ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประยงค์ ชื่นเย็น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 64:
[[หมวดหมู่:อาจารย์คณะดุริยางค์-ดนตรี]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยที่เกิดในต่างประเทศ]]
ประวัติการศึกษา
 
พ.ศ. ๒๔๙๗ ศึกษาระดับชั้นประถมปีที่ ๑ ที่โรงเรียนบ้านระเภาว์ แล้วมาศึกษาต่อชั้นประถมปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดสามัคคี ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
พ.ศ. ๒๕๐๕ เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่ โรงเรียนการช่างบุรีรัมย์ (โรงเรียนช่างไม้เดิม) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. ๒๕๑๐ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนการช่างบุรีรัมย์ ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
 
[แก้ไข] ประวัติการทำงาน
 
นายประยงค์ ชื่นเย็น เริ่มเข้าสู่วงการเพลงไทยลูกทุ่งและเพลงไทยสากล ปลายปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ในตำแหน่งนักดนตรีประจำวง ทำหน้าที่ปฏิบัติเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง (ทรัมเป็ท) โดยการชักนำของ เด่น บุรีรัมย์ (เด่น สมานมิตร) และ แดน บุรีรัมย์ (บุญชื่น บุญเกิดรัมย์) โดยได้มีโอกาสเข้าสังกัดวงดนตรีลูกทุ่ง “รวมดาวกระจาย” ของ ครูสำเนียง ม่วงทอง ต่อมาได้ย้ายมาอยู่กับวงดนตรีลูกทุ่ง “สุรพัฒน์” โดยมี ชลธี ธารทอง เป็นหัวหน้าวง (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง) จากนั้นได้ย้ายมาสังกัดวงดนตรีลูกทุ่ง “ผ่องศรี วรนุช” (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง) และย้ายมาสังกัดวงดนตรีลูกทุ่ง “เพลิน พรมแดน” จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ จึงได้ออกมาทำงานประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสานอิสระ ประเภทบทเพลงไทยลูกทุ่ง - เพลงไทยสากล และผู้ควบคุมการบรรเลงวงดนตรีลูกทุ่ง ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชาการเรียบเรียงเสียงประสาน การประพันธ์ และทฤษฏีดนตรีสากล ประจำสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
[แก้ไข] การสร้างสรรค์ผลงานและเผยแพร่ดนตรีต่อสาธารณชนภายในประเทศและต่างประเทศ
[แก้ไข] ผลงานการประพันธ์
 
