ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พุทธเศรษฐศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NongBot (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำด้วยบอต
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
==เศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานและเชิงปทัสฐาน==
 
วิกฤตการณ์ของการวิเคราะห์ในทางเศรษฐศาสตร์มีรากฐานมาจากการแบ่งแยกที่ตายตัวระหว่างแนวความคิดเชิงปฎิปฏิฐานนิยม(Positive Economics) และปทัสฐานนิยม(Normative Economics) เศรษฐศาสตร์แบบปฏิฐานนิยมให้คำนิยามการวิเคราะห์ในเชิงวัตถุวิสัย(Objective) ซึ่งบางครั้งเรียกว่ากฏธรรมชาติโดยปราศจากการตัดสินด้วยค่านิยมส่วนตัว แนวความคิดนี้เมื่อเอาไปเปรียบเทียบกับแนวคิดเชิงปทัสฐานนิยมซึ่งจะเอารวมความเห็นและการตัดสินเชิงคุณค่าเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย การแบ่งแยกกันระหว่างสองแนวทางนี้เกิดจากการขาดความเข้าใจความเชื่อมโยงกับธรรมชาติของมนุษย์
 
เศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานนิยมตั้งข้อสมมุติว่า ความโลภ(Greed) หรือจะพูดให้เบากว่านี้คือ ผลประโยชน์ส่วนตน(Self Interest) เป็นธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์ เป็นพฤติกรรมที่มีเหตุผล(Rational Behaviour) ดังนั้นการกระทำใด ๆ เพื่อบรรลุ อรรถประโยชน์สูงสุดจึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นการกระทำที่มีเหตุผล [[:en:Jeremy Bentham]] กล่าวว่ามนุษย์ขาดเสียไม่ได้ที่จะคอยปรนนิบัติความต้องการของตัวเอง ปัจเจกบุคคลทั้งหลายได้รับแรงกระตุ้นจากความต้องการของตนเองให้กระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อบรรลุผลประโยชน์ส่วนตนให้มากที่สุด ความต้องการหรือความปราถนาปรารถนานี้เกิดขึ้นเพื่อแสวงหาประสบการณ์ที่ตนเองชื่นชอบและพยายามหลีกเลี่ยงหรือหลีกหนีจากความเจ็บปวดต่าง ๆ (Bowden 1990:77) นี่คือจุดเริ่มต้นของมุมมองแบบเศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานนิยม(Positive Economics)
 
ยังคงมีคำถามอีกหลายประการ แม้ว่า “กฎธรรมชาติ” ที่ได้รับการเสนอแนะโดย Bentham จะเป็นจริงทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้น แต่ปัจเจกบุคคลอื่น ๆ สามารถมีพฤติกรรมแตกต่างไปจากนี้ได้โดยเป็นข้อยกเว้นของกฎธรรมชาตินี้ได้หรือไม่ หรือจะถือว่า พฤติกรรมที่แตกต่างไปจากข้อสมมุติฐานนี้ เป็นพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผล มนุษย์จะมีรูปแบบพฤติกรรมอื่น ๆ มากไปกว่าการบรรลุ อรรถประโยชน์สูงสุดได้หรือไม่ รูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นอยู่ (เช่น การให้ความรักต่อศัตรูของตน หรือการทำงานอย่างหนักเพื่อคนอื่นโดยที่ตนเองต้องทนกระเหม็ดกระแหม่) พฤติกรรมเหล่านี้จะได้รับการพิจารณาว่าไม่มีเหตุผลได้หรือไม่ หรือจะพิจารณาว่าเป็นข้อยกเว้นจากกฎทั่วไป ข้อเท็จจริงก็คือ พฤติกรรมที่เป็นอยู่นี้ขัดแย้งกับข้อสมมุติฐานของเศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานนิยม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นข้อสรุปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานนิยมคือ มันเป็นเพียง “เชิงปฏิฐาน(Positive)” เท่านั้น เนื่องจากมันประกอบด้วยกฎเกณฑ์ชุดหนึ่งที่มีคำนิยามของตนเอง ดังนั้นจึงอาจมีคำถามว่า “Positive” หรือเศรษฐศาสตร์เชิงปฏิฐานนั้นเป็นอย่างไร นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักส่วนใหญ่ไม่ต้องการเผชิญกับคำถามที่ค่อนข้างยากนี้ ส่วนใหญ่จะยอมรับเอาแนวความคิดนี้มาใช้โดยปริยาย เพื่อที่จะมุ่งไปยังการพัฒนาการวิเคราะห์แบบจำลองของตน ซึ่งพบว่าอยู่ในฐานะที่สามารถจะควบคุมข้อโต้แย้งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ แต่การสร้างแบบจำลองใด ๆ ก็ตามบนรากฐานที่ไม่มั่นคงย่อมไม่สามารถนำไปสู่คำตอบที่ดีได้
บรรทัด 30:
ในศาสนาพุทธ มีแต่เพียงคำว่า “ทุกข์(Misery or Suffering) เท่านั้นที่ต้องการคำนิยามที่ชัดเจน คล้ายกับอุณหภูมิซึ่งต้องการกำหนดระดับของความร้อนให้ชัดเจน ความร้อนน้อยหมายถึงความเย็น ในทำนองเดียวกัน ทุกข์น้อยก็หมายถึงมีสุขมาก ดังนั้นในแนวความคิดของชาวพุทธการทำให้ทุกข์เหลือน้อยที่สุด ก็หมายถึงการทำให้มีความสุขมากที่สุด เช่นเดียวกันกับแนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์แกระแสหลักเกี่ยวกับการลดต้นทุนให้เหลือน้อยที่สุดก็หมายถึงการทำให้มีกำไรมากที่สุด
 
