ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผ้าซิ่นทิวมุก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sudsanan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sudsanan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10:
ซิ่นทิวมุก มีโครงสร้างหลัก แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนตัวซิ่น และหัวซิ่น เหมือนกับซิ่นทิว ซึ่งเป็นผ้าซิ่นชนิดเดียวของอีสานที่เป็นลายขวาง ซึ่งโดยปรกติการวางลวดลายจะวางแนวตั้งหรือลายล่อง กล่าวกันว่าเป็นซิ่นที่ทอยาก เนื่องจากต้องใช้สมาธิสูงในการนับเส้น ให้เป็นริ้วเป็นทิวเสมอกันทั้งผืน แต่ซิ่นทิวมุกจะมีลักษณะพิเศษมากกว่าสิ่นทิวทั่วไปคือ ต้องสืบเครือทำเป็นทิว คือเป็นลายขวางอันเป็นลักษณะที่ช่างชาวอีสานไม่ใคร่ถนัด แล้วทำการยกมุก อาจใช้ไหมเงิน หรือไหมสีขาว เป็นเส้นสีขาวตั้งเรียงถี่ จากนั้นก็จกเป็นลายดาวเล็กๆตามช่อง ต่อหัวด้วยหัวซิ่นจกดาว ดังนั้นซิ่นชนิดนี้จึงรวมสามเทคนิคการทออยู่ด้วยกันในผืนเดียวนั่นเอง
 
เมื่อพิจารณาลวดลายโดยภาพรวมของซิ่นทิวมุกจะเห็นว่า เป็นซิ่นที่มีลายขวางลำดัว โดยลายมุกที่เป็นเส้นตั้งสีขาวบนพื้นสีดำ จะสลับกับช่วงที่เป็นเส้นสีเหลือง และลายจกดาวขนาดเล็ก คั่นเป็นช่วงๆจนหมดผืน เทคนิคการยกมุกดังกล่าวนี้ ยังพบในซิ่นชาวไทแดง ด้วยเช่นกัน
 
==การใช้สอย==
[[ไฟล์:ทิวมุก2.jpg|thumb|300px|left|นางแบบสวมซิ่นทิวมุก ในงานแสดงแบบผ้าอุบลราชธานีเจริญศรีโสธร 2553]]