ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาเวียร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
ในปัจจุบัน คาเวียร์ที่มีชื่อเสียง จะมาจากฝั่ง[[ทะเลสาบแคสเปียน]] ในแถบ[[อาเซอร์ไบจัน]], [[อิหร่าน]] และ [[ประเทศรัสเซีย|รัสเซีย]] คาเวียร์มีหลายประเภทและหลายสี โดยคาเวียร์สีทอง ที่มาจาก[[Acipenser ruthenus|ปลาสเตอร์เลต]] (Sterlet, [[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: ''Acipenser ruthenus'') เป็นคาเวียร์ที่หายาก นิยมรับประทานกันในหมู่กษัตริย์และบุคคลชั้นสูง โดยในปัจจุบันคาเวียร์ชนิดนี้แทบจะหาไม่ได้เนื่องจากมีการล่ามากจนเกินไป และทำให้เกิดการสูญพันธุ์
 
ในสมัยอดีต เมื่อเด็กป่วยเป็น[[หวัด]] แม่ที่ฐานะดีจะให้ลูกกินคาเวียร์จนหายเป็นปกติ ชนชั้นสูงในรัสเซียก็นิยมกินคาเวียร์ เพราะเชื่อว่าเป็นอาหารอายุวัฒนะ และชาวโรมันนิยมบริโภคคาเวียร์เป็นยา เมื่อครั้งที่[[พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1|พระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย]] เสด็จเยือน[[ฝรั่งเศส]] พระองค์ทรงประทานคาเวียร์เป็นราชของขวัญแด่[[จักรพรรดินโปเลียน]] เพราะในฝรั่งเศสคาเวียร์เป็นของหายาก และเมื่อ จักรพรรดินโปเลียนทรงปราชัยในสงครามกับรัสเซีย ความนิยมกินคาเวียร์ก็ได้แพร่เข้าสู่ยุโรปโดยใช้เส้นทางจากรัสเซียผ่านเมือง[[Hamburg|ฮัมบูร์ก]] ใน[[เยอรมนี]]
 
โดยแหล่งที่ขึ้นชื่อว่ามีปลาสเตอร์เจียนชุกชุม คือ[[ทะเลสาบแคสเปียน]] ในอดีตเคยอาศัยอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ให้ชาวประมงรัสเซียได้จับกันเป็นจำนวนมาก จนทำให้ปลาลดจำนวนลงมาก รัฐบาลรัสเซียจึงต้องออกกฎหมายห้ามจับโดยเด็ดขาด และส่ง[[เฮลิคอปเตอร์]]ออกตรวจจับผู้ที่จับปลาที่ทำผิดกฎหมาย ซึ่งถ้าพบว่าชาวประมงคนใดจับปลาสเตอร์เจียนโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถูกส่งไปลงโทษจับปลาต่อที่[[ไซบีเรีย]] แต่เมื่อ[[สหภาพโซเวียต]]ล่มสลายชาวประมงรัสเซียก็ได้ออกมาจับปลาสเตอร์เจียนอีก และถือว่าโชคดีถ้าใครจับปลาสเตอร์เจียนที่มีไข่ได้ เพราะปลาหนึ่งตัวอาจมีไข่ในท้องถึง 50 กิโลกรัม เพียงพอจะทำให้คนที่จับมีฐานะขึ้นมาได้ และนอกจากจะขายไข่ได้ในราคาดีแล้ว เนื้อปลาเองก็อาจขายได้ราคางามถึงปอนด์ละ 900 ดอลลาร์ขึ้นไปด้วย ในเวลาต่อมา เหตุเพราะปลาสเตอร์เจียน ถูกจับไปเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ดังนั้นรัฐบาลรัสเซียจึงจัดตั้งศูนย์เลี้ยงปลาสเตอร์เจียนขึ้นที่ เมือง[[Astrakhan|แอสทราคาน]] ส่วนที่[[คาซัคสถาน]] นั้นก็มีศูนย์ประมง ซึ่งมีบริษัทคาเวียร์ Caviar Houseเฮ้าส์ & Premierพรีเมียร์ ที่เป็นผู้ดูแล โดยมีเลี้ยงปลาสเตอร์เจียน มากถึง 160,000 ตัว
สำหรับ[[ประเทศอิหร่าน]]นั้น ตั้งแต่ปี [[ค.ศ. 1957]] เป็นต้นมา ได้มีการทำฟาร์มเลี้ยงปลาสเตอร์เจียน เนื่องจาก[[พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี |พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน]] เคยทรงดำริจะมีฟาร์มเลี้ยงปลาสเตอร์เจียน ของอิหร่านเอง และได้พยายามโฆษณาว่า คาเวียร์จากฟาร์มอิหร่านมีรสดีกว่าคาเวียร์จากทะเลสาบแคสเปียนของรัสเซีย