ความทุกข์ ถูกอธิบายว่าเป็นสภาวะที่ขัดแย้งหรือความไม่ลงรอยกันในตัวของบุคคล(พระราชวรมุนี 1983:21) ความขัดแย้งสำคัญจะปรากฎปรากฏขึ้นเมื่อคนเราเชื่อ “ความมีตัวตน” และพยายามที่จะยึดติดอยู่กับตัวตนอย่างเหนียวแน่น ตามหลักศาสนาพุทธแล้ว ไม่มีสิ่งที่เราเรียกว่า “ตัวตน” อยู่ สิ่งที่เราตระหนักหรือรับรู้ว่าเป็นตัวตน แท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงการประกอบกันขึ้นของสิ่งที่เรียกว่า “ขันธ์ห้า” ซึ่งประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ (พระราชวรมุนี 1983:15) ถ้าหากขาดขันธ์ห้าข้อใดข้อหนึ่งไป ก็จะไม่มีความเป็นคนอย่างสมบูรณ์ ทุกขณะจิตที่ผ่านไป คนก็จะไม่เหมือนเดิมเนื่องจากองค์ประกอบของขันธ์ห้าเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่อยู่นิ่งของขันธ์ห้าเกิดขึ้นจากกฎธรรมชาติที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่อยู่นิ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา([[พระราชวรมุนี]] 1983:20) ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันจะเป็นการดีถ้าเรารับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นและตระหนักว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งความมีตัวตนด้วย ถ้าเราพยายามที่จะยึดติอยู่กับตัวตนในขณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลง ผลที่เกิดขึ้นคือความขัดแย้งหรือความไม่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติที่ทุกสิ่งไม่อยู่นิ่ง คนส่วนใหญ่พยายามที่จะยึดติดอยู่กับตัวตนคล้ายกับว่ามันเป็นสิ่งที่มีอยู่ คนเหล่านี้พยายามที่จะสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้น โดยผ่านทางความชั่วร้ายหรือที่เราเรียกว่า กิเลส 3 ประการคือ โลภะ โทสะและโมหะ ซึ่งกิเลสคือสาเหตุที่แท้จริงของทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น(พระราชวรมุนี 1983:31)
 
