ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมณะโพธิรักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Beermtg (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Beermtg (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
{{ wikisource | 1 = คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๖๙๙-๓๗๓๙/๒๕๔๑ | 2 = คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699-3739/2541 (คดีสังฆเภท) }}
 
'''นายรักษ์ รักษ์พงษ์''' หรือเรียกตัวเองว่า '''สมณะโพธิรักษ์''' เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิอโศกโดยอ้างว่าเป็นลัทธิใหม่ของพุทธศาสนา และก่อตั้งสถานปฏิบัติลัทธิธรรมตามความเชื่อดังกล่าว ชื่อ "[[สันติอโศก]]" กับทั้งเป็นจำเลยในคดีโด่งดังใน พ.ศ. 2541 ซึ่งเรียก "คดีสังฆเภท"
 
นายรักษ์เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2477 มีพี่น้องหกคน ตนเป็นคนใหญ่สุดลูกคนโต บิดาเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก และได้ย้ายตามมารดามาประกอบอาชีพค้าขายที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพฯ ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง แผนกวิจิตรศิลป์ เมื่อเรียนจบได้เข้าทำงานที่ บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด เป็นผู้จัดรายการเด็ก รายการการศึกษา และเป็นครูพิเศษสอนศิลปะตามโรงเรียน เมื่อมารดาถึงแก่กรรมก็ได้รับภาระเลี้ยงดูน้องหกคน
 
นายรักษ์บวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนาเมื่อปี 2513 ที่วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ในฝ่ายธรรมยุตนิกาย แต่เพราะไม่ประพฤติตามโอวาทของพระอุปัชฌาย์ ในปี 2516 พระอุปัชฌาย์ได้ขอหนังสือสุทธิมาบันทึกว่า ไม่รับปกครอง พระรักษ์จึงได้เข้าสังกัดในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายที่วัดหนองกระทุ่ม ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
บรรทัด 15:
มติของการกสงฆ์ดังกล่าว มหาเถรสมาคมพิจารณาแล้วเห็นชอบ แต่สำหรับมติประการแรกได้หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตอบกลับมาว่า มหาเถรสมาคมใช้อำนาจตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้ ต่อมา [[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราช|สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก]] ในฐานะประธานมหาเถรสมาคม ได้มีคำสั่งให้พระรักษ์สละสมณเพศภายในเจ็ดวัน
 
ในวันที่ 10 มิถุนายน 2532 [[เสนาะ พ่วงภิญโญ]] รองอธิบดีกรมการศาสนาได้นำคำสั่งไปให้พระรักษ์ทราบที่สำนักสันติอโศก พระรักษ์ไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำสั่ง รองอธิบดีกรมการศาสนาจึงร้องทุกข์ไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลลาดพร้าว กรมตำรวจแต่งตั้ง[[วิโรจน์ เปาอินทร์|พลตำรวจตรี วิโรจน์ เปาอินทร์]] เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน และ[[พิศาล มูลศาสตร์สาทร]] ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น ได้สั่งให้จับกุมพระรักษ์และพวกทั้งหมด รวม 105 คน ในวันที่ 8 สิงหาคม 2532 พนักงานสอบสวนจับกุม แจ้งข้อหา และสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการได้ฟ้องเป็นจำเลยจำนวน 80 คดี ศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษาว่า จำเลยที่ 1-79 มีความผิดเกี่ยวกับศาสนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 (ไม่ใช่ภิกษุสงฆ์ บังอาจแต่งกายอย่างภิกษุสงฆ์ เพื่อล่อลวงให้คนอื่นเชื่อว่าเป็นภิกษุสงฆ์) และให้จำคุกคนละ 3 เดือน ส่วนจำเลยที่ 80 คือ พระรักษ์ สนับสนุนให้จำเลยที่คนอื่น ๆ กระทำผิดดังกล่าวจำนวน 33 กระทง พิพากษาลงโทษจำคุกเรียงกระทง กระทงละ 2 เดือน รวมเป็นจำคุก 66 เดือน ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องจำเลยบางคน โทษจำเลยที่ 80 จึงลดลงเป็นจำคุก 54 เดือน แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี และศาลฎีกาพิพากษายืน โดยศาลฎีกาวินิจฉัยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2541 ว่า
 
<blockquote>"จำเลยที่ 80 ได้บวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกาย...และ...ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกาย แสดงว่า จำเลยที่ 80 ได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วงเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 80 ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ ไม่ปรากฏว่า จำเลยทุกคนถูกกลั่นแกล้งจากใครอย่างไรและถึงขนาดไม่อาจปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่า...ไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตนให้มีผลประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้ การประกาศของจำเลยที่ 80 กับพวกดังกล่าวจึงไม่ทำให้จำเลยที่ 80 กับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 การที่ภิกษุสงฆ์นักบวชไม่อนุวัตปฏิบัติตามกฎหมายกลับมีผลเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นดังเช่นที่ปรากฏในคดีนี้"</blockquote>