ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผ้าซิ่นทิวมุก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sudsanan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sudsanan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''สิ่นทิวมุก''' หรือ ซิ่นทิวมุก หัวจกดาว [[ผ้าทอมือ]]ของเจ้านายสตรีชั้นสูงแห่งเมือง[[อุบลราชธานี]]ศรีวนาลัย มีลักษณะผสมผสานเทคนิคการทอคือ การวางเครือเป็นซิ่นทิว การยกมุก และการจกดาว ถือเป็นผ้าซิ่นที่หายากและพบที่จังหวัดอุบลราชธานีเพียงแห่งเดียว
== ความเป็นมา ==
[[ไฟล์:ทิวมุก.jpg|thumb|250px|right|ผ้าซิ่นทิวมุก]]
"สิ่นทิวมุก หัวจกดาว" (ออกเสียงตามสำเนียงอุบล) เป็นผ้าที่มีแหล่งกำเนิดในเมืองอุบลราชธานี ในอดีตเป็นผ้านุ่งสำหรับ [[อัญญานาง]] หรือเจ้านายสตรีสายเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช แต่ละคุ้มแต่ละโฮงมีกันผืนสองผืนเท่านั้น เล่าสืบกันมาว่าช่างทอผู้ริเริ่มก็คือ อัญญานางเลื่อน เชื้อสายเจ้านายเมืองอุบล ในราวสมัยรัชกาลที่ 5<ref>สุนัย ณ อุบล และคณะ. (2536). ผ้ากับวิชีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว สายเมืองอุบล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ</ref> ครั้นท่านสิ้นวิธีการทอก็สูญหายหาคนทอไม่ได้ไปนับหลายสิบปี จนกระทั่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านลาดสมดี อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ได้เริ่มโครงการฟื้นฟูผ้าพื้นเมืองลายโบราณจังหวัดอุบลราชธานี จึงมีการฟื้นฟูการทอซิ่นทิวมุกขึ้นใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.2551<ref>มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2551) www.ubu.ac.th/~research/new_art/.../pamai%20's%20news.pdf</ref> ซิ่นทิวมุกโบราณที่หลงเหลือในปัจจุบันนั้นส่วนหนึ่งจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี บริจาคโดยนางสงวนศักดิ์ คูณผล ซึ่งเก็บรักษาต่อมาจากมารดา คือ นางวรเวธวรรณกิจ (ทับทิม โชติบุตร) ซึ่งเป็นพระสหารสหชาติกับ [[หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช]]<ref>สุวิชช คูณผล (2545) ผ้าซิ่นไหมโบราณวัตถุอายุ 100 ปี www.ubu.ac.th/~research/new_art/ACONTENT/Old-sin-mai.pdf</ref> อีกหนึ่งผืนเป็นผ้าห่อคัมภีร์ในพิพิธภัณฑสถาน วัดศรีอุบลรัตนาราม อีกส่วนหนึ่งอยู่ในความครอบครองของทายาทเจ้านายเชืื้อสายเมืองอุบล คือ เรือตรี[[สุนัย ณ อุบล]] และ นาย[[บำเพ็ญ ณ อุบล]]<ref>พิทยาธรี [นามแฝง] (2540). ผ้าทอเมืองอุบลของสุนัย ณ อุบล. ไลฟ์แอนด์เดคคอร์. ปีที่ 6, ฉบับที่ 71 (ก.ค. 2540) : หน้า 138-142.</ref>
===โครงสร้างลวดลายและสีสัน===