พ.ศ. ๒๕๑๙ - เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงแม่ยก ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย สนิท มโนรัตน์ ขับร้องโดย ผ่องศรี วรนุช
พ.ศ. ๒๕๒๐ - เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงอาลัยนักรบ ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย ชลธี ธารทอง ขับร้องโดย ดาวใต้ เมืองตรัง - เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงหนุ่มนารอนาง ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย สนิท มโนรัตน์ ขับร้องโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
พ.ศ. ๒๕๒๓ - เรียบเรียงเสียงประสานและควบคุมการบรรเลง ในงานประกาศผลรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. ๒๕๒๔ - เรียบเรียงเสียงประสานเพลงอีสาวทรานซิสเตอร์ ในงาน First Asian Song Festival I มหกรรมเพลงเอเชียน ครั้งที่ ๑ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย
พ.ศ. ๒๕๒๕ - เรียบเรียงเสียงประสานเพลงข้อยเว้าแม่นบ่ ในงาน First Asian Song Festival II มหกรรมเพลงอาเชียน ครั้งที่ ๒ ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย - เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงข้อยเว้าแม่นบ่ ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย จำนง เป็นสุข ขับร้องโดย นันทิดา แก้วบัวสาย - เรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงอีสาวทรานซิสเตอร์ ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย ชลธี ธารทอง ขับร้องโดย อ้อยทิพย์ ปัญญาธร - เรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงเกียรติศักดิ์นักรบไทย ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย ประจักษ์ สิทธิกรทวีชัย
พ.ศ. ๒๕๓๑ - ควบคุมการบรรเลงดนตรี การประกวดการขับร้องเพลงลูกทุ่ง รอบชิงชนะเลิศ ในรายการชุมทางคนเด่น ทางสถานีไทยทีวีสี ช่อง 3
พ.ศ. ๒๕๓๒ - ประสานงานวงดนตรีเพื่อบันทึกแผ่นเสียงเก็บไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป และควบคุมการบรรเลงวงดนตรี ในงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ครั้งที่ ๑ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๓๒ - เรียบเรียงเสียงประสาน บทเพลงมาร์ชบุรีรัมย์ รำวงบุรีรัมย์ รำวงพนมรุ้ง ให้กับจังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาได้ทำเพลงเพิ่มรวมเป็นชุด “บุรีรัมย์ของเรา” - เรียบเรียงเสียงประสาน บทเพลงมาร์ชวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ รำวงเทคนิคบุรีรัมย์ ใต้ต้นอินทนิน ให้กับวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
พ.ศ. ๒๕๓๓ - ประสานงานนักร้อง นักดนตรี ผู้ประพันธ์เพลง เรียบเรียงเสียงประสานในงาน “เพลงเทิดพระเกียรติสดุดีสมเด็จพระศรีนครรินทรา บรมราชชนนี (สมเด็จย่าฯ) ในโอกาสที่เจริญพระชนมายุ ๙๐ พรรษา” วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๓ ทั้งเพลงไทยสากล และเพลงไทยลูกทุ่ง จัดโดยกองทัพบก
พ.ศ. ๒๕๓๔ - เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีพิเศษยอดเยี่ยม เพลงส้มตำ เป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทำนองเดิมขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ และสุนารี ราชสีมา - เรียบเรียงเสียงประสานเพลงส้มตำ เพื่อบันทึกแผ่นเสียงเก็บไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป ประสานงานนักร้อง นักดนตรี ลิขสิทธิ์เพลง ควบคุมการบรรเลงดนตรีการแสดง ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จทอดพระเนตร ในงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ภาค ๒ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๔ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๕ - เรียบเรียบเสียงประสานดนตรี เพลงเฉลิมพระเกียรติสดุดีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสานงานนักร้อง นักดนตรี ผู้ประพันธ์เพลง ทั้งเพลงไทยสากลและเพลงไทยลูกทุ่ง เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ จัดโดยกองทัพบก
พ.ศ. ๒๕๓๖ - ประพันธ์ทำนองเพลงชุด “พนมรุ้งมหาเทวาลัย” ในบทเพลงจังหวัดบุรีรัมย์ ประสานงานนักร้อง นักดนตรี จัดโดยจังหวัดบุรีรัมย์
 
พ.ศ. ๒๕๓๗ - เรียบเรียงเสียงประสานดนตรี เพลงเพ็ญจันทร์ และเพลงพลบค่ำ บทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขับร้องโดยสุนารี ราชสีมา และโอภาส ทศพร เพื่อบันทึกแผ่นเสียงเก็บไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติสืบไป ประสานงานนักร้อง นักดนตรี ลิขสิทธิ์เพลง และควบคุมการบรรเลงดนตรีการแสดง ในงาน “กิ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งสืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย” ณ ห้องประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๓๗
 
