ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำแยงซี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: bo:འབྲི་ཆུ
บรรทัด 24:
| เรือประมงเหนือแม่น้ำแยงซี ณ ใกล้รุ่ง (ใกล้[[หนานทง]])]]
 
ในปี2007 ความวิตกกังวลว่าปลาโลมาจีน ([[โลมาแม่น้ำแยงซีเกียง|Finless Porpoise]]) หรือที่ชาวพื้นเมืองรู้จักในนาม เจียงจู (Jiangzhu) มีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ตามปลาโลมาในแม่น้ำแยงซีนามว่า ป๋ายชื่อ ([[baiji]]) (อักษรจีน: 白鱀豚; พินอิน: Báijìtún) ในขณะที่ปลาโลมาพันธุ์ป๋ายชื่อถูกเปิดเผยเมื่อปี2006ว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว
 
มีการเรียกร้องให้อนุรักษ์ปลาโลมาจีน ซึ่งมีจำนวนประชากรประมาณ 1400ตัว ปลาโลมาจีน700-900ตัวอาศัยอยู่ในแม่น้ำแยงซี และอีกประมาณ500ตัวอาศัยอยู่ในทะเลสาบต้งถิงและ ทะเลสาบโป๋หยาง (อักษรจีน: 鄱阳湖; พินอิน: Póyáng Hú)
บรรทัด 33:
 
การขุดลอกทำให้น้ำในทะเลสาบขุ่นมัวขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ปลาโลมาจีนไม่สามารถมองเห็นทางได้ไกลเหมือนเช่นแต่ก่อน จึงทำให้ปลาโลมาจีนต้องพึ่งพา[[ระบบโซน่า]] ([[Sonar Systems]]) ของตนในการหลบหลีกอุปสรรคต่างๆและหาอาหาร การขนส่งทางน้ำในทะเลสาบยังส่งผลกระทบต่อการได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของเหยื่อของปลาโลมาจีนอีกด้วย นอกจากนี้ปฏิกูลหนักจาก[[แอมโมเนีย]] ([[Ammonia]]) [[ไนโตรเจน]] ([[Nitrogen]]) [[ฟอสฟอรัส]] ([[Phosphorus]]) และอื่นๆยังสร้าง[[มลพิษ]]อย่างสาหัสแก่พื้นที่ประมาณหนึ่งในสามส่วนของแม่น้ำสายย่อยหลักๆอย่าง แม่น้ำมินเจียง (อักษรจีน: 岷江; พินอิน: Mín Jiāng) แม่น้ำถัวเจียง แม่น้ำเซียงเจียง (อักษรจีน: 湘江; พินอิน: Xiāng Jiāng) และหวงผู่ (อักษรจีน: 黃浦江; พินอิน: Huángpŭ Jiāng) ซึ่งส่งผลให้ปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำเหล่านั้นมีขนาดเล็กลง
 
ปลาในแม่น้ำแยงซี 3 [[species|ชนิด]] ที่ได้รับการขนามนามว่าเป็น ''ราชาปลาแห่งแยงซี'' ได้แก่ [[Coilia ectenes|ปลาเตาอี๋ว์]] ({{lang-zh|刀鱼}}, [[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: ''Coilia ectenes'') ซึ่งเป็นปลาใน[[วงศ์ปลาแมว]] (Engraulidae) [[Tenualosa reevesii|ปลาตะลุมพุกจีน]] (จีน: 鲥鱼, {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Tenualosa reevesii}}) ใน[[วงศ์ปลาหลังเขียว]] (Clupeidae) และ[[Takifugu ocellatus|ปลาปักเป้าแม่น้ำ]] (จีน: 河豚, {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Takifugu ocellatus}}) ใน[[Tetraodontidae|วงศ์ปลาปักเป้า]] (Tetraodontidae) เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยขึ้นชื่อมานานคู่กับแม่น้ำแห่งนี้ แต่การถูกจับในปริมาณที่มาก ประกอบภับมลภาวะที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปลามีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ จากเดิม ใน[[ทศวรรษที่ 1980]] และจากปี [[ค.ศ. 1996]] ก็แทบจะไม่ได้เห็นอีกเลย หรือไม่ก็มีราคาแพงมาก<ref>[http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000043287 ปลาเตาอี๋ว์ 325 กรัม ร่วม 3 แสนบาท! จาก[[ผู้จัดการออนไลน์]]]</ref>
 
== ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ==