ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูเขาไฟกรากะตัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
[[Fileไฟล์:Krakatoa evolution map-en.gif|thumb|การพัฒนาของเกาะรอบๆกรากะตัว]]
'''กรากะตัว'''เป็นชื่อภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเกาะชื่อเดียวกัน การระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟลูกนี้ก่อให้เกิดความหายนะภัยครั้งใหญ่ใน[[ประเทศอินโดนีเซีย]] และเหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 6:
ในอดีตพื้นที่ระหว่าง[[เกาะชวา]]กับ[[เกาะสุมาตรา]]เป็นทะเล ต่อมา เมื่อประมาณ 1,000,000 ปีก่อน เปลือกโลกบริเวณนี้ได้แยกตัวออก ส่งผลให้แมกมาและธาตุ[[ภูเขาไฟ]]จำนวนมากถูกพ่นออกมา และต่อมาแมกมาก็เย็นลงจับตัวกันเป็นภูเขาใต้น้ำ หลายหมื่นปีต่อมา ธาตุภูเขาไฟเริ่มเย็นตัวลง และจับตัวแข็งอยู่ใต้ทะเลเหนือภูเขาใต้น้ำเหล่านั้น และก็เกิดการทับถมอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นเกาะพ้นน้ำขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับเกาะชวากับเกาะสุมาตรา แต่เป็นเกาะที่ไม่แข็งแรง จึงค่อยๆสึกกร่อนไป จนเหลือเฉพาะบริเวณที่แข็งแรง กลายเป็นเกาะขนาดเล็กหลายเกาะ และมีเกาะจำนวนมากที่มีภูเขาไฟ
 
เกาะกรากะตัว เป็นเกาะที่มีแนวเส้นภูเขาไฟพาดผ่านใจกลางเกาะ ยอดปล่องภูเขาไฟที่สูงที่สุดในเกาะมีความสูง 820 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง หินภูเขาไฟและธาตุภูเขาไฟที่ให้เป็นเกาะที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะต่อการเกษตรกรรม เกาะแห่งนี้เริ่มมีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานอยู่เมื่อประมาณ3000ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์กลุ่มแรกๆคือเกษตรกรที่มาทดลองถางป่าที่เกาะนี้เพื่อปลูกข้าวและพืชผลอื่นๆแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงตั้งรกรากอาศัยอยู่บนเกาะ เกาะนี้อยู่ไม่ไกลจากเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ทางตะวันตกของอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้คนมาตั้งรกรากมากขึ้น จนเกาะแห่งนี้กลายเป็นเมืองแห่งหนึ่ง
 
ภูเขาไฟกรากะตัวที่ตั้งอยู่บนเกาะได้มีการระเบิดเล็กๆน้อยๆหลายครั้ง แต่การระเบิดได้พ่นแร่ธาตุออกมาทำให้เกาะอุดมสมบูรณ์ขึ้น ชาวบ้านจึงไม่ได้ตระหนักถึงภัยอันตรายของภูเขาไฟระเบิดการระเบิดครั้งสุดท้ายก่อนจะเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เกิดขึ้นใน [[พ.ศ. 2224]] (ค.ศ. 1681) หลังจากนั้น กรากะตัวก็สงบไปนานกว่า 200 ปี
 
== การระเบิดครั้งรุนแรง ==
บรรทัด 20:
 
สำหรับ[[ประเทศไทย]]การระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวเกิดขึ้นในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]รัชกาลที่ 5ได้มีบันทึกของพระองค์เจ้าดิศวรกุมารที่ต่อมาทรงดำรงพระยศเป็น[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]กล่าวถึงผลกระทบของการระเบิดในประเทศไทยว่าขณะนั้นทรงผนวชอยู่ที่[[วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร]] ได้ยินเสียงระเบิดของภูเขาไฟกรากะตั้วอย่างชัดเจนแต่ผู้คนส่วนใหญ่ในกรุงเทพเข้าใจว่าเป็นเสียงปืนใหญ่
จากฝรั่งเศสเพราะเกิดสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และยังทำให้ท้องฟ้าเป็นสีเขียวตลอดทั้งวันสร้างความประหลาดให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก ทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาราชเทวี ได้โปรดเกล้าพระราชทานเงิน เป็นเงินหลวง 100 ชั่ง ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาราชเทวีทรงสมทบอีก 50 ชั่งรวมเป็นเงิน 150 ชั่ง ให้แก่ผู้ประสบภัยในอินโดนีเซียด้วย'''<ref>http://www.vcharkarn.com/varticle/37502</ref>'''
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
 
{{coor title dms|6|6|27|S|105|25|3|E|type:mountain}}