ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทดำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sineha (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
 
ในสมัย[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] ครั้นพระองค์ทรงไปตีกรุงเวียงจันทน์ ในปี [[พ.ศ. 2322]] พระองค์ทรงได้กวาดต้อนชาวไตดำที่อพยพมาจากสิบสองจุไท ส่งไปตั้งถิ่นฐานที่เมือง[[เพชรบุรี]] และต่อมาในปี [[พ.ศ. 2335]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] และในปี พ.ศ. 2381 สมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ก็ทรงยกทัพไปตีล้านช้าง และก็ได้กวาดต้อนมาอีก ซึ่งในปัจจุบัน ตั้งถิ่นฐานกระจายกันอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัด เช่น [[ราชบุรี]] [[นครปฐม]][[ สุพรรณบุรี]] [[พิจิตร]] [[พิษณุโลก]] [[กาญจนบุรี]] [[ลพบุรี]] [[สระบุรี]] [[เลย]] [[ชุมพร]] และ[[สุราษฎร์ธานี]] ปัจจุบันเรียกคนเหล่านี้ว่า '''ชาวไทยโซ่ง''' หรือ "ไทยทรงดำ"
 
ตำนานการอพยพของชนเผ่าผู้ไทย
 
ลาวและและผู้ไทเป็นกลุ่มชนที่ถือกำเนิดในเขตลุ่มน้ำโขงตั้งแต่เมืองสิงห์ทางตอนใต้ของแคว้นสิบสองปันนา-มายังแคว้นสิบสองจุไทย ในลุ่มน้ำดำ(ตอนเหนือของเวียดนามในปัจจุบัน)ลาวและผู้ไท พัฒนาสร้างบ้านแปลงเมืองมาพร้อมๆกันจากบริเวณแคว้นสิบจุไท ลาวแยกออกมาจากเมืองแถง (เดืยนเบียนฟู)มุ่งมาตะวันตกทางลุ่มน้ำโขง ขุนลอ ตีเอาเมืองเชียงดง เชียงทองได้จากขุนชวากษัตริย์ของชนเผ่าขอมละว้า(ลัวะ)ชับไล่พวก ลัวะให้หนีขึ้นไปทางเหนือบริเวณม.หลวงน้ำทา ลาวสร้างอาณาจักรลาวล้านช้างชึ้นที่ ม.หลวงพระบาง
ขณะเดียวกันนั้นชนเผ่าผู้ไทได้พัฒนาตนเองต่อไปที่บริเวณสิบสองจุไทย ทางผู้ไทยได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ
ผู้ไทยขาว 4 เมืองคือ เมืองไล เมืองเจียม เมืองมุก เมืองบาง กำเนิดจากจีนแซ่ฟอ ส่วนผู้ไทดำตั้งถิ่นฐานอยู่ใน 8 เมือง คือเมืองแถง เมืองตุง เมืองม่วย เมืองลา เมืองโม่ะ เมืองหวัด เมืองซาง และ เมืองคาย ลักษณะของคนผู้ไทดำผิวขาว กิริยาคล้ายคนไทยลาว การแต่งกายผู้ชายนุ่งกางเกงขาแคบใช้ผ้าฝ้ายสี่ดำสวมเสื้อดำ ผู้ชายสวมกำไลข้อมือ ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ผ้าดำย้อมครามมีกำไลเงินและจอนหูเงิน เป็นเครื่องประดับ ผู้หญิงที่ยังไม่มีสามีจะเกล้าผมมวยเมื่อมีสามีแล้วจะเกล้าผมสูงเครื่องแต่งกายมีสีดำเข้ม จึงคงเรียกคนเหล่านี้ตามลักษณะการแต่งกายว่า “ ผู้ไทดำ” รวมชนเผ่าผู้ไทยทั้งหมดได้ 12 หัวเมืองแต่ละเมืองแยกเป็นจุ มีเจ้ามีขุนปกครองเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กันและกัน จึงขนานนามแว่นแคว้นนี้ว่า สิบสองเจ้าไท หรือ สิบสองจุไท มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองแถน (เมืองเดียนเบียนฟู)ในเขตญวน
ภายหลังชาวผู้ไทอพยพด้วยเหตุเกิดวิกฤต มีการแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือจุอื่นๆ การพบกับการรุกรานชองฮ่อ (ชนชาติจีนที่นับถือศาสนาอิสราม)และอิทธิพลความขัดแย้งทางการเมือง ลาว/ไทย/ญวน จึงพากันอพยพย้ายถิ่นมาตั้งบ้านเมืองกันที่เมืองนาน้อยอ้อยหนู โจรจีนฮ่อรุกรานปล้นสะดมอีกหลายครั้งคราว ผู้ไทจึงได้พากันอพยพจากตอนเหนือของเชียงขวาง(นาน้อยอ้อยหนู) ลงมาทางใต้โดยกษัตริย์ลาวเห็นชอบให้ตั้งสร้างบ้านเมืองอยู่แถวแขวงคำม่วนเมืองวังอ่างคำ เมืองตะโปน(เมืองเซโปน) เมือนพีน เมืองนอง เมืองผาลาน เมืองเชียงฮ่ม เมืองผาบัง ทางตะวันออก แขวงสะหวันเขตของประเทศลาวในปัจุบัน
ขณะเดียวกันลาวก็พัฒนาอาณาจักรลาวล้านฃ้าง มีกษัตริย์ปกครองมีขุนนำหน้าชื่อ 13 องค์ มีท้าวนำหน้าชื่อ 6องค์ รวมเป็น 19 องค์จนถึงพญาลังปกครองใม่ดีไม่อยู่อยู่ในศีลในธรรม จึงเกิดขัดแย้งแย่งชิงอำนาจกันขึ้น ผลของความขัดแย้งทำให้ลาวแตกแยกออกเป็นสองอาณาจักร คือ อาณาจักรลาวหลวงพระบาง และ อาณาจักรลาวเวียงจันทร์ และโดยสถานที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ลาวตั้งอยู่กลาง 2 มหาอำนาจ ไทย/ญวน ทำให้ลาวแต่ละอาณาจักรแสวงหาอำนาจจากภายนอกมาสนับสนุนพวกตนให้ดำรงตั้งตนอยู่ได้ด้วยการไปสวามิภักดิ์ทั้งไทยและญวน โดยการส่งส่วยให้ทั้งสองเมืองจึงเรียกเมืองดังกล่าวว่าเมืองสองสวยฟ้า หรือ เมืองสองฝ่ายฟ้า ในภายหลังลาวแบ่งเป็น 3 อาณาจักร เหตุมาแต่ความขัดแย้งแข่งดีกันทางการเมืองในอาณาจักรลาวเวียงจันทร์ ทำให้พระครูโพนเสม็ดซึ่งเป็นพระที่คนลาวเลื่อมใสศรัทธามากได้พาเชื้อพระวงศ์กษัตริย์ลาวที่ขัดแย้งกันพร้อมบ่าวไพร่จำนวนหนึ่งหลบหนีออกอาณาจักรลาวเวียงจันทร์ ล่องแพ ลงไปตามแม่น้ำโขงและโดยการสนับสนุนของพวกเจ้าขอมทางด้านใต้จึงได้ตั้งอาณาจักรใหม่ชื่อ อาณาจักรลาวจำปาสักขึ้นปกครองกันเองและ ประกาศตนเองเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นต่ออาณาจักรลาวเวียงจันทร์ ทำให้ลาวถูกแบ่งออกเป็น 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรลาวหลวงพระบาง/อาณาจักรลาวเวียงจันทร์/อาณาจักรลาวจำปาสัก
ด้วยการแสวงหาอำนาจจากภายนอกมาสนับสนุนโดยแต่ละอาณาจักรจึงทำให้ไทยกระทบกระทั่งกับญวนและรบกันบ่อยครั้งเพื่อแสดงอำนาจเหนืออาณาจักรลาวและด้วยเหตุการณ์ความขัดแย้งกันของ 3 แคว้น ต่างฝ่ายต่างหาอำนาจภายนอกเป็นที่พึ่งของตนในที่สุดลาวทั้ง 3 อาณาจักรตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยกรุงธนบุรีของพระเจ้าตากสินเมื่อปี พ.ศ.2322
สรุปการอพยพของชนเผ่าผู้ไทจากตอนเหนือของลาวแบ่งออกได้เป็นดังนี้
การอพยพครั้งแรก จากเมืองแถง แคว้นสิบสองจุไท ลงมาทางใต้ของชนเผ่าผู้ไท สาเหตุหลักมาจากชนเผ่าผู้ไทขาวที่รุกรานผู้ไทดำ ผุ้ไทขาวขยายอำนาจควบคุมผู้ไทได้ถึง 11 หัวเมือง ส่งผลให้ผู้ไทดำที่รักอิสระ เสรีภาพ พากันอพยพลงมาทางใต้ มาตั้งอยู่ที่บริเวณหัวพันห้าทั้งหก หรือ ที่เรียกกันว่า”นาน้อยอ้อยหนู “ แต่ก็เกิดความขัดแย้งกับชนเผ่าพื้นเมืองเดิมที่บริเวณนั้นประกอบกับเกิดทุพภิกขภัยฟ้าฝนไม่ตกตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้งแล้วพวกผู้ไทจึงได้ชวนกันอพยพ ลงใต้อีกครั้งมาอยู่บริเวณพื้นราบภูเขาแถวแขวงเชียงขวางของลาว พวกผู้ไทได้พากันมาตั้งมั่นหาเลี้ยงชีพอยู่บริเวณนี้อย่างสงบมาเป็นเวลา 200 ปีโดยประมาณ จนถึงปี พ.