ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการบากราตีออน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
 
ปฏิบัติการดังกล่าวตั้งตามชื่อของเจ้าชายจอร์เจียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 ปีเตอร์ บากราติออน (Pyotr Bagration) ซึ่งเป็นพลเอกแห่งกองทัพจักรวรรดิรัสเซียผู้ทรงได้รับบาดแผลฉกรรจ์ในยุทธการโบโรดีโน กองทัพดซเวียตซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการบากราติออนโดยตรงมีแนวรบบอลติกที่ 1 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกฮอฟฮันเนส บากรัมยัน, แนวรบเบลารุสที่ 1 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกคอนสตันติน โรคอสซอฟสกี ผู้ได้รับการเลื่อนยศเป็นจอมพลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1944, แนวรบเบลารุสที่ 2 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอก (Colonel-General) จี. เอฟ. ซาฮารอฟ และแนวรบเบลารุสที่ 3 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอก (Colonel-General) อีวาน เชียร์นยาฮอฟสกี ปฏิบัติการดังกล่าวลงเอยด้วยการที่กองทัพกลุ่มกลางของเยอรมนีเกือบถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงและกองทัพที่เป็นส่วนของกองทัพกลุ่มกลาง ได้แก่ กองทัพที่ 4, กองทัพแพนเซอร์ที่ 3 และกองทัพที่ 9 มัน "เป็นความพ่ายแพ้อย่างหายนะที่สุดของกองทัพเยอรมันทั้งหมดในสงครามโลกครั้งที่สอง" เมื่อสิ้นสุดปฏิบัติการ สหภาพโซเวียตตะวันตกส่วนมากได้รับการพิชิตคืนและกองทัพแดงได้ฐานที่มั่นคงในโรมาเนียและโปแลนด์
 
เป้าหมายของปฏิบัติการนี้ซับซ้อนกว่ามาก กองทัพแดงปรับใช้มโนทัศน์การปฏิบัติการเชิงลึกโซเวียต ยุทธการเชิงลึกโซเวียตและมาสกีรอฟกา (การลวงทางทหาร) นวัตกรรมของโซเวียตเหล่านี้เป็นไปได้ส่วนหนึ่งเพราะการจัดหารถบรรทุกกว่า 220,000 คันจากสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ทหารราบโซเวียตมียานยนต์ มีการเสนอแนะว่า เป้าหมายหลักของการรุกครั้งนี้ คือ หัวสะพานบนแม่น้ำวิสตูล่าทางตอนกลางของโปแลนด์ และปฏิบัติการบากราติออนนั้นเพื่อสร้างวิกฤตการณ์ในเบลารุสเซียเพื่อหันกองหนุนเคลื่อนที่เร็วไปยังส่วนกลางโดยเป็นส่วนหนึ่งของมาสกีรอฟกา ให้ออกมาจากพื้นที่ลูบลิน-เบรสท์, ลวอฟ-ซันโดเมียร์ซที่ซึ่งโซเวียตตั้งใจจะดำเนินการการรุกลวอฟ-ซานโดเมียร์ซ และการรุกลุบลิน-เบรสท์
 
== อ้างอิง ==