ในทางตรงกันข้าม ความสุขหมายถึงการเป็นอิสระจากความโลภหรือความอยาก จากความโกรธและความหลง (พุทธทาสภิกขุ 1996 : 23 และพระราชวรมุนี 1983:28) การปลดเปลื้องสูงสุดสำหรับมนุษยชาติทั้งหลายคือ การเป็นอิสระจากสิ่งชั่วร้ายทั้งสามประการที่กล่าวมาแล้ว คนททั่วไปไม่สามารถปลดเปลื้องตัวเองออกจากกิเลสได้เนื่องจากขาดความรู้ที่ถูกต้อง (พระราชวรมุนี 1983:31) ความรู้ที่สำคัญและสูงกว่าความรู้อื่นทั้งปวงคือ การรู้ว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ตัวตน” ถ้าไม่มีตัวตนก็จะไม่มีใครเห็นแก่ตัว ไม่มีใครมีความเศร้าโศก (พระราชวรมุนี 1983:32)
บรรทัด 63:
ในภูมิอากาศเขตร้อน ประชากรอาศัยอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างใกล้ชิด ชีวิตชุมชนได้รับการเน้นมากกว่าชีวิตครอบครัวหรือแม้แต่ปัจเจกบุคคล ผลที่เกิดขึ้นคือในสมัยก่อนความเป็นเจ้าของโดยชุมชนจะมีความสำคัญมากกว่าความเป็นเจ้าของโดยส่วนตัว ในสถานการณ์เช่นนี้ ความยากลำบากหรือปัญหาทางกาย ไม่ใช้สิ่งคุกคามที่แท้จริงในสังคมตะวันออก ภายใต้ความสะดวกสบายทางกายภาพพวกเขาก็ยังไม่ได้รับความพึงพอใจอย่างแท้จริง พวกเขายังคงถูกเผาผลาญจากความต้องการภายใน การค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาจะต้องเจาะลึกลงไปให้มากกว่านี้ และจะต้องได้รับการศึกษาอย่างละเอียดเข้าไปในจิตวิญาณของความเป็นมนุษย์ ผู้ร้ายที่แท้จริงที่ถูกค้นพบคือความชั่วร้ายหรือกิเลสทั้งสามประการ คือ โลภะหรือความอยาก โทสะหรือความเกลียดชัง โมหะหรือความหลง ด้วยเหตุนี้คืการจัดการเกี่ยวกับทุกข์ในสังคมตะวันออกจึงมีความแตกต่างจากตะวันตก ซึ่งสาเหตุภายในของทุกข์จะต้องได้รับการค้นหาอย่างจริงจัง
 
โชคร้ายที่การเปรียบเทียบอย่างแหลมคมระหว่างวัฒนธรรมทั้งสอง (ตะวันออกและตะวันตก) ได้ลดลงเนื่องจากการปรากฎปรากฏตัวขึ้นของระบบทุนนิยม ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงแรกของศตวรรษที่สิบหกในประเทศยุโรป John Calvin วิศวกรผู้ปรับปรุงคริสจักร (ผู้ก่อตั้ง “จริธรรมแบบพิวริตัน([[:en:Puritan]] Ethics)” เพื่อปฎิรูปปฏิรูปคริสเตียนให้เหมาะสมกับความรู้สึกของชนชั้นกลางในยุโรป และเพื่อความสะดวกในการสะสมทุน(Tawney 1992: 91-111) ระบบการผลิตแบบโรงงานซึ่งถูกนำมาใช้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่สิบแปดทำให้เกิดการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก ระบบการผลิตขนาดใหญ่เป็นแรงผลักให้นักอุตสาหกรรมและนักธุรกิจ กระตุ้นให้มีการเพิ่มการบริโภคโดยผ่านทางการโฆษณาและการรณรงค์ทางการตลาดขนาดใหญ่ ผลก็คือลัทธิบริโภคนิยมเกิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในระหว่างนี้สิ่งชั่วร้ายสมัยใหม่สามประการได้พัฒนาขึ้น คือ ทุนนิยม อุตสาหกรรมนิยมและบริโภคนิยม เงินตราก็มีการปฏิรูปตัวเองจากการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนไปทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บสะสมมูลค่า ทำให้การลงทุนสามารถแสวงหารายได้ต่อไปอีก เมื่อไม่นานมานี้เงินตราได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไร รูปแบบดั้งเดิมของเงินตราได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยใช้เปลือกหอย สัตว์เลี้ยง ไปเป็นแร่เงิน ทองคำในช่วงเริ่มต้น ธนบัตรและบัตรเครดิตในระยะต่อมา การปฏิรูปครั้งล่าสุดของเงินตราคือเงินอิเลคโทรนิคส์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างฉับพลันทันทีไปยังที่ใด ๆ ก็ได้ในโลกใบนี้
 
ความชั่วร้ายสี่ประการคือ ทุนนิยม อุตสาหกรรมนิยม บริโภคนิยมและการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องของเงินตรา ทำให้เกิดความชั่วขึ้นในจิตใจของมนุษย์ทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออก โดยเฉพาะโลกตะวันออกปัญหารุนแรงยิ่งกว่า เนื่องจากประชาชนมีประสบการณ์กับพัฒนาการของความชั่วร้ายทั้ง 4 ประการนั้นในระยะเวลาที่สั้นกว่า ไม่เหมือนกับประเทศตะวันตกซึ่งการปฏิรูปค่อนข้างจะยาวนานกว่า ตั้งแต่เริ่มแรกของศตวรรษที่สิบหก ส่วนในประเทศตะวันออกเพิ่งจะเกิดขึ้นในหนึ่งศตวรรษมานี้เอง
 
