ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่เดียนเบียนฟู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 176:
=== การเข้าแทรกแซงของสหรัฐอเมริกา ===
{{โครงส่วน}}
ตามรัฐบัญญัติการช่วยเหลือกันและกันทางทหาร สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือแก่ฝรั่งเศสด้านสิ่งของระหว่างยุทธการ ทั้งอากาศยาน (จัดให้โดย ยูเอสเอส ไซปัน) อาวุธ ช่างกล นักบิน[[ซีไอเอ]]/ซีเอที 24 คน และลูกเรือบำรุงรักษากองทัพอากาศสหรัฐ อย่างไรก็ดี สหรัฐอเมริกาเจตนาหลีกเลี่ยงการแทรกแซงโดยตรงอย่างชัดเจน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954 หลังการยึดครองเดียนเบียนฟูของฝรั่งเศสแต่ก่อนยุทธกร วุฒิสมาชิกประชาธิปไตย ไมเคิล แมนสฟีลด์ ถามรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ เออร์วิน วิลสัน ว่า สหรัฐอเมริกาจะส่งหน่วยนาวิกหรือทางอากาศหรือไม่ หากฝรั่งเศสถูกแรงกดดันมากขึ้นที่นั่น แต่วิลสันตอบว่า "สำหรับตอนนี้ ไม่มีเหตุผลชอบที่จะเพิ่มการช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาเกินระดับปัจจุบัน" ประธานาธิบดี[[ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์]] ก็แถลงว่า "ไม่มีใครคัดค้านการแทรกแซงมากไปกว่าข้าพเจ้า" วันที่ 31 มีนาคม หลัง "เบอาตรีซ", "กาบรีแอล" และ "อานน์-มารี" คณะวุฒิสมาชิกและผู้แทนราษฎรสหรัฐได้ตั้งคำถามถึงประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมอเมริกา พลเรือเอก อาเธอร์ ดับเบิลยู. แรดฟอร์ด ถึงความเป็นไปได้ในการแทรกแซงของสหรัฐ แรดฟอร์ดสรุปว่า สายเกินไปสำหรับกองทัพอากาศสหรัฐที่จะช่วยฝรั่งเศส ข้อเสนอการแทรกแซงโดยตรงถูกออกเสียงคัดค้านอย่างเป็นเอกฉันท์โดยคณะเสนาธิการ ซึ่ง "สรุปว่า การแทรกแซงเป็นพฤติการณ์[[เหตุแห่งสงคราม]]เชิงบวก"
 
สหรัฐอเมริกได้มีส่วนในยุทธการอย่างลับ ๆ หลังการขอความช่วยเหลือจากอ็องรี นาวาร์ แรดฟอร์ดให้ฝูงอากาศยานทิ้งระเบิด บี-26 อินเวเดอร์ สองฝูงสนับสนุนฝรั่งเศส ในภายหลัง นักบินขนส่งอเมริกัน 37 คน บิน 682 เที่ยวบินตลอดระยะการรบ ก่อนหน้านี้ เพื่อแทนที่ปฏิบัติการแคสเตอร์ก่อนเดียนเบียนฟูเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1953 พลเอก เชสเตอร์ แมคคาร์ที อนุญาตให้ลูกเรือฝรั่งเศสขับเครื่องบินซี-119 ฟลายอิง บ็อกซ์คาร์อีก 12 ลำ
 
นักบินอเมริกันสองคน เจมส์ แมคกอฟเวิร์น จูเนียร์ และวอลเลซ บูฟอร์ดเสียชีวิตในหน้าที่ระหว่างการล้อมเดียนเบียนฟู วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 นักบินอเมริกันเจ็ดคนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้รับ[[เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์เลฌียงโดเนอร์]]ฝรั่งเศส โดย ฌ็อง-เดวิด เลวิตเต เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสหรัฐอเมริกา บทบาทของนักบินอเมริกันในยุทธการนี้ยังเป็นที่ทราบกันน้อยจน ค.ศ. 2004 "นักประวัติศาสตร์อเมริกัน อีริค เคอร์ซิงเกอร์ วิจัยกรณีนี้กว่าหนึ่งปีเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง" นักประพันธ์ฝรั่งเศส ฌูล รอย เสนอว่า พลเรือเอก แรดฟอร์ดอภิปรายกับฝรั่งเศสถึงความเป็นไปได้ในการใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อสนับสนุนที่มั่นฝรั่งเศส ยิ่งไปกว่านั้น จอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลสมีรายงานว่า กล่าวถงความเป็นไปได้ในการให้ยืมระเบิดอะตอมแก่ฝรั่งเศสเพื่อใช้ที่เดียนเบียนฟู และแหล่งข้อมูลคล้ายกันอ้างว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษขณะนั้น เซอร์แอนโธนี อีเดน ตระหนักถึงความเป็นไปได้ของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคนั้น
 
=== ยุทธการเคซาน ===