ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดฌา-วูว์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Erictennyson07 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เดฌาวูว์''' ({{lang-fr|ฝรั่งเศส: déjà vu}}, แปลว่า เคยเห็น) เป็นคำที่ว่าเดจาวูได้บันทึกขึ้นมาจากนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส [[Emile Boirac|เอมีล บัวรัก]] (Emile Boirac1851–1917) ใช้ในหนังสือชื่อ ''ลาเวอนีร์เดซีย็องส์ฟีซีกส์ (L'Avenir des sciences psychiques)'' เป็นคนแรก หมายความถึง อาการที่รู้สึกว่า เหตุการณ์ที่เพิ่งพบเจอครั้งแรกนั้นคลับคล้ายคลับคลาว่า เป็นเหตุการณ์ที่เคยพบเจอเกิดมาแล้ว แต่จำไม่ได้ว่าเกิดขึ้นในฝันหรือในอดีต เป็นประสบการณ์ทางจิต ที่เกิดได้กับทุกคน และทุกเวลา ไม่ว่าหลับหรือเกิดได้แม้กระทั่งในเวลาตื่นโดยเราอาจจะคิดว่าเราเพ้อฝันไป เดจาวู (DEJA VU)
 
ดจาวู (DEJA VU) แปลว่า เคยได้พบเห็นมาแล้ว คำว่าเดจาวูได้บันทึกขึ้นมาจากนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส Emile Boirac (1851–1917) ในหนังสือ L'Avenir des sciences psychiques (แปลว่า อนาคตของวิทยาศาสตร์จิตวิทยา) เคยไหม "รู้สึกเคยผ่านมาแล้ว" ญาณพิเศษ ทุกคนมี..ชาติก่อน, โลกคู่ขนาน, พลังจิต หรือรู้สึกไปเอง เดจาวู ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นปรากฏการณ์ที่มนุษยชาติพบพาน ทุกเพศวัย ทุกชนชาติแห่งหน คำอธิบายที่เรามักอ้างให้ตัวเองคือ "คิดไปเองน่า" เราคิดไปเองจริงหรือ ?
== อาการที่เกี่ยวข้อง ==
 
* [[ฌาเมวูว์]] ({{lang-fr|jamais vu}} แปลว่า ไม่เคยเห็น) เป็นอาการตรงกันข้ามกับ เดฌาวูว์ คือ เคยพบเจอเหตุการณ์นั้นมาแล้ว แต่จำไม่ได้
ทฤษฎีแรก อดีตชาติ
* [[แพร็สก์วูว์]] ({{lang-fr|presque vu}} แปลว่า เกือบเห็น) หรือ [[ติดอยู่ที่ปลายลิ้น]] (tip of the tongue, TOT) เป็นอาการที่รู้สึกว่ามีประสบการณ์หนึ่งที่คุ้นเคย แต่ไม่สามารถเรียกขึ้นมาจาก[[ความทรงจำ]]และพูดออกมาได้ โดย "ติดอยู่ที่ปลาย[[ลิ้น]]"
 
สิ่งใดก็ตามที่เคยเกิดไปแล้วในอดีต จะย้อนกลับมาเกิดซํ้าอีก เราจะผ่านประสบการณ์มากมาย และบางสิ่งอาจหลงเหลือในความทรงจำ แล้วย้อนกลับมาเกิดอีก ทำให้รู้สึกว่าเคยเห็นมาก่อน เดจาวู เป็นประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ.. ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า เดจาวู มันเกิดจากการที่ขณะหลับ จะมีการหลับอยู่หลายขั้น (ประมาณ 5 ขั้น) ถ้าเห็นอนาคตที่เคยทำ ก็จะอยู่ประมาณขั้นที่ 3 ยิ่งขั้นมากขึ้น ความสัมพันธ์กับร่างกายและวิญญาณ จะยิ่งห่างไกลกันออกไป ถ้าหลับลึกถึงขั้นที่ 5 ก่อนหลับจะรู้สึกชาตามร่างกายทั้งตัว ขยับตัวเองไม่ได้ พูดไม่ได้ (ลักษณะที่คนทั่วไปเรียกว่าถูกผีอำ) ถ้าหลับในสภาพนี้ อัตราค่าซิงโครกับร่างกายจะลดต่ำ ลงจนเหลือ 0 แล้ววิญญาณก็จะหลุดออกจากร่างกาย..
 
