ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คดีวอเตอร์เกต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:WatergateFromAir.JPG|thumb|right|230px|กลุ่มสำนักงานวอเตอร์เกต จุดกำเนิดของเรื่องอื้อฉาว]]
'''คดีวอเตอร์เกต''' ({{lang-en|Watergate scandal}}) คือเหตุอื้อฉาวทางการเมืองระหว่างช่วงต้นคริสตทศวรรษที่ 1970 ใน[[สหรัฐอเมริกา]] เป็นเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ลักลอบโจรกรรมสำนักงานใหญ่ของ[[พรรคเดโมแครต (สหรัฐอเมริกา)|พรรคเดโมแครต]] ณ อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์ในกรุง[[วอชิงตัน ดี.ซี.]] เมื่อเดือน[[มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1972]] ในขณะที่คณะทำงานของประธานาธิบดี[[ริชาร์ด นิกสัน]] พยายามปกปิดหลักฐานถึงการข้องเกี่ยวในเหตุโจรกรรมดังกล่าว จนในที่สุดเรื่องอื้อฉาวนี้นำไปสู่การลาออกของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เมื่อวันที่ [[9 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1974]] ซึ่งเป็นการลาออกครั้งแรกและครั้งเดียวของประธานาธบิดีประธานาธิบดีในประวัติศาสตร์อเมริกัน เหตุการณ์นี้ยังนำไปสู่การฟ้องร้อง, การไต่สวน, การลงโทษ และการจำคุกบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 43 คน รวมไปถึงคณะทำงานระดับสูงของรัฐบาลนิกสันอีกหลายสิบคน
 
เหตุอื้อฉาวเริ่มต้นขึ้นด้วยการจับกุมชายห้าคนในคดีลักลอบโจรกรรมข้อมูลในที่ทำการใหญ่พรรคเดโมแครต ณ อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1972 โดย[[สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา]] (เอฟบีไอ) เชื่อมโยงเส้นทางการเงินของคนร้ายทั้งห้าคนจนสาวไปถึงกองทุนหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มระดมทุนสำหรับการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของนิกสัน ขณะที่หลักฐานทั้งหมดพุ่งชี้ไปยังคณะทำงานของประธานาธิบดี รวมไปถึงพนักงานเบิกความฟ้องในคณะทำงานสืบสวนคดีวอเตอร์เกตซึ่งตั้งโดยวุฒิสภา ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1972 คณะสอบสวนเปิดเผยว่าภายในห้องทำงานของประธานาธิบดีนอกสันมีระบบบันทึกเสียงอยู่ และได้บันทึกการสนทนาต่างๆ เอาไว้มากมาย ใจความจากเทปบันทึกเสียงเหล่านั้นชี้ให้เห็นว่าประธานาธิบดีนิกสันเคยพยายามที่จะปกปิดถึงการมีส่วนรู้เห็นในการโจรกรรมข้อมูล ณ ที่ทำการพรรคเดโมแครต หลังจากมีการต่อสู้ฟ้องร้องคดีความจำนวนมากมายหลายรอบในชั้นศาล ศาลฎีกาสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกามีคำตัดสินให้ประธานาธิบดีต้องส่งมอบเทปบันทึกเสียงทั้งหมดแก่พนักงานสืบสวนของรัฐ นิกสันจึงต้องจำยอมส่งมอบเทปตามคำตัดสิน