ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
G(Bot) (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Thailand election vol.9.jpg|thumb|300px|ประชาชนและบรรดานักศึกษาประท้วงการเลือกตั้ง]]
'''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500''' เป็น[[การเลือกตั้ง]]ที่เกิดขึ้นใน[[ประเทศไทย]]เป็นครั้งที่ 9 มีขึ้นเมื่อวันที่ [[26 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2500]] เป็นการเลือกตั้งที่ได้ชื่อว่า ''"สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์"''<ref>[http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=1555 ปัญหาความ "ศักดิ์สิทธิ์" ของการเลือกตั้ง จากปี 2500 เลือกตั้ง "สกปรก" ถึงปี 2549 เลือกตั้ง "ตลก-โจ๊ก"]</ref> ก่อนหน้าเลือกตั้งจะเกิดขึ้น จอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีได้ประกาศจะจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ให้บริสุทธิ์ ถวายเป็น ''"พุทธบูชา"'' เนื่องในโอกาสครบรอบวาระ''"กึ่งพุทธกาล"''
 
แต่ก่อนการเลือกตั้งนั้น ได้มีการข่มขู่สารพัดจากบรรดานักเลง อันธพาล ที่ทางรัฐบาลเรียกว่า "''"ผู้กว้างขวาง"'' โดยบังคับให้ชาวบ้านเลือกแต่ผู้สมัครจากพรรครัฐบาล มีการใช้[[อุจจาระ]]ป้ายตามประตูบ้าน รวมทั้งใช้[[เครื่องบิน]]โปรยใบปลิวประณามพรรคฝ่ายค้าน คือ [[พรรคประชาธิปัตย์]]ด้วย
 
เมื่อวันเลือกตั้งมาถึง ปรากฏว่า มีการใช้คนฝ่ายรัฐบาลเวียนเทียนกันลงคะแนน เรียกว่า ''"พลร่ม"'' เมื่อปิดหีบแล้วมีการยัดบัตรลงคะแนนเถื่อนเข้าไป เรียกว่า ''"ไพ่ไฟ"'' ตลอดจนแอบเปลี่ยนหีบเลือกตั้งในที่ลับตาคน และมีการเหตุขลุกขลักขึ้นในหลายพื้นที่ รุนแรงถึงขนาดมีการฆาตกรรมคนที่สนับสนุนผู้สมัครบางคนด้วย จึงต้องใช้เวลานับคะแนนกันยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ด้วยกัน ซึ่งเรื่องนี้ได้ถูกตีแผ่อย่างกว้างขวางใน[[สื่อมวลชน]]ต่าง ๆ เช่น [[หนังสือพิมพ์]] เป็นต้น
 
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า [[พรรคเสรีมนังคศิลา]] ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาในปี [[พ.ศ. 2498]] เพื่อที่จะรองรับการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะ ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พลตำรวจเอก[[เผ่า ศรียานนท์]] ได้รับเสียงข้างมากที่สุด ถึง 83 คน เฉพาะใน[[จังหวัดพระนคร]] และ[[จังหวัดธนบุรี]] อันเป็น[[เมืองหลวง]] ได้ถึง 6 คน โดย จอมพล ป. ได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเป็นลำดับหนึ่ง ด้วยคะแนน 137,735 ตามมาด้วย พันตรี[[ควง อภัยวงศ์]] หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งสำคัญ ด้วยคะแนน 118,457 ซึ่งใน[[กรุงเทพ]] พรรคประชาธิปัตย์ได้เพียงแค่ 2 ที่นั่งเท่านั้น คือ พ.ต.ควง และ นาวาโท[[พระประยุทธชลธี]] และทั่วประเทศได้เพียง 30 ที่นั่งเท่านั้น