ศ.2321-2322ลาวในสมัยพระเจ้าศิริบุญสาร เกิดขัดแย้งกับไทยสมัยพระเจ้าตากสิน กรณีพระวอพระตาซึ่งสมัยนั้นสวามิภักดิ์ต่อไทถูกลาวเวียงจันทร์โจมตีที่ดอนมดแดง(เมืองอุบลราชธานี)โดยการหนุนช่วยจากเจ้าผู้ครองนครจำปาสัก พระเจ้าตากสินโกรธแค้นหาว่าลาวไม่เป็นเมืองพี่เมืองน้องอย่างในอดีต มาโจมตีคนที่สวามิภักดิ์ต่อไทย ถือเป็นการหมิ่นเกียรติ จึงสั่งให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก(ทองด้วง)กับเจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา)ยกกองทัพไปตีเมืองลาวตั้งแต่จำปาสักจนถึงเวียงจันทร์ ลาวแพ้สงครามไทยจึงผนวกเอาลาวทั้งหมดเป็นเมืองประเทศราชหลังจากตีเวียงจันทร์แตกแล้วกองทัพไทยได้ให้กองทัพส่วนหนึ่งไปตีหัวเมืองด้านตะวันออกของเมืองหลวงพระบางที่ชาวผู้ไทตั้งบ้านเมืองอยู่ คือ เมืองทันต์(ญวนเรียกเมืองซือหงี) แล ะเมืองม่วย ซึ่งอยู่ใกล้เขตแดนญวนทาง กรุงธนบุรีสั่งให้กวาดต้อนพวกผู้ไทดำ บริเวณนั้นลงไปกรุงธนบุรี และให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เขาย้อย เพรชบุรี (ส่วนมาก) และมีบางส่วนไปอยู่ที่คูบัวเมืองราชบุรีบ้าง สุพรรณบุรีบ้าง ส่วนพวกลาวเวียงและลาวพวนให้ไปอยู่บ้านหมี่เมืองลพบุรี เมืองสระบุรี และ ทางหัวเมืองตะวันออก เช่น เมืองแปดริ้ว และ เมืองจันทบุรี พวกผู้ไทดำเมืองเขาย้อยต่อมาเรียกขานกันว่า “ลาวซ่งดำ”เพราะมีอัตรลักษณ์ชอบนุ่งกางเกง(ผู้ไทเรียกกางเกงว่าซ่ง)สีดำหรือผ้าย้อมสีครามจึงเรียกตามการแต่งกายว่า”ลาวซ่งดำ”กลายเป็นลาวโซ่งดำและลาวโซ่งในปัจจุบัน นับว่าเป็นพวกผู้ไทระลอกแรกที่ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยอพยบเข้าสู่ประเทศไทย ครั้นอยู่ต่อมาราวปีพ.ศ.2335 สมัยรัชกาลที่ 1 กรุงเทพฯ เมืองแถง และ เมืองพวน แข็งข้อขัดขืนไม่ฟังบังคับจากเวียงจันทร์ ร.1 จึงบัญชาให้พระเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทร์ ยกทัพไปปราบปรามจนเมื่อชนะแล้วให้กวาดต้อนผู้ไทดำและลาวพวนเป็นเชลย ส่งลงไปกรุงเทพฯอีกครั้ง โดยไทดำนั้นให้ส่งไปอยู่ที่เขาย้อยเพรขบุรีกับพวกที่ไปอยู่ก่อนแล้วในสมัยธนบุรี นโยบายในการกวาดต้อนผู้ไทดำ/ลาวพวน /ลาวเวียง ไปกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯนั้นมีเหตุผลอยู่หลายประการ คือ เป็นเชลยศึกที่กวาดต้อนไปปูนบำเหน็จให้กับพวกแม่ทัพนายกองที่ทำการรบชนะมีความดีความชอบเพื่อนำไปใช้แรงงานทำไร่นาและอื่นๆอย่างหนึ่งประการต่อมาคือเพื่อไม่ให้มีประชากรพลเมืองเหลือไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ญวนในการเข้ามาปกครองและแสวงหาประโยชน์และอีกประการหนึ่งคือป้องกันมิให้รวมตัวกันมีกำลังพลมากล้าแข็งและขัดขืนได้อีกต่อไป ประการสุดท้ายคือต้องการกำลังพลมาทดแทนประชากรไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นเชลยศึกเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกเสียกรุงแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ.2310 ทำให้ผู้คนแถบเมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ขาดผู้คนจนแทบจะกลายเป็นเมืองร้าง จึงกวาดต้อนผู้ไท/ลาวพวน/ลาวเวียง มาเป็นกำลังทดแทนคนไทยที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยพม่าคราวนั้น
