ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรสระประกอบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: af:Abugida
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Rigveda MS2097.jpg|thumb|right|300px|[[อักษรเทวนาครี]]เป็นอักษรสระประกอบชนิดหนึ่ง]]
 
'''อักษรสระประกอบ''' ({{lang-en|abugida}}) เป็นรูปแบบของ[[ระบบการเขียน]]รูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะและสระ แต่พยัญชนะจะมีความสำคัญมากกว่าสระ ซึ่งแตกต่างจาก[[อักษรสระ-พยัญชนะ]] (alphabet) ที่เป็นระบบการเขียนทั้งสระและพยัญชนะจะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และแตกต่างจาก[[อักษรไร้สระ]] (abjad) ซึ่งมักจะไม่มีรูปสระปรากฏอยู่เลย ในบรรดาระบบการเขียนทั้งหมดในโลกนี้ มีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของระบบการเขียนทั้งหมดที่เป็นอักษรสระประกอบ ซึ่ง[[อักษรไทย]]ก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน
 
คำว่า "อักษรสระประกอบ" เป็นคำแปลจากคำว่า abugida ซึ่งเป็นคำที่ Peter T. Daniels นำมาใช้เรียกระบบการเขียนรูปแบบนี้<ref>http://www.jstor.org/pss/602899</ref> โดยคำนี้มาจากชื่อของ[[อักษรเอธิโอเปีย]] (’ä bu gi da) ใน[[ภาษาเอธิโอเปีย]] โดยนำมาจากชื่ออักษรสี่ตัวของอักษรเอธิโอเปีย (ในทำนองเดียวกับคำว่า alphabet ที่มาจากชื่อ[[อักษรกรีก]] [[แอลฟา]] และ [[บีตา]]) ต่อมาในปีค.ศ. 1997 William Bright ได้เสอนคำว่า alphasyllabary ขึ้นมาเพื่อเรียกอักษรใน[[ตระกูลอักษรพราหมี|ตระกูลพราหมี]] เนื่องจากระบบการเขียนแบบนี้มีลักษณะของ[[อักษรพยางค์]] (syllabary) และอักษรสระ-พยัญชนะร่วมกันอยู่<ref name=Bright>William Bright (2000:65–66): ''A Matter of Tpology: Alphasyllabaries and Abugidas''. In: Studies in the Linguistic Sciences. Volume 30, Number 1, pages 63–71</ref> นักวิชาการในอดีตถือว่าอักษรสระประกอบเป็นอักษรพยางค์ประเภทหนึ่ง หรือเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างอักษรพยางค์และอักษรสระ-พยัญชนะ จึงยังคงเรียกอักษรของชนพื้นเมืองในแคนาดาว่า syllabics อยู่ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ ที่ใช้เรียกระบบการเขียนแบบนี้อีก ได้แก่ neosyllabary pseudo-alphabet semisyllabary และ syllabic alphabet