พ.ศ. ๒๕๔๒ - เรียบเรียงเสียง ประสานดนตรี เพลงแดร็กคูล่าผู้น่ารัก บทเพลงพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกรุมารี ขับร้องโดย ฝน ธนสุนทร เพื่อบันทึกแผ่นเสียง เก็บไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมชาติสืบไป ประสานงาน นักร้อง นักดนตรี ลิขสิทธิ์เพลง และควบคุมการบรรเลงดนตรี การแสดง เนื่องในงาน ๖๐ ปี เล่าขานตำนานลูกทุ่งไทย เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๒
พ.ศ. ๒๕๔๓ - เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงเทพธิดาพยาบาทประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย ประจักษ์ สิทธิกรทวีชัย ขับร้องโดย ยอดรัก สลักใจ - เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงฝากใจไปอุบล ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย ดอย อินทนนท์ ขับร้องโดย สิทธิพร สุนทรพจน์ - เรียบเรียงเสียงประสาน ประสานงาน ควบคุมการบรรเลงวงดนตรี ในงาน “มนต์เพลงครูไพบูลย์ บุตรขัน” วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๓ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกับ บริษัทเมโทรแผ่นเสียงเทป (๑๙๘๑) จำกัด
พ.ศ. ๒๕๔๗ - เรียบเรียบเสียงประสานดนตรี เพลงบุญของคนไทย คำร้อง-ทำนอง ชลธี ธารทอง ขับร้องโดย ลูกทุ่งหญิง-ชาย จำนวน ๖๐ คน เพื่อบันทึกแผ่นเสียงเก็บไว้เป็น มรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป ประสานงานนักร้อง นักดนตรี ลิขสิทธิ์เพลง และควบคุมการบรรเลงดนตรี การแสดง เนื่องในงาน “เพลงเฉลิมพระเกียรติสดุดีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ” ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ จัดโดยสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๙ - ได้รับรางวัลมาลัยทอง ในฐานะเรียบเรียงเสียงประสานดนตรียอดเยี่ยม ต้นฉบับเดิม เพลงใครคนหนึ่ง ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย สุชาติ เทียนทอง ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ - ได้รับรางวัลมาลัยทอง ในการเรียบเรียงเสียงประสานดนตรียอดเยี่ยม เพลงเก่าทำใหม่ยอดเยี่ยม เพลงใครคนหนึ่ง ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย สุชาติ เทียนทอง ขับร้องโดย ช่อเพชร พวงทอง - เรียบเรียบเสียงประสานดนตรีและควบคุมการขับร้อง เพลง ๖๐ ปี ศรีเมืองสยาม ประพันธ์คำร้อง-ทำนอง โดย วิเชียร คำเจริญ (ลพ บุรีรัตน์) ขับร้องโดย ศิลปินลูกทุ่งทุกค่ายเพลง จัดโดยสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๐ - เรียบเรียบเสียงประสานดนตรี เพื่อผลิตและบันทึกแผ่นเสียงและทำสำเนาซีดีเพลงเก็บไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป ประสานงานนักร้อง นักดนตรี ลิขสิทธิ์เพลง และควบคุมการบรรเลงดนตรี การแสดง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ในโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ครูเพลง” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
 
[แก้ไข] ผลงานทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม
 
พ.ศ. ๒๕๒๖ - เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมการบรรเลงวงดนตรี ประสานนักร้อง เพื่อสนับสนุน โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๒๗ - เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี ประสานนักร้อง เนื่องในงาน “วันดนตรีเพื่อชนบท” หารายได้ช่วยเหลือ กองกำลังทหารพราน กองทัพภาคที่ 1 จัดโดย กองทัพบก กระทรวงกลาโหม
พ.ศ. ๒๕๒๘ - เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี ประสานนักร้อง เนื่องในงาน “วันดนตรีเพื่อเด็กพิการ” หารายได้ช่วยเหลือ เด็กพิการทั่วประเทศ จัดโดย กองทัพบก กระทรวงกลาโหม
พ.ศ. ๒๕๒๙ - เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี ประสานนักร้อง เนื่องในงาน “วันดนตรีเพื่อเด็กพิการ” ครั้งที่ 2 หารายได้ช่วยเหลือ เด็กพิการทั่วประเทศ จัดโดย กองทัพบก กระทรวงกลาโหม
พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นคณะอนุกรรมการดำเนินการส่งเสริมศิลปิน โดยการจัด “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย” (เพิ่มเติม)
พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นคณะอนุกรรมการดำเนินการจัดงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค ๒” และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อดำเนินการดำเนินการจัดประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทย รอบชิงชนะเลิศการสร้างสรรค์และเผยแพร่การแสดงต่อสาธารณชนในประเทศและต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๓๗ - เป็นคณะอนุกรรมการคัดเลือกเพลงลูกทุ่งดีเด่นที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจดำเนินการจัดงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง…สืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย” - เรียบเรียงเสียงประสาน ประสานนักร้อง นักดนตรี จัดทำเพลงชุด “สายสัมพันธ์สามัญศึกษา” เพื่อหารายได้สนับสนุนกิจกรรมของกรมสามัญศึกษา และช่วยเหลือครอบครัวของครูที่เสียชีวิตจากเหตุตึกถล่ม ที่โคราช จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อดำเนินการจัดงานส่งเสริมเพลงลูกทุ่งดีเด่น ที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย
พ.ศ. ๒๕๔๑ ร่วมสร้างสรรค์บทเพลงวันครู ชุด “เทิดพระเกียรติวันครู” และร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินประกวดเพลงวันครู วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๑
พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน “(๖๐ ปี เล่าขานตำนานลูกทุ่งไทย”
พ.ศ. ๒๕๔๓ เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี ประสานนักร้อง และเชิญชวน ประจวบ จำปาทอง และ พนม นพพร จัดงาน “มหกรรมเพลง ครูมงคล อมาตยกุล” หารายได้เข้ากอง กองทุนส่งเสริมวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๓
พ.ศ. ๒๕๔๔ เรียบเรียงประสาน ประสานนักร้อง นักดนตรี ในการจัดทำบทเพลง ชุด “เรารักกรุงเทพมหานคร” เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กรุงเทพมหานคร ๒๙ ปี
พ.ศ. ๒๕๔๗ - ปัจจุบัน เป็นอาจารย์พิเศษสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสงคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
พ.ศ. ๒๕๔๙ - เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการตัดสิน ประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง รอบชิงชนะเลิศ ในงานประจำปีและงานกาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ ณ ร้านเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ - เป็นคณะกรรมการตัดสิน การประกวดวงดนตรีเยาวชนยามาฮ่า ลูกทุ่งคอนเทสต์ ครั้งที่ ๖ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีพุทธศักราช 2549 โดย บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม - เป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำแหน่งอุปนายก ฝ่ายวัฒนธรรม - เป็นกรรมการที่ปรึกษา ฝ่ายบริหาร สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย - เป็นกรรมการบริหารสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทยตำแหน่งอุปนายกฝ่ายบริหาร - เป็นกรรมการบริหารสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพมหานคร
 