การอพยพละรอกที่ 2 เป็นการอพยพของชาวผู้ไทเมืองนาน้อยอ้อยหนู ลงไปทางใต้มุ่งสู่เมืองวังอ่างคำ สาเหตุหลักเพราะสงครามไทยลาวปี 2321-2322 สมัยกรุงธนบุรีและสงครามไทย/ลาวปี 2335 ในสมัย ร.1 กรุงเทพฯ มีการกวาดต้อนผู้ไทดำ/ลาวพวน ไปเป็นเชลยที่ธนบุรีและกรุงเทพฯ ทำให้พวกผู้ไทที่รักอิสระเสรีภาพกลุ่มหนึ่งจำนวนประมาณหมื่นคนเศษ ได้พากันอพยพหลบลี้หนีสงครามลงมาทางตอนใต้ ทางเมืองคำเกิด คำม่วนและขอพึ่งบรมโพธิสมภารต่อเจ้าอนุวงศ์(เจ้าอนุรุธแห่งเวียงจันทร์)เจ้าอนุวงศ์พิจารณาแล้วเห็นว่าแต่ก่อนชาวผู้ไทชอบตั้งบ้านเมืองอยู่ที่ราบเชิงเขาจึงโปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเมืองวังอ่างคำ ทางตะวันออกของเมืองสะหวันเขต ติดกับเขตแดนญวน และผู้ไทได้ตั้งขยายเมืองเล็ก เมืองน้อย อีกหลายเมืองรอบๆเมืองวังอ่างคำ คือ เมืองพีน เมืองนอง เมืองผาลาน เมืองตะโปน(เซโปน) เมืองผาบัง เมืองเซียงฮ่ม บริเวณดังกล่าวมีชนพื้นเมืองอยู่ก่อนแล้วคือ พวกข่า จนเกิดเป็นตำนานการต่อสู้ทางปัญญาระหว่างพวกผู้ไทและข่า โดยท้าทายแข่งขันยิงลูกหน้าไม้ใส่หน้าผาใครชนะ(ลูกหน้าไม้เสียบติดหน้าผา)ต้องได้เป็นใหญ่ในพื้นที่บริเวณเมืองดังกล่าว ผลการแข่งขันปรากฏว่าพวกข่าสู้ปัญญาพวกผู้ไทไม่ได้ จึงยอมอยู่ในปกครองของผู้ไทแต่นั้นมา ณ บริเวณนี้ผู้ไทดำเนินนโยบายสองส่วยฟ้าแบบเดิม โดยแต่ละปีได้ส่งส่วยมีด พร้าอีโต้ ขวานเป็นเครื่องบรรณาการแก่ลาวเวียงจันทร์ปีละ 500 เล่ม ขณะเดียวกันก็ส่งขี้ผึ้งหนัก 25 ชั่งเป็นบรรณาการไปจิ้มกล้องแก่ญวน
การอพยพครั้งที่ 3 จากเมืองวังอ่างคำสู่ฝั่งขวาของลุ่มแม่น้ำโขง มีสาเหตุอันเนื่องมาแต่ความขัดแย้งชิงอำนาจภายในของพวกผู้ไทด้วยกัน สมัยพญาก่ำ เป็นใหญ่ในแดนผู้ไทปกครองด้วยความโหดร้าย ใครไม่เป็นพวกก็จับไปฆ่าทิ้งประกอบกับช่วงศึก ไทย/ญวน มีคำล่ำลือว่าฝั่งขวาแม่น้ำโขงแผ่นดินอุดมสมบูรณ์โรคภัยไข้เจ็บมีน้อยและกษัตริย์ไทยมีความเมตตาชุบเลี้ยงจึงมีผู้ไทจำนวนหนึ่งอพยพเข้ามาพึ่งใบบุญ โดยมาตั้งบ้านตั้งที่บ้านบุ่งหวายก่อน(เมืองเรณูนครปัจจุบัน)
การอพยพละลอกใหญ่ของชนเผ่าผู้ไท ในสมัย ร.3 จากฝั่งซ้ายของแม่น้ำของ(ลาว)มายังฝั่งขวาของแม่น้ำของ(ไทย)สืบเนื่องมาแต่ความขัดแย้ง ไทย/ลาว เจ้าอนุวงศ์ต้องการแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับไทยด้วยการประกาศเอกราชกู้บ้านกู้เมืองลาว จึงเกิดสงคราม ไทย/ลาว ในปีพ.ศ 2369-2371 กองทัพไทยยกไปตีลาวโดยกล่าวหาว่าลาวเป็น กบฏแข็งข้อการสู้รบครั้งแรกลาวแพ้จึงเกิดการกวาดต้อนเชลยศึกลาวไปกรุงเทพฯ ในคราวนั้นพระยาราชสุภาวดี(สิงห์ สิงหเสนีย์)แม่ทัพ ไม่ได้ทำลายเวียงจันทร์ตามที่ ร.3 บัญชา แต่กลับแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทร์ปกครองบ้านเมืองต่อไปแต่ครั้นเมื่อยกทัพกลับกรุงเทพฯ ร.3 ทรงกริ้วแม่ทัพมากที่ไม่ทำลายลาวแถมแต่งตั้งเจ้าครองนครเสียอีก ในปีเดียวกันนั้นได้บัญชาให้ เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์ สิงหเสนีย์) ยกทัพขึ้นไปตีเวียงจันทร์อีกครั้ง เกิดกรณีเจ้าอนุวงศ์โดยการสนับสนุนของญวนทำอุบายลวงแม่ทัพนายกองไทยและกำลังส่วนล่วงหน้าอีก 700 คนไปล้อมฆ่าในเมืองเวียงจันทร์ จึงสมประโยชน์ให้ทัพไทยยกเข้าโจมตีเผาทำลายล้างเมืองเวียงจันทร์ราบคาบเป็นหน้ากองและกวาดต้อนผู้คนและชนเผ่าต่างๆให้ข้ามมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางภาคอิสานของไทยทุกวันนี้
