ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การซ่อมแซมดีเอ็นเอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''การซ่อมแซมดีเอ็นเอ''' คือชุดของกระบวนการที่ทำให้เซลล์สามาร...
 
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''การซ่อมแซมดีเอ็นเอ''' คือชุดของกระบวนการที่ทำให้[[เซลล์]]สามารถตรวจพบและแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ[[ดีเอ็นเอ]]ที่ประกอบกันเป็น[[จีโนม]]ของเซลล์นั้นๆ ได้ ใน[[เซลล์มนุษย์]]นั้นมีสิ่งที่สามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อดีเอ็นเอได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น[[metabolism|กระบวนการเผาผลาญ]]ตามปกติหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมเช่นแสง[[ultraviolet|ยูวี]]หรือ[[radiation|รังสี]]ต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิด[[รอยโรคระดับโมเลกุล]]ได้สูงสุดถึงหนึ่งล้านตำแหน่งต่อเซลล์ต่อวัน รอยโรคเหล่านี้หลายอันทำให้เกิดความเสียหายระดับโครงสร้างของโมเลกุลดีเอ็นเอ และอาจส่งผลเปลี่ยนแปลงหรือระงับความสามารถของเซลล์ที่จะ[[การถอดรหัส (พันธุศาสตร์)|ถอดรหัส]][[ยีน]]ที่สร้างจากดีเอ็นเอส่วนนั้นๆ รอยโรคบางแบบอาจทำให้เกิด[[การกลายพันธฺุ์]]ในจีโนมของเซลล์ซึ่งมีโอกาสเป็นอันตรายได้ ทำให้ส่งผลต่อการอยู่รอดของเซลล์ที่ได้จาก[[mitosis|การแบ่งตัว]]ของเซลล์นั้นๆ เช่นนั้นแล้วกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอจึงเป็นกระบวนการที่มีการทำงานตลอดเวลาเพื่อตอบสนองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างดีเอ็นเอ หากกระบวนการซ่อมแซมล้มเหลว และเซลล์ที่มีดีเอ็นเอที่เสียหายนั้นไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการ[[อะพอพโทซิส]]หรือกระบวนการทำลายเซลล์ตามปกติได้สำเร็จ จะเกิดเป็นความเสียหายต่อดีเอ็นเอที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ อาจเกิดเป็นจุดแตกหักของโครงสร้างเกลียวคู่ หรือเกิดการจับใหม่ข้ามจุด (crosslink) ของดีเอ็นเอได้
[[หมวดหมู่:อณูพันธุศาสตร์]]
[[en:DNA repair]]