- เป็นกรรมการบริหาร สมัชชาศิลปิน กระทรวงวัฒนธรรม ตำแหน่งฝ่ายดนตรี
 
พ.ศ. ๒๕๕๐ - เป็นวิทยากรถ่ายทอดผลงานภูมิปัญญา ในกิจกรรม “ค่ายครูเพลง” ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐ - เป็นคณะอนุกรรมการจัดประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย และอนุกรรมการจัดทำความพร้อมของเพลงเพื่อการประกวด รอบชิงชนะเลิศ ประจำปี ๒๕๕๐ - เป็นคณะกรรมการฝ่ายตัดสินการประกวดบทเพลง ตามโครงการประชาสัมพันธ์การพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จังหวัดบุรีรัมย์ - เป็นคณะกรรมการสมัชชาศิลปิน ชุดที่ ๓ ฝ่ายดนตรี โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม - เป็นคณะอนุกรรมการดำเนินการแข่งขันทักษะวิชาชีพโรงเรียนเอกชน
 
นอกระบบ ประเภทขับร้องเพลง โดย สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน - เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดยุวชนไทยลูกทุ่ง ประเภทนักร้องและหางเครื่อง ครั้งที่ ๘ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ โดย บริษัท เสรีเซ็นเตอร์เมเนจเมนท์ จำกัด ร่วมกับ สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ - เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดวงดนตรีคอมโบ้ พร้อมหางเครื่อง ครั้งที่ ๒ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ณ เวทีลานวัฒนธรรมเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ - เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงไทยลูกทุ่ง ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยสำนักงานเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี - เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยสำนักงานเทศบาลตำบลผักไห่ จังหวัดนนทบุรี
 
พ.ศ. ๒๕๕๑ - เป็นวิทยากรสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “นิยามและการจำแนกเพลงไทยสากล” วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุมชั้น ๑๕ อาคาร ๑๐๐ ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร - เป็นคณะกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะดนตรีของนักเรียนโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ประจำปี ๒๕๕๑ ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ โดยสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร - เป็นคณะอนุกรรมการดำเนินการแข่งขันทักษะดนตรี ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ณ โรงเรียนดนตรีสยามกลการ เอ็มโพเรียม และโรงเรียนดนตรีสยามกลการ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร - เป็นวิทยากรเสวนาเรื่อง “สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน สู่การขับขานเพลงไทยลูกทุ่ง” วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น ๔ อาคารตรีศร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช กรุงเทพมหานคร
 
พ.ศ. ๒๕๕๒ - เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงพระราชนิพนธ์และเพลงไทยลูกทุ่ง ประจำปี ๒๕๕๒ ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ และวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ หัวถนนแจ้งวัฒนะ ท่าน้ำปากเกร็ด ใต้สะพานพระราม ๔ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดย สำนักงานเทศบาลนครปากเกร็ด นนทบุรี - เป็นคณะกรรมการตัดสินประกวดบทเพลงสานรักสามัคคี ประเภทบทเพลงไทยสากลและบทเพลงไทยลูกทุ่ง โดย กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร - เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๒ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี นนทบุรี จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร
 