ส่วนผู้ไทเมืองวังอ่างคำก็ไม่พ้นราชภัย โดยไทยเห็นว่าเมืองผู้ไทอยู่ติดเขตแดนญวนจึงจัดทัพให้พระยามหาสงครามและท้าวเพี้ยเวียงจันทร์ไปโจมตีเมืองวังอ่างคำแตกและให้กวาดต้อนชาวผู้ไทข้ามมาฝั่งขวาของแม่น้ำโขง แต่จากคำล่ำลือถึงความโหดร้ายของกองทัพไทยว่าทารุณกรรมเชลยศึกทำให้ชาวผู้ไทส่วนมากแตกบ้านแตกเมือง หนีไปพึ่งใบบุญญวนที่เมืองภูชุน และอีกส่วนหนึ่งแยกย้ายกระจายกันและหลบหนี เป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยหลบหนีข้าศึกไทยไปอยู่ตามป่าตามเขาตามถ้ำ ไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อทัพไทยพากันเกลียดชังกองทัพฝ่ายไทย หนีไปพึ่งญวน ทำให้ญวนได้เปรียบในช่วงแรกๆของสงคราม ครั้นต่อมาพวกญวนได้แสดงให้เห็นถึงธาตุแท้ว่าเอารัดเอาเปรียบและกดขี่ข่มเห็งชาวผู้ไท ดังมีหนังสือบันทึกเป็นหลักฐานในหนังสือผูกพื้นลาวเวียงกล่าวไว้ว่าดังนี้ “…พระเจ้ากรุงแกว จึงให้โด่ยยี่ไปรักษาเมืองชุมพร(เมืองสำคัญเมืองหนึ่งของผู้ไท)ไว้ พวกแกว(ญวน)เกณฑ์ผู้คนมาสร้างค่ายคูเมืองปลูกตำหนักน้อยใหญ่ ผู้คนทิ้งไร่นาเพราะถูกเกณฑ์ ชาวเมืองนอง เมืองชุมพร เมืองผาลาน ตะโปน(เซโปน) อดอยาก ข้าวยากหมากแพง เพราะเมืองแตกแลยังไม่ได้ทำนาต้องกินหัวเผือก หัวมัน กินกลอยแทนข้าว แถมยังถูกข่มแหงให้ตัดไม้ ให้สร้างเมือง สร้างค่ายคู เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็เกณฑ์จัดเข้าเวร เฝ้าด่าน ทั้งต้องเสียส่วยเงินทอง ควาย ช้าง ขี้ผึ้ง ผ้านุ่ง แลเครื่องหวาย ทุกสิ่งที่เก็บเกณฑ์ได้ให้เอาลงเรือส่งไปเมืองแกว จนชาวบ้านอดอยาก ร้างไร่ ร้างนา พวกเขาจึงค่อยๆพากันหลบหนี แกวหันมาพึ่งไทย ไม่คิดจะอยู่เป็นบ้านเป็นเมืองอีกต่อไป พวกที่หนีไม่พ้นก็จำทนอยู่ที่นั่นต่อไป บางคนก็เป็นไข้ขี้ลงท้อง(ท้องร่วง)ตายก็มาก…” จนในที่สุดเกิดกระแสตีกลับพวกผู้ไทหันมาเลือกข้างฝ่ายกองทัพไทยประกอบกับกองทัพไทยได้ให้ท้าวสาย ผุ้ไทพวกแรกๆซึ่งอพยพเข้ามาไทยแต่ก่อน(เมืองเรณู)ได้ไปเกลี้ยกล่อม ญาติพี่น้อง ชาวผู้ไทที่กระจัดกระจายแตกบ้านแตกเมืองอยู่ให้อพยพข้ามมาฝั่งขวาของน้ำโขงของประเทศไทยโดยท้าวสายได้ชี้แจงกับญาติพี่น้องชาวผู้ไทว่า กษัตริย์ไทยมีเมตตากรุณาชุบเลี้ยง ไม่ฆ่า ไม่ตี สามารถเลือกตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในประเทศไทยได้ตามใจชอบ ฝั่งประเทศไทยพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยข้าว ด้วยน้ำ ด้วยอาหาร โรคภัยไข้เจ็บมีน้อย จึงทำให้เกิดการใว้เนื้อเชื่อใจและมีการอพยพครั้งใหญ่ของผุ้ไทเมืองวังอ่างคำอีกครั้งหนึ่ง
