ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไพศาล พืชมงคล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: มีรายการนี้แล้ว
บรรทัด 8:
ในขณะเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ไพศาลได้รับรางวัลแชมป์[[หมากฮอส]]ในการแข่งขันกีฬาสีของโรงเรียน และในระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไพศาลเป็นโฆษกพรรคเสรีตราชูของนักศึกษา และเป็นแชมป์หมากฮอส 5 มหาวิทยาลัย ได้รับประทานรางวัลชนะเลิศ จากเสด็จใน[[กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]] และได้แต่งตำราหมากฮอสฉบับมาตรฐาน รวมทั้งได้เป็นครูฝึกสอนหมากฮอสให้แก่ชมรมกีฬาในร่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่หลายปี
 
ไพศาลเริ่มเข้าทำงานที่บริษัทสากลสถาปัตย์ของเกียรติ วัธนเวคิน ตั้งแต่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 ในเวลาต่อมา พ.ศ. 2516 ไพศาลย้ายไปทำงานที่สำนักงานทนายความธรรมนิติของประดิษฐ์ เปรมโยธิน และได้รับช่วงดำเนินงานต่อ ในระหว่างที่ทำงานในธรรมนิติ ไพศาลได้นำรูปแบบของบริษัทจำกัดเข้ามาใช้กับสำนักงานธรรมนิติ ซึ่งให้ทนายความประจำสำนักงานมีเงินเดือนประจำ แทนที่ได้จากส่วนแบ่งจากการว่าความตามธรรมเนียมเดิม ในระหว่างนั้น ไพศาลเคยเป็นแกนนำเดินขบวนคัดค้านการขึ้นค่ารถเมล์ในสมัยรัฐบาลถนอม กิตติขจร เคยเข้าร่วมในการชุมนุมต่อต้าน "กฎหมายโบดำ"<ref>"กฎหมายโบดำ" หมายถึง กฎหมายที่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร จะออกใช้เพื่อครอบงำอำนาจตุลาการ เนื่องจากอำนาจตุลาการเป็นอิสระจากรัฐบาล ซึ่งหลวงจำรูญเนติศาสตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมขณะนั้น เป็นผู้เสนอกฎหมายนี้ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้เล็งเห็นถึงปัญหา จึงทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลา 3 วัน รัฐบาลก็ยอมถอนร่างกฎหมายนี้</ref> และเคยเป็นหนึ่งในผู้ชุมนุมเดินขบวนใน[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] และได้แต่งเพลงที่มีชื่อเสียงมากบทเพลงหนึ่งชื่อว่า ''ศักดิ์ศรีกรรมกร <ref> เว็บศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย, [http://www.thaiswatch.com/politician/info/pid/POL0000000191]</ref>'' โดยมีท่อนสำคัญเรียกร้องให้ประชาชนโค่นล้มระบบเจ้าขุนมูลนาย คือ "ปวงนายทุนขุนศึก ศักดินา มันกดขี่บีฑากินเลือดเรา เอ้าเอาพวกเราโค่นล้มมันเถิดเอย"
 
หลัง[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] ไพศาลยังคงเคลื่อนไหวในเมือง รับช่วงงานจาก[[ทองใบ ทองเปาด์]]{{อ้างอิง}} ซึ่งหลบหนีการปราบปรามไปเข้าร่วมการต่อสู้กับ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]] โดยได้รับเป็นทนายความให้แก่คณะนักศึกษาและประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น[[คอมมิวนิสต์]] ต่อมาได้รับเชิญจากคณะกรรมการทหารภาคอีสานขึ้นไปเยี่ยมฐานที่มั่น พร้อมกับคณะอีกหลายคนที่พื้นที่[[กาฬสินธุ์]] เมื่อ พ.ศ. 2520