[แก้ไข] รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ
 
๑. พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำ จากสถานีวิทยุเสียงสามยอด (ส.ส.ส.) จำนวน ๒ รางวัลในฐานะผู้เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงแม่ยก ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย สนิท มโนรัตน์ ขับร้องโดย ชาย เมืองสิงห์ และผ่องศรี วรนุช และวงดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม
 
๒. พ.ศ. ๒๕๒๐ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน และเข็มทองคำพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะ - เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงอาลัยนักรบ ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย ชลธี ธารทอง ขับร้องโดย ดาวใต้ เมืองตรัง - วงดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงหนุ่มนารอนาง ประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย สนิท มโนรัตน์ ขับร้องโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
 
๓. พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะ- เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยสากลยอดเยี่ยม เพลงปั้นดินให้เป็นดาวประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย ทวีพงษ์ มณีนิล ขับร้องโดย ธานินทร์ อินทรเทพ - วงดนตรีเพลงไทยสากลยอด เพลงปั้นดินให้เป็นดาว - เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงรางวัลนักรบประพันธ์คำร้อง-ทำนองโดย วิเชียร คำเจริญ ขับร้องโดย ยอดรัก สลักใจ - วงดนตรีลูกทุ่งไทยยอดเยี่ยม เพลงรางวัลนักรบ - โล่เกียรติยศ นักเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยลูกทุ่งตัวอย่าง
 
๔. พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาด เนื่องในงานกาชาด ที่สวนอัมพร จากหน้าที่ ประสานนักร้อง นักดนตรี ติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๙
 
๕. พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับเข็มหรือแหนบรูปกระเป๋า กระสุนกันชีพ เครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็ก ซึ่งเป็นที่ระลึกส่วนพระองค์ เนื่องในงานราชวัลลภ วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๙
 
๖. พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัลเข็มทอง สธ. พระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะนักเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีพิเศษยอดเยี่ยม บทเพลงส้มตำ ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์
 
๗. พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แขนงเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม ในเพลง เทพธิดาพยาบาท ประพันธ์คำร้อง-ทำนอง โดย ประจักษ์ สิทธิกรทวีชัย ขับร้องโดย ยอดรัก สลักใจ
 
๘. พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับรางวัลมาลัยทอง ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานดนตรียอดเยี่ยม จากเพลง “ฝากใจไปอุบล” ประพันธ์คำร้อง - ทำนองโดย ดอย อินทนนท์ ขับร้องโดย สิทธิพร สุนทรพจน์ จัดโดย บริษัท ลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. จำกัด
 
๙. พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติ จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ควบคุมวงดนตรี เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ งานคอนเสิร์ตการกุศล “เพลินเพลงพระราชนิพนธ์ เฉลิมพระเกียรติ” สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงเสด็จทอดพระเนตรด้วย ณ เดอะมอล์บางกะปิ กรุงเทพมหานคร
 
๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับโล่เกียรติคุณร่วมให้การสนับสนุนโครงการกิจกรรม “คนรุ่นใหม่ห่างไกลยาเสพติด” จัดโดย กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๖
 
๑๑. พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับโล่เกียรติคุณ จากสถาบันพระปกเกล้า ในฐานะผู้เรียบเรียงเสียงประสานดนตรี และควบคุมการบันทึกเสียง เพลงสถาบันพระปกเกล้า
 
๑๒. พ.ศ. ๒๕๔๙- ๕๐ ได้รับรางวัลมาลัยทอง ประเภทเพลงเก่าทำใหม่ยอดเยี่ยม (นักร้องหญิง) เรียบเรียงเสียงประสานดนตรีต้นฉบับเดิม ในเพลงใครคนหนึ่ง ประพันธ์คำร้อง - ทำนองโดย สุชาติ เทียนทอง ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ และขับร้องโดย ช่อเพชร พวงทอง จัดโดย บริษัท ลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. จำกัด
 