การอพยพของผู้ไท บรรพบุรุษของชาวผู้ไท กลุ่มศรีหริ่ง(ศรีหลิ่ง)(Sriring/Sriling) ภายหลังสงคราม(ปี2369-2371)เจ้าอนุวงศ์(เวียงจันทร์)กับไทยสมัย ร.3 แล้วท้าวสาย ผู้ไทเมืองเรณู ได้เกลี้ยกล่อมราชวงศ์กอ เมืองวังอ่างคำและพวกผู้ไทในสังกัดจำนวน 3,443 คนได้อพยพข้ามน้ำโขงมายังฝั่งไทย(ในปี พ.ศ.2383) มาตั้งอยู่เมืองเรณูนครก่อน แต่ส่วนมากอพยพข้ามเทือกเขาพูพานไปตั้งอยู่แถวเขาวง ภูแล่นช้าง และ ที่สุดมาตั้งอยู่แถวเมืองกุดสิมนารายณ์เป็นพื้น
ครั้นปีพ.ศ.2384 ร.3 โปรดให้ราชวงศ์(กอ)และหัวหน้าพวกผู้ไททั้งหลายในภาคอิสานจำนวน 10 คน เข้าเฝ้าที่กรุงเทพฯทรงถามความสมัครใจว่าผู้ใด พวกใด อยากไปอยู่ที่ใดจะได้พระราชทานให้ตามความประสงค์ ราชวงศ์(กอ) ได้สมัครใจพาพรรคพวกลูกหลานจำนวน 3,443 คนไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิมขึ้นอยู่กับเขตเมืองกาฬสินธุ์ ผู้ไทกลุ่มนี้ล้วนแต่มาจากเมืองวังอ่างคำ ครั้นเวลาล่วงถึงปี พ.ศ.2388 ร.3 โปรดเกล้าให้ตั้งบ้านกุดสิมเป็นเมืองกุดสิมนารายณ์ มีพระยาธิเบธวงศา(ราชวงศ์กอ)เป็นเจ้าเมืองคนแรกปกครอง 4ตำบล คือ ต.คุ้มเก่า ต.เปลือย ต.แจนแลน ต.ชุมพร
ในจำนวนหมู่ผู้ไทที่พาลูกหลานอพยพมาอยู่เมืองกุดสิมคราวนั้น มีครอบครับผู้ไท 4 พี่น้อง คือ ท้าวเสน ท้าวสาน ท้าวหลอยหลิ่ง และพี่สาวอีกคนหนึ่ง(ไม่ทราบชื่อ) รวมเป็นพวกผู้ไทอพยพมาด้วยกันและได้ช่วยเหลือราชวงศ์(กอ)เมืองวังทำการมาโดยตลอด จนท้าวเสนได้รับเลื่อนฐานันดร เป็นท้าววรเสนไชยะ ส่วนคนอื่นก็ได้เป็นหัวหน้ากลุ่มผู้ไทยในหมู่บ้านต่างๆ เช่น บ.คำกั้ง บ.หนองห้าง บ.คำบง ฯลฯ เป็นต้น
ผู้ไทได้เป็นเจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์เรื่อยมา กล่าวคือมีเจ้าเมืองเป็นพระยาธิเบธวงศา(ก่อ) พระยาธิเบศวงศา(กินรี) และ พระยาธิเบธวงศา(ด้วง)( พระยาธิเบธวงศา(ด้วง) ลูกพระยาธิเบธวงศา(กินรี) ) จนถึงปี พ.ศ. 2335 ร.5 ปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองใหม่ให้เปลี่ยนจากระบบเวียง/วัง/คลัง/นา เปลี่ยนเป็นการปกครองที่มีกระทรวง12กระทรวงบริหารประเทศ โดยครั้งนั้น กระทรวงมหาดไทยภายใต้การดำเนินการของกรมพระยาดำรงราชาณุภาพ ถึงปี 2445 ได้แบ่งการปกครองเป็นมณฑล เมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และปีดังกล่าวได้แต่งตั้งหลวงประเวศน์อุทรขันธ์ (ลี มัธยมนันท์)มาเป็นนายอำเภอ กุดสฉินารายณ์ หมดยุคผู้ไทเป็นจ้าครองเมือง (นายอำเภอ พระยาธิเบธวงศา(ด้วง)เป็นเจ้าเมืองสายผู้ไทเป็นคนสุดท้าย )
การดำเนินการและการก่อตั้งกลุ่มชื่อสกุล ศรีหลิ่ง/ศรีหริ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการจัดระเบียบหมวดหมู่ประชากรของประชากรไทยและเพื่อการระบุตัวบุคคลให้แน่นอนตามหลักสากลว่าด้วยนามสกุล ซึ่งในสมัยก่อนนั้นจะระบุตัวบุคคลด้วยการให้สมญานามต่อท้ายชื่อเช่น นายก่อบ้านเชียงยืน/ นายไหวพ่ออำแดงน้อย หรือ เกริก นากลาง เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหานี้ ร.6 มีนโยบายก่อตั้งนามสกุลขึ้น โดยออกเป็น พ.ร.บ. การขอใช้นามสกุลกันทั่วประเทศโดยออก พ.ร.บ.ตั้งแต่ 22 มี.ค.2455และมีผลบังคับใช้ในเดือน ก.คปี.พ.ศ.2456 ถ้านับแต่ชาวผู้ไทกุดสิมนารายณ์อพยพข้ามเข้ามาประเทศไทย ปี 2383 เป็นเวลา 73 ปี พอดี พวกที่อพยพมาพร้อมกับราชวงศ์(ก่อ)เมืองวังตั้งแต่ต้นถ้ามีอายุ 30 ปี จนถึงปีพ.