ทฤษฎีที่สอง พลังจิต
 
บ้างก็ว่า เดจาวู เป็นพลังจิตรูปหนึ่ง บ้างก็ว่าเป็นทิพจักขุญาณ (ความรู้คล้ายตาทิพย์) ซึ่งได้มาจากการเจริญสมถะภาวนาในหมวดของกสิณ 3 กองคือ
 
เตโชกสิณ (กสิณไฟ) โอทากสิณ (กสิณสีขาว) อาโลกสิณ (กสิณแสงสว่าง)
 
เราทุกคนมีพลังจิต เพียงแต่จะอ่อนจะเข้ม บางทีเพราะเราไม่ได้ฝึก จะเก็บกดไว้ภายใน วันดีคืนดีก็ล้นออกมา ตามตำรา ถ้าได้ฝึก เราสามารถควบคุมได้ มีนักพยากรณ์หลายคน พยากรณ์ได้จากการเพ่ง ว่ากันว่า มีผู้หนึ่งมีเดจาวูแรงกล้ามาก หาใครเปรียบได้ไม่ เขาชื่อ นอสตราดามุส ทฤษฎีที่สาม จักรวาลคู่ขนาน
 
อธิบายเกี่ยวกับ โลกคู่ขนาน หรือ จักรวาลคู่ขนาน ก่อนหมายถึง จักรวาลที่ดำเนินไปพร้อมกับจักรวาลที่เราอยู่นี้ ทฤษฎีนี้นักฟิสิกส์ริเริ่มคิดขึ้นมา มีเหตุการณ์ที่เราลังเลอยู่ 2 ทาง แต่เราก็ตัดสินใจไปทางหนึ่ง แล้วคิดไหมว่า ถ้า ณ วันนั้นเราติดสินใจเป็นอย่างอื่น อะไรจะเกิดขึ้นในโลกนี้ที่เรามีตัวตนอยู่ในขณะนี้ ขณะเดียวกันก็มีเราอีกคนหนึ่งในอีกโลกหนึ่ง และมีโลกคู่ขนานมากมายนับไม่ถ้วน..เช่น ขณะนี้เราได้ตัดสินใจบางสิ่ง ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ ขณะที่อีกคนของเราได้ตัดสินใจไปอีกทางทำให้ชีวิตตนเอง และผู้อื่นเสียหาย ก็เป็นได้ อีกตัวอย่าง บางครั้งคุณอยากฆ่าตัวตายแต่คุณล้มเลิก บางทีคุณในโลกคู่ขนานอาจฆ่าตัวตายไปแล้วก็ได้อะไรประมาณนี้ ตัวอย่าง ปัญหาทางทฤษฎีมิติเวลา สมมติคุณเดินทางย้อนเวลาได้ เมื่อวานคุณเก็งหุ้นตัวหนึ่ง วันนี้หุ้นนั้นล้ม คุณล้มละลาย คุณเดินทางย้อนเวลาไปเตือนคุณในอดีตคุณในอดีตรู้คำเตือน และยกเลิกหุ้นตัวนั้น เมื่อวานคุณไม่ได้ถือหุ้นตัวนั้น ถ้าเช่นนั้น วันนี้คุณไม่ได้ล้มละลาย ในเมื่อคุณไม่ได้ล้มละลาย คุณก็ไม่ได้เดินทางย้อนเวลาไปบอกตัวเองในอดีต คุณในอดีตก็ไม่รู้ว่า หุ้นตัวนั้นจะล้ม และเก็งหุ้นตัวนั้นตกลงวันนี้คุณล้มละลายหรือเปล่า ทฤษฎีเกี่ยวกับโลกคู่ขนาน
 
จึงถูกคิดขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ความผันผวนของมิติเวลาเหล่านี้ ทุกๆเหตุการณ์ที่เรามี 2 ตัวเลือก จะเกิดโลกคู่ขนาน 2 โลก และจาก 2 โลก ถ้าเราเจอเหตุการณ์อื่นที่ต้องตัดสินใจ 2 ทาง แต่ละโลก จะเกิดโลกคู่ขนานอีก 2 โลก โลกคู่ขนานจึงมีจำนวน นับไม่ถ้วน จากตัวอย่างเรื่องหุ้น ทฤษฎีอธิบายว่า คุณไม่อาจเปลี่ยนอดีตของตัวได้ เมื่อคุณเดินทางไปบอกตัวเองให้เลิกหุ้นนั้น คุณในอดีต ที่ตัดสินใจไม่เอาหุ้นนั้น จะเกิดอนาคตที่วันนี้คุณไม่ล้มละลาย.. จริง แต่เป็น คนละอนาคต กับวันนี้ของคุณ ที่คุณล้มละลาย คือเกิดเป็น 2 โลก คุณกลับมาปัจจุบัน โลกวันนี้ คุณก็ยังล้มละลายอยู่ดี แต่โลกที่คุณย้อนไปบอก คุณอีกคนนั้นเขาไม่ล้มละลาย (ถ้าใครเคยดูการ์ตูนดราก้อนบอลแซดคงเข้าใจมากขึ้น ทรังค์ย้อนเวลาจากโลกที่ถูกหมายเลข 17,18 ทำลาย มาในปัจจุบัน ในที่สุดโลกที่เขามา ไม่ถูกทำลาย แต่เขากลับไป โลกของเขาก็ยังเป็นโลกที่ถูกทำลายอยู่ดี ไม่เช่นนั้นเขาจะมาได้อย่างไร) มีคนผูกทฤษฎีเดจาวู กับทฤษฎีจักรวาลคู่ขนาน กล่าวว่า การที่เรารู้สึกหรือเห็นภาพที่คล้ายว่าเคยทำมาก่อน นั่นแหละ คุณเคยทำจริง แต่เป็นคุณในอีกโลกหนึ่งต่างหากที่ได้ทำ คุณในทุก ๆ โลก ถูกผูกกันด้วยสายใยบางอย่าง อาจเป็นเพราะ สมองมีคลื่นตรงกัน ก็เป็นคุณคนเดียวกันนี่นา ในบางจังหวะที่เหมาะสม กระแสประสาทจูนกัน คุณก็ได้รับรู้ถึงกระแสความคิดจากคุณในอีกโลก
 
ทฤษฎีสุดท้าย คิดไปเอง
 
ตามแนวคิดของหลักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เกิดจากสมองแปลข้อมูลผิดพลาด พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่ได้เห็นมาแล้วหรอก แต่คิดไปว่าเห็นมาแล้ว ทางการแพทย์เรียกว่า การไหลของคลื่นกระแสไฟฟ้าในสมองเกิดการผิดปกติ ทำให้การกระทำที่กำลังทำอยู่ ณ ขณะนั้น คลับคล้ายว่าเคยเกิดมาก่อนหน้านี้มาแล้ว แต่ไม่สามารถจำเวลาได้..สมองคนเราก็เหมือนเครื่องจักรย่อมเกิดข้อผิดพลาด บ้างอธิบายว่า เดจาวู เกิดจากเมื่อสมองรับภาพมาจากประสาทตา ก็นำมาแปลความหมาย สมองมี 2 ซีก ตามี 2 ข้าง ประสาทตาซ้ายเข้าสมองซีกขวา ประสาทตาขวาเข้าสมองซีกซ้ายฉะนั้นสมองทั้งสอง ต้องทำงานประสานกันและกันอย่างมาก เมื่อเกิดสมองข้างหนึ่ง เกิดส่งข้อมูลมาช้าไปเพียงนิดเดียว ทำให้สมองแปลความหมายของภาพนั้นว่า เป็นภาพจากความจำไม่ใช้ปัจจุบันทำให้รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เจอนั้นเคยเห็นมันมาก่อน.. มีหลักฐานว่า โดยส่วนมาก คนที่เป็นลมบ้าหมู หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็น จะมีโอกาสเกิดบ่อยกว่า และมีโอกาสเกิดบ่อยมากขึ้น ก่อนที่จะมีอาการชักกระตุก
 