๑๓. พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับการยกย่องประกาศเกียรติคุณ รางวัลเพชรสยาม ครั้งที่ 3 สาขาดนตรี นาฏศิลป์ และนันทนาการ ด้านดนตรีลูกทุ่ง (เรียบเรียงเสียงประสาน) เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๒ รับรางวัลพระเกี้ยวเกียรติยศ ด้านผู้เสียสละและทำคุณประโยชน์ให้แก่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โดยนายอมรรัตน์ ปิ่นเงิน ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
 
นายประยงค์ ชื่นเย็น มีความรัก ความผูกพัน และมีความภาคภูมิใจในอาชีพ และผลงานที่ได้สร้างสรรค์ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนที่รักในบทเพลงลูกทุ่งไทย ซึ่งถือว่าเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของคนไทยที่ควรดำรงไว้ บั้นปลายชีวิต นายประยงค์ ชื่นเย็น ขออุทิศตน ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถที่สั่งสมมาช้านาน ให้กับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดนตรีทุกประเภทตลอดจนกว่าชีวิตจะหาไม่
[แก้ไข] คำประกาศเกียรติคุณ
 
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง-ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน)
 
นายประยงค์ ชื่นเย็น ปัจจุบันอายุ ๖๓ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช๒๔๘๙ ที่จังหวัดพระตะบอง สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนการช่างบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ศึกษาดนตรีที่โรงเรียนดนตรีสยามกลการสุขุมวิท ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาดนตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
 
นายประยงค์ ชื่นเย็น มีผลงานและประสบการณ์ด้านดนตรีมาอย่างยาวนานกว่า ๔๐ ปี เริ่มเข้าวงการเพลงโดยเป็นนักดนตรีเป่าทรัมเป็ท อยู่กับวงดนตรีรวมดาวกระจาย ๒๕๑๐ ต่อมามาอยู่กับวงดนตรีสุรพัฒน์ ผ่องศรี วรนุช และเพลิน พรหมแดน พ.ศ. ๒๕๑๙ - ปัจจุบัน ออกมาทำงานประพันธ์เพลง ควบคุมการบรรเลงเพลงวงดนตรีไทยลูกทุ่งและไทยสากล ผู้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงทุกรูปแบบ ผลงานเรียบเรียงเสียงประสานและบันทึกแผ่นเสียงเพลงแรก คือ เพลงหนาวอีกปี ต่อมาได้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงมากมาย จำนวน ๓,๐๐๐ กว่าเพลง เช่น อาตี๋สักมังกร อาจารย์ใบ้หวย คึกลิดคิดลึก ห่างหน่อยถอยนิด หัวใจถวายวัด สาวเพชรบุรี จากแนวหน้า ล่องเรือหารัก ทหารเรือมาแล้ว กำนันกำใน ฯลฯ และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่ เพลงส้มตำ เพลงแดร็กคูล่าผู้น่ารัก เพลงเพ็ญจันทร์ เพลงพลบค่ำ ได้เริ่มนำเอาเครื่องดนตรีไทยหลายชนิดมาบรรเลงผสมกับเครื่องดนตรีสากล เพื่อให้ดนตรีลูกทุ่งได้เผยแพร่สู่สากลจนเป็นที่ยอมรับของนักฟังเพลงทั่วโลก อย่างเช่น เทพธิดาผ้าซิ่น อีสาวทรานซิสเตอร์ ผลงานเพลงแม่ยก อาลัยนักรบ และหนุ่มรอนาง ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำ ในฐานะเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม และวงดนตรีเพลงไทยลุกทุ่งยอดเยี่ยม เพลงปั้นดินให้เป็นดาว ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีเพลงไทยสากลยอดเยี่ยม และวงดนตรีเพลงไทยสากลยอดเยี่ยม เพลงรางวัลนักรบ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะเพลงไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม และวงดนตรีไทยลูกทุ่งยอดเยี่ยม และได้รับโล่เกียรติยศ ในฐานะเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยลูกทุ่งตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังประพันธ์เพลง อาจารย์พิเศษสอน วิทยากรบรรยาย กรรมการตัดสินทางด้านดนตรีให้กับสถาบันต่าง ๆ และเป็นอาจารย์พิเศษสอนดนตรีให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์โดยไม่รับค่าตอบแทน เพราะต้องการให้บุคคลในถิ่นฐานบ้านเกิดได้มีความรู้ด้านดนตรี
 
นายประยงค์ ชื่นเย็น จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง-ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน) พุทธศักราช ๒๕๕๒