ศ. 2456ก็จะมีอายุ 103 ปีพอดี คงเสียชีวิตกันหมดแล้ว คงเหลือแต่ลูกชายและหลานๆ ลูกชายคนโตก็อายุราวๆ 70 ปี ส่วนรุ่นหลานปู่วรเสนชัยยะ(ท้าววรเสนไชยยะ) ปู่สาน (พญาสาร) ปู่หลอยหลิ่ง (พญาหลอยหลิ่ง) อายุราวๆ 30-40ปี เป็นคนรับผิดชอบไปขอใช้และตั้งนามสกุล สันนิษฐานกันว่าตัวบุคคลที่เดินทางไปขอตั้งและใช้นามสกุลในวันนั้นควรจะเป็นบุคคลชั้นหลานของผู้ไทอพยบดังต่อไปนี้คือ ปู่ขุนเทพ1 ปู่พา1 ปู่เพชร1 ปู่แพง 1 ปู่เพ็ง1 ปู่ทองมา1 ปู่ทุม1 ปู่สิม1 ปู่นุ่น 1 ปู่เนียม1 และปู่ทิตธรรมและลูกหลายสายปู่โง๊ะ สายบ้านคำกั้งอีกจำนวนหนึ่ง(ยังไม่มีข้อมูล)
ตามหลักสากลการตั้งนามสกุลในโลกนี้มีหลายรูปแบบเช่น เอานามสกุลใว้เป็นลำดับสุดท้ายอย่างพวกยุโรปอเมริกา หรือเอาใว้ข้างหน้าอย่ง จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น แต่ของไทยให้เอานามสกุลใว้หลังสุด การตั้งชื่อสกุลก็มีจากการพระราชทาน พระราชทานจากลูกหลานเจ้าเมืองเก่า ส่วนบุคคลสามัญธรรมดาคนตัวเล็กตัวน้อยก็ตั้งจากการเล่าถึงคุณงามความดีของปู่ย่าตายายหลายชั่วโคตร ให้เสมียนอำเภอผู้มีความรู้ชำนาญการด้านภาษาไทยตั้งให้นอกจากตั้งตามความดีของบรรพบุรุษแล้วยังตั้งตามถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนแม่น้ำภูเขาที่เป็นที่ประทับใจเป็นต้นนอกจากตั้งตามความดีของบรรพบุรุษแล้วยังตั้งตามถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนแม่น้ำภูเขาที่เป็นที่ประทับใจเป็นต้น ในส่วนของทางอำเภอกุดสิมนารายณ์ การตั้งนามสกุลได้รับการสนับสนุนโดยแต่งตั้งพระเศวต เมธี ผู้เชี่ยวชาญด้าน ภาษาจากเมืองอุบลฯมาช่วยเป็นเสมียนจดแจ้งการขอใช้นามสกุลวิธีการก็คือ ให้ลูกหลานได้เล่าประวัติความดีงามเก่งกล้าสามารถของคนชั้นปูหรือปู่ทวดที่ได้ปฏิบัติมาถึง 3 ชั่วโคตร แล้วพระเศวต เมธี จะเป็นคนสรุปและคิดสร้างวาทกรรมคิดคำที่เหมาะสมให้สำหรับตั้งนามสกุลที่ดีงามเชิดชูเกียรติยศแก่บรรพบุรุษที่ลูกหลานกล่าวถึงนั้นตั้งเป็นนามสกุลใช้ต่อมายันชั้นลูกหลานในปัจจุบัน
ลูกหลานพญาปู่ทวดวรเสนไชยะ(ท้าวเสน)ไปขอจดแจ้งใช้นามสกุลเป็นกลุ่มแรกจากบ้านคำกั้ง จนท.โดยพระเศวต เมธี ตั้งนามสกุลให้เป็น “วรเสนไชยะ” ตามที่ทินนามปู่ทวดพญาเสนได้รับ แต่ครั้นเมื่อได้กลับมาถึงบ้านคำกั้งแล้วลูกหลานไม่ยอมรับเหตุอ้างว่านามสกุลยาวเกินไปยากแก่การเขียนและจดจำ จึงกลับไปขอแก้ไขใหม่ ทาง จนท. เปลี่ยนให้เป็นนามสกุล “ไชยขันธ์” จึงใช้มาจนถึงทุกวันนี้
ต่อมาในวันหลังกลุ่มลูกหลานของปู่พญาสาร และพญาหลอยหลิ่งไปขอตั้งและใช้นามสกุลบ้างเนื่องจากเวลานั้นบ่ายคล้อยจะหมดเวลาทำราชการแล้ว จนท.