หลักฐานอ้างอิง เหตุการณ์ที่รัสเซีย
 
ครั้งที่จักรพรรดินโปเลียนบุกรัสเซียในปี ค.ศ.1812 ภริยาของท่านเคานท์ตูชคอฟ นายพลรัสเซีย ได้ฝันว่า เธออยู่ในโรงเตี๊ยมของเมืองหนึ่ง ซึ่งเธอไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วบิดาของเธอก็เข้ามาในห้อง อุ้มลูกชายคนเล็กของเธอมาด้วย และบอกแก่เธออย่างเศร้าสร้อยว่า สามีของเธอเสียชีวิตในการศึกแล้ว “ความสุขของลูกจบสิ้นแล้ว” ผู้เป็นบิดากล่าว “สามีของลูกได้ล้มลง และสิ้นใจที่โบโรดิโน” ฝันนี้บังเกิดขึ้นแก่เธออีกสองครั้งจนเธอได้เล่าให้สามีฟัง ทั้งสองค้นหาดูในแผนที่ แต่ไม่พบเมืองโบโรดิโนแต่อย่างใด
 
ทว่าในวันที่ 7 กันยายน 1812 ทัพรัสเซียได้ถอยร่นและต่อสู้กับฝรั่งเศสอย่างดุเดือดที่ตำบลเล็กๆชื่อโบโรดิโน ห่างทางตะวันตกของกรุงมอสโก 70 ไมล์ โดยเคาน์เตสส์ตูชคอฟกับครอบครัวพักอยู่ที่โรงเตี๊ยม ไม่ไกลจากแนวรบที่สามีของเธอเป็นผู้บัญชาการเท่าใดนัก เช้ารุ่งขึ้น บิดาได้อุ้มลูกชายคนเล็กของเธอเข้ามาในห้องและกล่าวว่า “สามีของลูกได้ล้มลง และสิ้นใจที่โบโรดิโน”
 
เหตุการณ์บนเรือ ซิตี้ออฟไลม์ริค
 
ส่วนเหตุการณ์ที่ผสมผสานถึงฝันกึ่งจริงได้เคยเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1963 บนเรือ “ซิตี้ออฟไลม์ริค” ที่แล่นจากลิเวอร์พูลไปนิวยอร์ก และเผชิญกับพายุกลางมหาสมุทรแอตแลนติกนานกว่าสัปดาห์ ทำให้ ครอบครัวทางบ้านต่างพะวงเป็นห่วงผู้โดยสารที่อยู่บนเรือ หลังคลื่นลมสงบ วิลมอท หนึ่งในผู้โดยสารจึงหลับสนิทได้ เขาฝันว่าได้เห็นภรรยาในชุดนอน เดินเข้ามาในห้องพัก เธอชะงักลังเลเมื่อพบว่ามันเป็นห้องคู่ และมีชายอีกคนหนึ่งนอนอยู่เตียงบนเหนือสามีเธอ ชายผู้นั้นจ้องดูเธอ ครั้นแล้วเธอก็ได้ตรงไปหาสามีที่เตียง จุมพิตเขา และออกไปอย่างเงียบๆ
 
