ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต แก้ไข: ro:Amfibieni; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 31:
== อันดับของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ==
*'''[[Anura]]''' หรือ '''อันดับกบ'''
เป็นอันดับของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งรวมถึง [[คางคก]], [[อึ่ง]] และ[[กบ|เขียด]]หรือ[[ปาด]]ด้วย มีรูปร่างโดยรวมคือ มีสี่ขา ขาหลังขาวใหญ่และมี[[กล้ามเนื้อ]]ที่แข็งแรงใช้กระโดดได้ระยะไกล โดย[[มุม]]ที่กระโดดได้มีความสูงที่สุด คือ 90 [[องศา]] กับพื้นราบ ส่วนการกระโดดที่ไกลที่สุดคือ เมื่อทำมุม 45 องศา กับพื้นราบ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับอัตราการเร่งและหดตัวของกล้ามเนื้อ<ref>วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, ''วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก'' หน้า 115 ([[พ.ศ. 2552]]) ISBN 978-616-556-016-0</ref> ระหว่างนิ้วมีพังผืดเชื่อมติดกันเพื่อช่วยในการ[[ว่ายน้ำ]] ตาโต ปากกว้าง เป็นสัตว์ที่ดูเหมือนว่าไม่มีคอ ใน[[เพศผู้|ตัวผู้]]มีต่อมที่ลำคอทั้งสองข้างใช้ในการส่งเสียงร้องได้ เพื่อเรียกความสนใจของตัวเมียเพื่อการผสมพันธุ์และวางไข่ วางไข่ในน้ำ ไข่ติดกันเป็นพวงเหมือนเม็ด[[แมงลัก]] วัยอ่อนมีหางเหมือนปลาและมีพู่เหงือกใช้ในการหายใจเห็นชัดเจน มี 2 ชุด เรียกว่า "ลูกอ๊อด" บางจำพวก เช่น ปาดอาจวางไข่เพียงครั้งละฟองบนน้ำค้างบน[[ใบไม้]] เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะไม่มีหาง
 
กบใน[[ประเทศไทย]]ใช้เนื้อในการรับประทานของ[[มนุษย์]]เป็น[[อาหาร]] มีหลายชนิด ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อาทิ [[กบทูด|กบภูเขา]] (''Limnonectes blythii'') ซึ่งเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทยด้วย, [[อึ่งปากขวด]] (''Glyphoglossus molossus''), [[Hoplobatrachus rugulosus|กบนา]] (''Hoplobatrachus rugulosus'') ซึ่งนิยมเพาะเลี้ยงกันเป็น[[สัตว์เศรษฐกิจ]]
บรรทัด 48:
 
อาศัยทั้งบนบก โพรงดิน ใต้กองใบไม้ หรือในน้ำ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานได้ 33 [[genus|สกุล]] 174 ชนิด ใน 6 [[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]] จำแนกโดยการใช้รูปร่าง[[โครโมโซม]] และลักษณะทาง[[โมเลกุล]] ในประเทศไทยพบได้ 4 ชนิด อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกันทั้งหมด ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ [[Ichthyophis kohtaoensis|เขียดงูเกาะเต่า]] (''Ichthyophis kohtaoensis'') <ref>วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, ''วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก'' หน้า 303-304 ([[พ.ศ. 2552]]) ISBN 978-616-556-016-0</ref>
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}