จึงเร่งรัดตั้งนามสกุลให้กลุ่มลูกหลานปู่พญาสาร ให้ใช้นามสกุล”วุฒิสาร”โดยเติมคำว่า”วุฒิ”นำหน้าชื่อปู่พญา”สาร”กลายเป็นนามสกุล”วุฒิสาร”ใช้มาเท่าจนถึงบัดนี้ ส่วนลูกหลานปู่ทวดพญาหลอยหลิ่งให้ใช้นามสกุลว่า”สีหลิ่ง”เพื่อเป็นเกยีรติยศศักดิ์ศรีแก่ ปู่ทวดพญา”หลอยหลิ่ง”จึงให้เติม”สี”หน้าชื่อปู่พญา”หลิ่ง”เป็นนามสกุล”สีหลิ่ง”เมื่อได้นามสกุลแล้วก็พากันเดินทางกลับบ้านคำกั้งลูกหลานกลุ่มวุฒิสารก็ล้อเลียนกลุ่มลีหลิ่งว่าถ้าหากมีคนอุตริเอาไม้โทไปใส่สีกลายเป็นสี้และลบไม้เอกและ ห หีบ ออกจาก”หลิ่ง”ก็จะเหลือแค่”ลิง”รวมกันแล้วก็จะกลายเป็น”สี้ลิง”ก็ไม่ดูดีและหัวเราะขบขันกันมาตลอดทาง จนลูกหลานปู่พญาหลอยหลิ่งบางคนกังวลและเกิดความไม่มั่นใจถึงกับหันไปขอใช้นามสกุล”ไชยขันธ์”ตามสายปู่พญาวรเสนบ้างก็มี บางคนไปขอใช้กับกลุ่ม”วุฒิสาร”ตามกลุ่มลูกหลานปู่ทวดพญาสารก็มี แต่ก็มีกลุ่มลูกหลานปู่พญาหลอยหลิ่งส่วนมากยังยึดถือนามสกุล”สีหลิ่ง – ศรีหลิ่ง ตลอดมาโดยบอกว่าเป็นคำเก่าเค้าเดิมและเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรีแก่พญาปู่หลอยหลิ่ง ต่อไป
ผู้ไทกลุ่มบ้านนองห้าง กับผู้ไทกลุ่มบ้านคำกั้งกลุ่มหนึ่งเกิดขัดใจกับเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ กรณีย้ายเมืองกุดสิมนารายณ์ไปตั้งที่ทำการอำเภอแห่งใหม่ที่ตำบลบัวขาวโดยอ้างเหตุว่าที่ตั้งเดิม บ้านกุดสิมนารายณ์แห้งแล้งขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในหน้าแล้ง แต่ผู้ไทยบางกลุ่มซึ่งสนิทชิดเชื้อกับอดีตพระยาธิเบศวงศา(กินรี)ขัดขืนไม่ยอมย้ายเพราะที่ตั้งอำเภอแห่งใหม่มีโจรผู้ร้ายพวกปล้นชุกชุม เวลาเกณฑ์แรงงานไปขุดรากถอนตอเพื่อก่อสร้างที่ว่าการอำเภอใหม่ก็จะถูกเจ้าเมืองกาฬสินธุ์กลั่นแกล้งใช้งานหนักกว่าผู้ไทกลุ่มอื่นข้อหากินใจกันอยู่ว่าผู้ไทกลุ่มนี้เป็นพวกใกล้ชิดกับพระยาธิเบธวงศา(ด้วง)ดังกล่าว ภายหลังก่อสร้างอำเภอกุดสิมนารายณ์เสร็จแล้ว กลุ่มผู้ไทลูกหลานวุฒิสาร/ศรีหลิ่งและวรรณพราหมณ์…ปรึกษากันว่าหากขืนอยู่ต่อไปอาจไม่ปลอดภัยจากการถูกกลั่นแกล้งจากคนของเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ได้ จึงมีมติเห็นชอบร่วมกันให้หาทางอพยพย้ายหาที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองใหม่ให้ไกลจากอำนาจของเจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ครั้นเมื่อปีพ.ศ. 2460 ผู้ไทยกลุ่มวุฒิสาร/ศรีหลิ่ง/วรรณพราหมณ์และอื่นๆ อีก 9 ครอบครัวล้วนเป็นเครือญาติกันจึงอพยพจากบ้านคำกั้ง บ้านกุดสิมนารายณ์ ไปตั้งบ้านใหม่ที่บ้านหนองหญ้าไซ และ มีญาติพี่น้องอพยพตามไปในภายหลังตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองไผ่พรเจริญ บ้านเลิงถ่อนและหมู่บ้านใกล้เคียงกันอีกหลายหมู่บ้าน กลายเป็นตำบลบ้านหนองหญ้าไซ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานีในที่สุด
เมื่อปีพ.ศ.2489 นาย ศรัทธา อินทรพานิช ศึกษาธิการอำเภอกุมภวาปี จ.อุดรธานี (คนผู้ไทเมืองวาริชภูมิ)ได้เดินทางไปเยี่ยมพี่น้องชาวผู้ไทยบ้านหนองหญ้าไซ พักนอนค้างคืนที่บ้านครูกิ่ง/ ครูเส็ง/ ครูอุ่น สีหลี่ง กินข้าวปลาอาหารร่วมกันและปรึกษากันว่าการเขียนนามสกุล สีหลิ่งไม่ถูกต้องตามหลักของภาษาไวยากรณ์ไทยตามหลักการสกดการันด์ในบาลีสันสกฤต ดังนั้นเพื่อให้ถูกต้องและทันสมัยตามนโยบายจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงเห็นควรเปลี่ยนการเขียนนามสกุลจาก” สีหลิ่ง”เป็น “ศรีหริ่ง”พวกญาติพี่น้องได้ประชุมเห็นดีเห็นงามด้วยกันจึงเปลี่ยนการเขียนนามสกุลเป็น”ศรีหริ่ง”ตั้งแต่นั้นมาจน
 
== วัฒนธรรม ==