วิลมอทตื่นขึ้นและเห็นชายที่อยู่ข้างบนกำลังมองเขาอยู่ ชายนั้นชื่อเตท อยู่ในอาการตะลึงงัน ที่ได้เห็นสตรีเข้ามาเยี่ยมเยือนวิลมอท เขาเล่าให้วิลมอทฟังถึงลักษณะของเธอและเหตุการณ์ซึ่งตรงกับที่วิลมอทฝันทุกประการ เมื่อวิลมอทกลับถึงบ้าน ภรรยาได้ถามว่า รู้สึกหรือไม่ว่ามีใครไปเยี่ยมเขาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยในตอนสี่โมงเช้าของวันหนึ่งเธอรู้สึกเคลิ้มไปว่า เธอได้ไปหาเขา เธอผ่านความมืดแห่งท้องทะเลขึ้นไปบนเรือกลไฟลำหนึ่ง เดินจากดาดฟ้าลงไปยังห้องพักข้างล่างและได้พบเขา “คุณอยู่ในห้องพักที่มีเตียงบนด้วยใช่มั้ย ผู้ชายที่นอนอยู่บนนั้นจ้องมาที่ฉัน ทำให้ฉันกลัวไม่กล้าเข้าไป แต่แล้วฉันก็เดินไปที่เตียงคุณ ก้มลงจูบแล้วก็ออกจากห้องไป” เธอเล่า
 
นอกจากนี้ ก็ยังมีเดจาวูอื่นๆ ที่เราอาจเคยได้ยินได้ฟังกัน อย่างเช่นเมื่อได้พบใครเป็นครั้งแรกแล้วเกิดอาการ “ปิ๊ง” ขึ้นมาทันที...ใช่เลย เขาคนนี้แหละที่เคยปรากฏในจินตนาการของเรา หรือบางคนที่เคยเขียนภาพทิวทัศน์จากจินตนาการ แล้วก็ได้ไปพบทัศนียภาพนั้นตรงกับที่เขียนไว้เป๊ะๆ... เนินตรงนั้น...ต้นไม้ใหญ่ตรงนั้น...วัวกำลังยืนเคี้ยวเอื้องอยู่ตรงนั้น
 
บางคนมีประสบการณ์เดจาวูที่น่าอกสั่นขวัญหาย นั่นคือได้เกิดเห็นภาพนิมิตเป็นอุบัติเหตุบนท้องถนน เห็นภาพรถพังพินาศ คนบาดเจ็บและตายเกลื่อนและแล้วต่อจากนั้นไม่นาน เขาก็ผ่านไปพบเห็นอุบัติเหตุกับตาจริงๆ ทุกอย่างตรงกับภาพนิมิตที่เขาได้เห็นล่วงหน้า
 
== อาการที่เกี่ยวข้อง ==
 
* [[ ฌาเมวูว์]] ({{lang-fr|ฝรั่งเศส: jamais vu}} แปลว่า ไม่เคยเห็น) เป็นอาการตรงกันข้ามกับ เดฌาวูว์จาวู คือ จำเรื่องที่คุ้นเคยพบเจอเหตุการณ์นั้นมาแล้ว แต่จำในอดีตไม่ได้
* [[ แพร็สก์วูว์]] ({{lang-fr|ฝรั่งเศส: presque vu}} แปลว่า เกือบเห็น) หรือ [[ติดอยู่ที่ปลายลิ้น]] (tipTip of the tongue, TOT) เป็นอาการที่รู้สึกว่ามีประสบการณ์หนึ่งที่คุ้นเคย แต่ไม่สามารถเรียกขึ้นมาจาก[[ความทรงจำ]]และพูดออกมาได้ โดย "ติดอยู่ที่ปลาย[[ลิ้น]]"
 
==แหล่งข้อมูลอื่น==