ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วนิช ปานะนนท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''วนิช ปานะนนท์''' อดีต[[นักการเมือง]], [[นักธุรกิจ]][[ชาวไทย]] และเป็นหนึ่งใน[[คณะราษฎร]]ด้วย
 
นายวนิช เกิดเมื่อปี [[พ.ศ. 2446]] ที่[[อำเภอพานทอง]] [[จังหวัดชลบุรี]] โดยที่บิดาเป็นพ่อค้าขาย[[ข้าว|ข้าวเปลือก]] จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดพานทอง, โรงเรียนมัธยมวัดเขาบางกรวย, มัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่[[โรงเรียนปทุมคงคา|โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา]] และสอบเข้าศึกษาต่อใน[[โรงเรียนนายเรือ]]
 
นายวนิชมีนิสัยชอบค้าขายเหมือนบิดา ดังนั้น ระหว่างที่เป็นนักเรียนนายเรือ เมื่อได้ไปฝึกการเรือภาคปฏิบัติยังท่าเรือต่างประเทศ จึงได้ถือโอกาสศึกษาและสังเกตการค้าไปด้วย ต่อมาจึงได้ลาออกจากโรงเรียนนายเรือ ขณะที่เรียนอยู่ห้องที่ 4 เมื่อปี [[พ.ศ. 2467]] โดยร่วมหุ้นกับพี่ชายเปิดร้านชื่อ "เอส.วี. บราเดอร์ส" ที่[[ถนนมหาราช]] ใกล้กับท่าเตียน เมื่อปี [[พ.ศ. 2468]] จากนั้น 2 ปีผ่านไป จึงเริ่มต่อต่อการค้าด้วยตนเองด้วยการสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยสินค้าที่นายวนิชให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ [[น้ำมันเชื้อเพลิง]] โดยเฉพาะ [[แก๊สโซลีน]]และ[[เคโรซีน]] และได้ศึกษาเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง 2 ประเภทนี้ด้วยตนเองจนแตกฉาน ทำให้กิจการการค้าก้าวหน้ายิ่งขึ้น
 
ใน[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475]] นายวนิชได้เข้าร่วมในส่วน[[ทหารเรือ]] ด้วยเคยเป็นนักเรียนนายเรือเก่า และยังมีศักดิ์เป็นน้องเขยของ นาวาโท [[หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)|หลวงสินธุสงคราม]] หัวหน้าคณะทหารเรือ ในคณะราษฎรด้วย
 
หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งองค์การน้ำมัน ในสังกัด[[กระทรวงกลาโหม]] นายวนิชได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการ จึงยุติการทำการค้าไปโดยปริยาย ซึ่งนายวนิชได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกน้ำมันเชื้อเพลิง ในวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2476]] มีหน้าที่สั่งซื้อและจำหน่ายน้ำมันต่าง ๆ ให้แก่ กรมกองต่าง ๆ ใน[[รัฐบาลไทย|ราชการ]] ซึ่งต่อมาแผนกขึ้นได้ถูกยกฐานะเป็นกรม จึงทำให้นายวนิชได้เป็นเจ้ากรมเชื้อเพลิงเป็นคนแรก ในปี [[พ.ศ. 2479]] และกลายสภาพเป็นกิจการปั๊มน้ำมันสามทหาร และกลายมาเป็นองค์การเชื้อเพลิง ซึ่งเป็น[[รัฐวิสาหกิจ]]ที่ดูแลกิจการปั๊มน้ำมันสามทหารขณะนั้น ต่อมาได้ถูกปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร กลายมาเป็นรัฐวิสาหกิจใหม่ คือ [[การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย]] (ปตท.จำกัด (มหาชน)) ในปัจจุบัน
 
ในปี [[พ.ศ. 2483]] นายวนิชได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพาณิชย์ และดำรงตำแหน่งอธิบดี[[กรมการค้าต่างประเทศ]]เป็นคนแรกในเวลาต่อมา ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสั่งการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 9|รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ในวันที่ [[17 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2484]] ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในวันที่ [[30 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2486]]
 
ในช่วง[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]] นายวนิชถูกกล่าวหาว่า เอนเอียงเข้าข้างฝ่าย[[จักรวรรดิญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]]จากฝ่ายต่อต้านญี่ปุ่น ในต้นปี [[พ.ศ. 2487]] ถูกจับกุมในข้อหาทุจริตต่อหน้าที่ โดยที่ไม่มีใครในรัฐบาลได้ออกมาปกป้อง แม้แต่จอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]
 
ซึ่งในระหว่างที่ถูกจับกุม ทางฝ่ายรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือนายวนิชผ่านทางสถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และนายวนิชก็ได้พยายามช่วยเหลือตนเองด้วยการเขียน[[จดหมาย]]หาจอมพล ป.
 
นายวนิช ปานะนนท์ ถึงแก่กรรมลงในเรือนจำ เมื่อวันที่ [[21 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2487 โดยทาง[[กรมตำรวจ]]ระบุว่าเป็น[[การฆ่าตัวตาย]] แต่ก็มีหลายฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายญี่ปุ่นเชื่อว่า การเสียชีวิตของนายวนิชเป็นการ[[ฆาตกรรม]]ทางการเมือง โดยเรียกร้องได้มี[[การชันสูตรพลิกศพ|การชันสูตร]]ร่วมกับทางแพทย์ฝ่ายญี่ปุ่น แต่ทางญาติปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก หลวงสินธุสงครามชัย ผู้เป็นพี่ภริยา
 
พิธีฌาปนกิจนายวนิช มีขึ้นในวันที่ [[27 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2490]] ณ เมรุ [[วัดเทพศิรินทราวาส]]<ref>หน้า 178-181, ''อำนาจ ๒ ต่อสู้กู้ชาติ เอกราษฎร์ อธิปไตย'' โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ ([[เมษายน]] [[พ.ศ. 2555]]) ISBN 978-616-536-079-1</ref>
 
==อ้างอิง==