดุสิต มีข้อสันนิษฐานมากมายเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดของเจ้าแม่วัดดุสิต เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าเจ้าแม่วัดดุสิตสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด โดย [[ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช]] ได้กล่าวไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้โดยอ้างจากหนังสือราชินิกุลบางช้างไว้ว่า "เจ้าแม่วัดดุสิตมีศักดิ์เป็น[[หม่อมเจ้า]]ใน[[ราชวงศ์สุโขทัย|ราชวงศ์พระมหาธรรมราชา]] ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่[[ราชวงศ์พระร่วง]][[กรุงสุโขทัย]]"<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=[[ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช]]|ชื่อหนังสือ=โครงกระดูกในตู้|จังหวัด=กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่= บริษัท โอ เอ็น จี การพิมพ์ จำกัด|ปี= พ.ศ. 2548|ISBN= 974-690-131-1|จำนวนหน้า=109|หน้า= 21}}</ref> นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงพระนามของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้ว่า บางแห่งกล่าวว่าชื่อ "หม่อมเจ้าหญิงบัว" มีเชื้อสายพระร่วงสุโขทัย บางแห่งก็กล่าวว่าชื่อ "หม่อมเจ้าหญิงอำไพ" เป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเอกาทศรถ]] อย่างไรก็ตาม หลักฐานหลายแห่งก็ไม่ได้บ่งบอกว่าสายตระกูลของเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นสืบเชื้อสายมาจากเชื้อพระวงศ์สายไหนเช่นกัน<ref name="ปรามินทร์">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=ปรามินทร์ เครือทอง|ชื่อหนังสือ=ศิลปวัฒนธรรม : ตามหา "เจ้าแม่วัดดุสิต" ปริศนาต้นพระราชวงศ์จักรี เจ้านายหรือสามัญชน ฉบับที่ 6 ปีที่ 26 |จังหวัด=กรุงเทพฯ|ปี= พ.ศ. 2548|จำนวนหน้า= |หน้า=76-86}}</ref> แต่จากเอกสารพงศาวดารไทยหลายฉบับและของต่างประเทศเป็นที่ยืนยันว่าเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นมีตัวตนอย่างแน่นอน
 
ภายหลังมีความเปลี่ยนแปลงในราชสำนัก จนกระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าและขึ้นทรงกรมที่ '''[[กรมพระเทพามาตย์]]''' ตามลำดับในสมัย[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]] เป็นที่รู้จักกันดีในพระนาม "เจ้าแม่วัดดุสิต" ต่อมาภายหลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ [[พระราชพงศาวดารกรุงเก่า]]ได้เอ่ยถึงเจ้าแม่วัดดุสิตในนาม "'''เจ้าแม่ผู้เฒ่า'''" รัชกาลที่ ๔ เคยมีพระราชหัตถเลขาถึงเซอร์จอห์น เบาว์ริง ทรงอ้างถึงต้นตระกูลชาวมอญหงสาวดี ได้ติดตามสมเด็จพระนเรศวรหรือที่ทรงเรียกว่าพระนเรศร (King Phra Naresr) มายังกรุงศรีอยุธยา