ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่เดียนเบียนฟู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 166:
=== ผลกระทบทางการเมือง ===
[[ไฟล์:Gen-commons.jpg|thumb|left|200px|การประชุมเจนีวา]]
ทหารที่ป้องกันเดียนเบียนฟูคิดเป็นกำลังพลเกือบหนึ่งในสิบของทหารสหภาพฝรั่งเศสทั้งหมดในอินโดจีน<ref>"[[กองทัพรบนอกประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลฝรั่งเศส]] มีทหารราว 175,000 นาย -Davidson, 163</ref> ความปราชัยดังกล่าวทำให้ฝรั่งเศสสูญเสียอิทธิพลในพื้นที่อย่างมากและบั่นทอนเกียรติภูมิของฝรั่งเศสดังที่เคยวางแผนไว้สำหรับการเจรจาเพื่อกำหนดอนาคตของอินโดจีน
 
[[การประชุมเจนีวา (1954)|การประชุมเจนีวา]]เริ่มขึ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม เพียงหนึ่งวันหลังจากทหารฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟูยอมจำนน [[โฮจิมินห์]]ก้าวเข้าสู่ที่ประชุมในวันเปิดประชุมพร้อมกับพาดหัวข่าวชัยชนะของเวียดมินห์ตามหนังสือพิมพ์ ผลการเจรจาได้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วนเขตชั่วคราว ทางเหนือเป็น[[เวียดนามเหนือ|สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม]] ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ และทางใต้เป็น[[รัฐเวียดนาม]] ซึ่งได้รับการสันบสนุนจากฝรั่งเศสที่ฝรั่งเศสสนับสนุน ทหารสหภาพฝรั่งเศสหน่วยสุดท้ายถูกถอนออกจากอินโดจีนในปี ค.ศ. 1956 ผลการแบ่งแยกประเทศดังกล่าวควรจะเป็นการไปชั่วคราวเท่านั้น และพื้นที่ทั้งสองควรจะรวมเข้าด้วยกันอีกครั้งหลังจากการเลือกตั้งทั่วประเทศในปี ค.ศ. 1956 แต่หลังจากฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกไป สหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลฝ่ายใต้ ภายใต้[[สมเด็จพระจักรพรรดิเบาได๋แห่งเวียดนาม|จักรพรรดิเบาได๋]] และนายกรัฐมนตรี[[โง ดินห์ เดียม]] ซึ่งคัดค้านขัดต่อความตกลงเจนีวา และอ้างว่ากองกำลังของโฮจิมินห์ของเวียดนามจากทางเหนือได้ฆ่าประชาชนผู้รักชาติทางเหนือและคุกคามประชาชนเวียดนามทั้งหมดทั้งเหนือและใต้ เวียดนามเหนือได้รับการสนับสนุนจากทั้งจีนและ[[สหภาพโซเวียต]] การจัดการดังกล่าวได้พิสูจน์ความมัวหมองของข้อตกลงแล้วว่า ไม่มีความหมายและกำลังจะลุกลามขึ้นบานปลายเป็น[[สงครามเวียดนาม]] (สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง) ซึ่งทำให้ทหารสหรัฐกว่า 500,000 นายต้องถูกส่งตัวไปป้องกันใน[[เวียดนามใต้]]
 
ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในอินโดจีน ซึ่งเมื่อประกอบกับการที่กองทัพฝรั่งเศสถูกทำลายโดยเยอรมนีเมื่อ 14 ปีก่อนหน้านี้ ได้บั่นทอนเกียรติภูมิของฝรั่งเศสใน[[จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส|จักรวรรดิอาอาณานิคมของตน]]อย่างร้ายแรง เช่นเดียวกับอิทธิพลภายในพันธมิตร[[นาโต้]] และที่สำคัญที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา ภายในจักรวรรดิฝรั่งเศส ความพ่ายแพ้ในอินโดจีนจุดประกายให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชขึ้นในอาณานิคมอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ในอาณานิคมแอฟริกาเหนือ ที่ซึ่งทหารที่รบป้องกันเดียนเบียนฟูถูกเกณฑ์ตัวมาเป็นจำนวนมาก หกเดือนหลังจากยุทธการเดียนเบียนฟูยุติ [[สงครามแอลจีเรีย]]ได้เริ่มต้นขึ้น และภายในปี ค.ศ. 1956 [[รัฐในอารักขา]] โมร็อกโกและ[[ตูนีเซีย]] ได้รับเอกราช คณะกรรมการสอบสวน ซึ่งถูกเรียกว่า [[คณะกรรมการกาทรู]] ได้รับการจัดตั้งขึ้นในภายหลังเพื่อสืบสวนสาเหตุของความพ่ายแพ้
ณานิคมของตน]]อย่างร้ายแรง เช่นเดียวกับอิทธิพลภายในพันธมิตร[[นาโต้]] และที่สำคัญที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา ภายในจักรวรรดิฝรั่งเศส ความพ่ายแพ้ในอินโดจีนจุดประกายให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชขึ้นในอาณานิคมอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ในอาณานิคมแอฟริกาเหนือ ที่ซึ่งทหารที่รบป้องกันเดียนเบียนฟูถูกเกณฑ์ตัวมาเป็นจำนวนมาก หกเดือนหลังจากยุทธการเดียนเบียนฟูยุติ [[สงครามแอลจีเรีย]]ได้เริ่มต้นขึ้น และภายในปี ค.ศ. 1956 [[รัฐในอารักขา]] โมร็อกโกและ[[ตูนีเซีย]] ได้รับเอกราช คณะกรรมการสอบสวน ซึ่งถูกเรียกว่า [[คณะกรรมการกาทรู]] ได้รับการจัดตั้งขึ้นในภายหลังเพื่อสืบสวนสาเหตุของความพ่ายแพ้
 
ยุทธการดังกล่าวได้รับการพรรณนาถึงใน[[แหกค่ายนรก เดียน เบียน ฟู]] ภาพยนตร์ละครกึ่งสารคดี ซึ่งถ่ายทำในปี ค.ศ. 1992 โดยมีเนื้อหาหลายส่วนเป็นอัตชีวประวัติ ร่วมกับกองทัพเวียดนามโดยผู้กำกับภายพนตร์ฝรั่งเศสซึ่งเป็นทหารผ่านศึกเดียนเบียนฟู Pierre Schoendoerffer