ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมณะโพธิรักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Beermtg (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Beermtg (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
นายรักษ์เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2477 มีพี่น้องหกคน ตนเป็นคนลูกคนโต บิดาเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก และได้ย้ายตามมารดามาประกอบอาชีพค้าขายที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพฯ ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง แผนกวิจิตรศิลป์ เมื่อเรียนจบได้เข้าทำงานที่ บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด เป็นผู้จัดรายการเด็ก รายการการศึกษา และเป็นครูพิเศษสอนศิลปะตามโรงเรียน เมื่อมารดาถึงแก่กรรมก็ได้รับภาระเลี้ยงดูน้องหกคน
 
นายรักษ์บวชในคณะ ธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้รับฉายาว่า "พระโพธิรักขิโต" มี พระราชวรคุณ เป็นอุปัชฌาย์ เมื่อได้บวชในพุทธศาสนาแล้วก็ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สงบสำรวม เป็นที่ศรัทธา เลื่อมใส จนมีผู้มาขอศึกษาปฏิบัติตามทั้งฆราวาส และนักบวชจากคณะธรรมยุตและมหานิกาย ต่อมาพระราชวรคุณ ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ ไม่ต้องการให้พระฝ่ายมหานิกาย มาศึกษาอยู่ร่วมด้วย พระโพธิรักษ์ จึงเข้ารับการสวดญัตติฯ เป็นพระของคณะมหานิกาย อีกคณะหนึ่ง โดยมิได้สึกจาก คณะธรรมยุต ที่วัดหนองกระทุ่ม จ.นครปฐม โดยมีพระครูสถิตวุฒิคุณ เป็นอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖
นายรักษ์บวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนาเมื่อปี 2513 ที่วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ในฝ่ายธรรมยุตนิกาย แต่เพราะไม่ประพฤติตามโอวาทของพระอุปัชฌาย์ ในปี 2516 พระอุปัชฌาย์ได้ขอหนังสือสุทธิมาบันทึกว่า ไม่รับปกครอง พระรักษ์จึงได้เข้าสังกัดในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายที่วัดหนองกระทุ่ม ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
 
เนื่องจากพระรักษ์ประพฤติผิดพระธรรมวินัยหลายประการ คณะสงฆ์จึงเสนอเรื่องต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2525 มหาเถรสมาคมได้ตั้งคณะทำงานขึ้นสามคณะ คือ คณะทำงานด้านธรรมวินัย คณะทำงานด้านกฎหมาย คณะทำงานด้านมวลชน เพื่อสืบหาข้อเท็จจริง คณะทำงานด้านพระธรรมวินัยมีความเห็นว่า พระรักษ์ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ส่วนคณะทำงานด้านกฎหมายมีความเห็นว่า พระรักษ์ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ต่อมา ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้ตั้งคณะการกสงฆ์เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอต่อมหาเถรสมาคม คณะการกสงฆ์ได้ประชุมกันโดยมี [[สมเด็จพระธีรญาณมุนี|สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกมหาเถระ)]] วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร เป็นประธาน คณะการกสงฆ์ได้มีมติสี่ประการ คือ (1) ให้มหาเถรสมาคมใช้อำนาจตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 โดยสั่งให้พระรักษ์สละสมณเพศ (2) บริวารของพระรักษ์ซึ่งเข้าบวชโดยไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ถ้าต้องการจะบวชให้ถูกต้อง ก็ให้มารายงานตัวต่อสังฆาธิการระดับเจ้าคณะจังหวัดผู้เป็นการกสงฆ์ขึ้นไป (3) ให้ประกาศนียกรรมแก่พุทธบริษัทให้ทราบข้อเท็จจริงโดยทั่วกัน และ (4) ให้กรมการศาสนาแจ้งแก่ภิกษุสามเณรทั่วราชอาณาจักรให้ทราบข้อเท็จจริงและมิให้คบหาสมาคมพระรักษ์และบริวาร