ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
ในอดีต ราษฎรที่เจ็บไข้ได้ป่วยจะไม่ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์เท่าที่ควร เนื่องการเดินทางยากลำบาก บางครั้งต้องรอจนอาการหนัก จึงเดินทางมารักษาในโรงพยาบาลจังหวัด บางครั้ง อาการก็หนักเกินกว่าจะรักษา หรือโรคที่ไม่ได้เจ็บป่วยมากมาย กลับเรื้อรังจนต้องพิการทุพพลภาพ
 
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงตั้งกิจการแพทย์อาสาเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2512]] ขณะทรงประทับอยู่ที่[[พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] โดยในเบื้องต้น ประกอบด้วยแพทย์และพยาบาล อาสาสมัครจาก[[โรงพยาบาลแมคคอมิค]] และ[[โรงพยาบาลนครเชียงใหม่]]
 
หน่วยแพทย์อาสาออกปฏิบัติการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ และไปเช้าเย็นกลับในวันเดียวกัน โดยใช้[[เฮลิคอปเตอร์]]เป็นยานพาหนะหลัก ในแต่ละหน่วยประกอบด้วย แพทย์ 2 คน ทันตแพทย์ 1 คน เภสัชกรหรือพยาบาลที่มีความรู้เรื่องยา 1 คน พยาบาล 3 คน และอาสาสมัครสมทบ 1 คน ทั้งหมดนี้ อาสาทำงานโดยไม่มีรายได้ตอบแทน มีภูมิลำเนาหรือรับราชการอยู่ในจังหวัดนั้นๆ
 
อาสาสมัคร พอ.สว. ทุกคนจะสวมเสื้อสีเทา กระเป๋าเสื้อสีเขียว มีเครื่องหมายของหน่วยอาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประชาชนจะเรียกขานอาสาสมัครเหล่านี้ว่า '''หมอกระเป๋าเขียว''' แม้แต่ผู้ที่มีอุดมการณ์ต่างกันในบางพื้นที่ ยังยกเวันการทำร้าย "หมอกระเป๋าเขียว"
 
ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา หน่วยแพทย์อาสา พอ.สว. แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ
* '''หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.''' เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2512 ทำหน้าที่ดูแลรักษาประชาชนที่ด้อยโอกาสในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยได้รับการสนับสนุนด้านพาหนะจากกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ หรือกรมตำรวจ ในแต่ละพื้นที่นั้น
* '''หน่วยแพทย์ทางวิทยุ พอ.สว.''' จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 มีทั้งสิ้นใน 24 จังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่สำนักงานกลาง วังสระปทุม
 
จังหวัดที่มีกิจการแพทย์อาสา เรียกว่า '''จังหวัดแพทย์อาสา''' ทรงวางกฏเกณฑ์ไว้ว่า จังหวัดที่ต้องการตั้งหน่วยแพทย์อาสา ควรจะเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับชายแดน หรือการคมนาคมไม่สะดวก มีที่ทุรกันดาร หรือจำเป็นต้องอาศัยกิจการแพทย์อาสา ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมด้วยคณะแพทย์ของจังหวัดนั้นๆ ขอพระราชทานตั้งจังหวัดของตนเป็นจังหวัดแพทย์อาสาเสียก่อน เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าเหมาะสม จึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้เป็นจังหวัดแพทย์อาสา
 
จังหวัดแรกที่มีกิจการแพทย์อาสา คือ [[จังหวัดเชียงใหม่]] จนถึงปัจจุบัน มีจังหวัดแพทย์อาสา ทั้งสิ้น 45 จังหวัด กำหนดวางแผนการทำงานโดย คณะกรรมการระดับจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานคณะกรรมการ พอ.สว. ประจำจังหวัดโดยตำแหน่ง
 
การติดต่อ ประสานงานในการปฏิบัติการทุกครั้ง ควบคุมโดย สำนักงานกลาง พอ.สว. ตั้งอยู่ที่[[วังสระปทุม]] ภายใต้การควบคุมของ คณะกรรมการกลาง ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นองค์ประธานด้วยพระองค์เอง
 
{{โครง}}