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงค่อนข้างรุนแรงในประเทศตะวันออกมากกว่าประเทศตะวันตก และยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายล้างต่อไปในประเทศตะวันออก การปรากฏขึ้นของความชั่วร้ายทั้ง 4 ประการ คือปัจจัยหลักที่ตอบสนองต่อการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของวัฒนธรรมเปรียบเทียบทั้งสองคือตะวันออกและตะวันตก แม้ว่าการรวมกันจะก่อให้เกิดปัญหามากกว่า และความชั่วร้ายทั้ง 4 ประการ นำมาซึ่งปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลกอย่างรวดเร็ว ความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นนี้ก่อให้เกิดขีดจำกัดของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่บนโลกซึ่งเปรียบเสมือนกับการอยู่ในยานอวกาศลำเดียวกัน ขีดจำกัดนี้เรียกร้องให้พวกเราทุกคนต้องมีการปฏิรูปวัฒนธรรมพื้นฐานของเรา เพื่อการอยู่รวดของมนุษยชาติทั้งมวล นี่คือสาเหตุว่าทำไมการฟื้นฟูเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธจึงเหมือนกับการเรียกร้องให้มีการปฎิรูปปฏิรูปในศาสนาคริสต์ของลัทธิลูเธอร์ราน([[:en:Lutheranism]])ในช่วงอรุณรุ่งของลัทธิพาณิชนิยม( Tawney 1922 : 73-91)
 
==การประยุกต์ใช้พุทธเศรษฐศาสตร์==
 
การปรากฎปรากฏขึ้นของทุนนิยมในช่วงเริ่มแรกของลัทธิพาณิชนิยมกระตุ้นให้ [[:en:John Calvin]] ปฎิรูปปฏิรูปศาสนาคริสต์ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของชนชั้นกลาง ในช่วงเวลานี้ข้อเท็จจริงของ “อาณานิคมใหม่” ปรากฎปรากฏขึ้นบนยานอวกาศโลก กระตุ้นให้มีการเรียกร้องการปรับปรุงอย่างรวดเร็วในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแบบอนุรักษ์นิยม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเศรษฐศาสตร์กระแสหลักขาดเครื่องมือในการวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิผลต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เหมือนกับการปฏิบัติที่ค่อนข้างเป็นกลไก ล้าสมัยและคลุมเครือเในแนวความคิดทางปรัชญาของลัทธิอรรถประโยชน์นิยม ซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาแห่งการขาดแคลนของโลกตะวันตก
 
แม้ว่าคำสอนของศาสนาพุทธจะเก่ากว่ามาก แต่ก็ยังร่วมสมัยกับปัจจุบัน เนื่องจากคำสอนนี้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาแห่งความอุดมสมบูรณ์ของโลกตะวันออก ปัจจุบันเราก็อยู่ในช่วงเวลาแห่งความสมบูรณ์เช่นกัน แต่หายนะก็ได้บังเกิดขึ้นตรงหน้าเรา มันค่อนข้างเป็นสิ่งใหม่แต่เป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างประหลาด เนื่องจากนี่เป็นโอกาสเฉพาะอย่างหนึ่ง ดังนั้นเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธจึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการกับปัญหาที่เราเผชิญอยู่ปัจจุบัน
บรรทัด 81:
จากที่กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับแนวทางของศาสนาพุทธ ซึ่งพยายามจะระงับความโลภ ซึ่งไม่เหมือนกับวิธีการทำให้บรรลุอรรถประโยชน์สูงสุด ที่ไม่นำไปสู่การทำให้เกิดความสุขให้มากที่สุดหรือทำให้ความทุกข์เหลือน้อยที่สุดในแต่ละบุคคล ในเวลาเดียวกันก็เป็นการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือเป็นการใช้อย่างสูญเปล่า วิธีเดียวที่จะหลุดพ้นจากภาวะวิกฤตนี้ได้คือการใช้ “ปัญญา” หรือความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะที่คนเข้าใจถึงธรรมชาติความเป็นจริงของชีวิตและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งถึงแนวคิดเกี่ยวกับความไม่มีตัวตน แล้วคนจะไม่ยึดติดอยู่กับตัวตน ความโลภทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นได้โดยง่าย รูปแบบการบริโภคของคนจะเปลี่ยนไปเป็นการบริโภคเพื่อตอบสนองต่อความเป็นขั้นพื้นฐานมากกว่าการบริโภคเพื่อสนองต่อความอยากที่จอมปลอม (พระธรรมปิฎก 1993 : 21-22) ดังนั้นการปลูกฝัง “ปัญญา” หรือความสามารถในการไตร่ตรองวิเคราะห์แยกแยะปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสังคมไทยเพื่อการหลุดจากภาวะวิกฤต ประเทศอื่น ๆ ในเอเซียก็เป็นเช่นเดียวกัน การปลูกฝังปัญญาเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันสำหรับโรคที่แพร่กระจายจากการเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วของทุน การเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วของทุนเป็นสาเหตุแรกของวิกฤตที่ถูกกระตุ้นจากความโลภผ่านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ ในทศวรรษที่ผ่านมาก่อนเกิดภาวะวิกฤต โชคร้ายที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วมาพร้อมกับการสะสมของเสียและการทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติในภูมิภาคแห่งนี้อย่างชัดเจนที่สุด เราต้องการแนวทางใหม่ในการพัฒนาประเทศไทยและภูมิภาคเอเซียหลังจากผ่านพ้นเรื่องไร้สาระทั้งหลายไปแล้ว ภายใต้วิธีการพัฒนาประเทศแนวใหม่นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม 1997 ก่อนวันเฉลิมพระชนม์พรรษา มีใจความดังนี้ “ เศรษฐกิจที่พอเพียงไม่ได้หมายความว่าทุกครัวเรือนจะต้องเพาะปลูกอาหารกินเอง ตัดเย็บเสื้อผ้าใช้เอง แต่หมายถึงหมู่บ้าน ตำบล จะต้องสร้างผลผลิตที่เพียงพอสำหรับตอบสนองความต้องการของชุมชน สิ่งที่เหลือจากความต้องการสามารถนำออกขายให้ชุมชนอื่นที่มีความต้องการได้ แต่การค้าจะต้องไม่ห่างไกลเกินไปนักเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนในการขนส่ง” (พระบรมราโชวาท 1997 : 18)
 
พระธรรมปิฎก(ประยุทธ ประยุทธโต 1996:52-64) ได้เสนอแนวทาง” เศรษฐศาสตร์สำหรับทางสายกลาง” ไว้ โดย “ทางสายกลาง” เป็นแนวความคิดที่สำคัญในศาสนาพุทธ ซึ่งมีความหมายที่จะไม่ทำอะไรในหนทางที่สุดขั้ว ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับ “ จุดดุลยภาพ” ในเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ตามแนวคิดของพระธรรมปิฎก(ประยุทธ ประยุทธโต) เศรษฐศาสตร์ทางสายกลางหมายถึงการบริโภคแต่พอประมาณ ซึ่งเป็นจุดที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุ “คุณภาพชีวิต” (มีความสุขมากที่สุดและมีความทุกข์น้อยที่สุด) การบริโภคแต่พอประมาณจะต้องทำให้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หรืออีกนัยหนึ่ง การบริโภคจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลที่เป็นปฎิปักษ์ปฏิปักษ์กับระบบนิเวศน์วิทยา
 
แนวความคิดที่ได้รับการชี้แนะจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระธรรมปิฎก((ประยุทธ ประยุทธโต) เป็นเพียงตัวอย่างการนำเอาเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธเข้ามาประยุกต์ใช้สำหรับเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาประเทศเพื่อให้หลุดพ้นออกจากภาวะวิกฤติในปัจจุบันและเป็นการป้องกันวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จริงแล้วแนวความคิดบางอย่างได้เคยนำมาทดลองใช้ในประเทศไทยเป็นระยะเวลากว่าทศวรรษมาแล้ว โดยเฉพาะในหมู่เกษตรกรรายย่อย รูปแบบของไร่นาทางนิเวศน์ เช่น ไร่นาสวนผสม ป่าชุมชน ฯลฯ ได้นำมาทดลองใช้ในหมู่บ้านหลายแห่งในประเทศไทย (Puntasen 1996a:85-91 และ Puntasen 1996b:279 ) ซึ่งให้ผลเป็นที่น่าพอใจ ชาวนาจำนวนมากที่ทำเกษตรกรรมระบบนิเวศน์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้แทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้เลย ที่จริงแล้วชาวนาส่วนใหญ่เหล่านั้นรู้สึกดีขึ้นด้วยซ้ำจากการที่เงินบาทเสื่อมค่าลงในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่คงที่ ทำให้รายได้ที่แท้จริงของเขาสูงขึ้นจากราคาผลผลิตทางการเกษตรที่สูงขึ้น ในขณะที่ต้นทุนยังไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยหรือผลิตภัณฑ์ทางเคมีอื่น ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต
บรรทัด 87:
กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นหลังม่านของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเช่น กลุ่มออมทรัพย์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กลุ่มเครดิตยูเนียนและเครือข่าย เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ บางกลุ่มเริ่มขึ้นด้วยกิจกรรมเล็ก ๆ และริเริ่มขึ้นโดยสมาชิกในชุมชนที่ต้องการออมเงินส่วนเกินของชาวบ้านคนละเล็กละน้อยเช่น คนละ 10 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของครอบครัวที่จะต้องออมเงินของตัวเอง จุดประสงค์หลักของกิจกรรมเหล่านี้คือต้องการกระตุ้นให้ชาวบ้านมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่ชาวบ้านเผชิญอยู่และหาทางแก้ปัญหากันเอง เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งจำนวนเงินที่ชาวบ้านช่วยกันออมคนละเล็กละน้อยได้เพิ่มทวีขึ้น สมาชิกของกลุ่มซึ่งต่างรู้จักกันเป็นอย่างดีและต่างก็เคยพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกันมาแล้ว โครงการที่มีประโยชน์หลายโครงการต่างได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมาแล้วเป็นอย่างดี ครั้นแล้วก็ถึงเวลาที่จะให้เงินกู้แก่โครงการที่เป็นประโยชน์มากที่สุด โครงการหลายโครงการประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี กลุ่มออมทรัพย์หลายกลุ่มโดยเฉพาะในภาคใต้ มีเงินออมมากกว่า 10 ล้านบาท และบางกลุ่มมีมากกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันประมาณการณ์ว่ามีเงินออมของกลุ่มออมทรัพย์ต่าง ๆ ในชุมชนและกลุ่มเครดิตยูเนียนรวมกันทั่วประเทศประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบขนาดของเงินทุนของกลุ่มออมทรัพย์เหล่านี้กับปริมาณเงินในวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งประมาณการณ์ว่ามีจำนวนกว่า 4 ล้านล้านบาท นับว่าเป็นจำนวนที่น้อยมาก แต่เงินออมเหล่านี้ก็เป็นตัวแทนของกระบวนการทดสอบภาคปฏิบัติของการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่
 
ชัดเจนที่สุด ศักยภาพของกลุ่มออมทรัพย์และเครือข่ายใหญ่โตมาก จนถึงปัจจุบันนี้ รายงานการผิดสัญญาการใช้คืนเงินกู้มีน้อยมาก ระบบดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลและประหยัด ต้นทุนในการดำเนินการมีเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับเงินทุนของกลุ่ม ต้นทุนในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นมีเพียงหนึ่งหรือสองครั้งต่อเดือน ค่าแรงหรือค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานของกลุ่มไม่ได้สูงไปกว่าค่าจ้างในตลาด ระบบทั้งหมดตั้งอยู่บนความเชื่อถือซึ่งกันและกัน กลุ่มออมทรัพย์หลายกลุ่มเริ่มให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อเป็นสวัสดิการสังคมแก่สมาชิก เช่น ค่าฌาปนกิจศพ เงินช่วยเหลือการศึกษาบางส่วน และสวัสดิการเล็ก ๆ น้อย ๆ แก่ผู้สูงอายุ เราสามารถจินตนาการได้ว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของกลุ่มออมทรัพย์และเครือข่ายนี้ รวมทั้งระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและตำบลซึ่งพระราชทานคำแนะนำโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศในอนาคตลดน้อยลง อย่างไรก็ตามการดำเนินการอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะต้องตั้งอยู่ในกรอบของ”เศรษฐศาสตร์แบบสายกลาง” หรือ “พุทธเศรษฐศาสตร์” ซึ่งการบริโภคจะต้องไม่เป็นปฎิปักษ์ปฏิปักษ์ต่อความสุขของปัจเจกบุคคลหรือ “คุณภาพชีวิต” หรือกระทบต่อระบบนิเวศน์วิทยา นี่คือวิธีการพัฒนาและยุทธศาสตร์ที่เป็นไปได้ในการลดความรุนแรงของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ความต้องการเพียงอย่างเดียวในกระบวนการพัฒนานี้คือ วิธีการมองชีวิตซึ่งมีความสัมพันธ์กับกฎธรรมชาติอย่างแนบแน่นและโดยความเข้าใจอย่างชัดเจน และความตั้งใจที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีสติปัญญาให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาตินี้
 
==บทสรุป==