ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลีบ มหิธร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
ท่านผู้หญิงกลีบมีความสามารถในการทำอาหาร และต้องการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้แก่ลูกหลาน จึงได้เขียนตำราอาหารขึ้น มีชื่อว่า ''หนังสือกับข้าวสอนลูกหลานของท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร'' ซึ่งมีวัตถุประสงค์โดยตรงคือเพื่อถ่ายทอดสู่ลูกหลาน โดยตำรับอาหารดังกล่าวถือเป็นมรดกตกทอดของสกุลไกรฤกษ์และสกุลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง<ref>สุนทรี อาสะไวย์. กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 99</ref>
 
อาหารในตำราของท่านผู้หญิงกลีบเป็นอาหารประเภทข้าวหลายชนิดที่มีกลิ่นอายของอาหารจีนที่ถูกปรับใช้เป็นอาหารไทยมากมายหลายชนิด เช่น ข้าวต้มกุ้ง. ข้าวต้มปลา, ข้าวต้เนื้อไก่ข้าวต้มเนื้อไก่ (เซ่งจี๊ ตับเหล็ก), ข้าวผัดเต้าหู้ยี้ และข้าวผัดลูกหนำเลี๊ยบหรือหนำพ๊วย เป็นต้น<ref name="kleab1">สุนทรี อาสะไวย์. กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 100</ref> ทั้งมีการบันทึกอาหารขึ้นชื่อประจำตระกูลไกรฤกษ์ คือ แกงบวน<ref name="kleab1"/> และนอกจากนี้ยังมีอาหารพิเศษ ที่ผสมผสานความเป็นไทย, จีน และแขกด้วยกัน คือ แกงจีจ๋วน ซึ่งเป็นแกงกะทิใส่ไก่มีเครื่องแกงแดง แต่ใส่โป๊ยกั๊กของจีน, ขมิ้นผงของแขก, ส้มซ่าของไทย และพริกหยวก<ref name="kleab1"/>
 
อย่างไรก็ตามตำรับอาหารของท่านผู้หญิงกลีบ ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของอาหารจีนในอาหารไทยที่ปรากฏในอาหารทั้งคาวและหวาน แต่อาหารตะวันตกก็มีอิทธิพลในตำราของท่านด้วยเช่นกันแม้จะไม่มากเท่าอิทธิพลของจีนก็ตาม ซึ่งอิทธิพลอาหารจีนถือเป็นอิทธิพลเฉพาะที่มาจากสายตระกูลไกรฤกษ์ที่สืบเชื้อสายมาแต่[[ประเทศจีน]]<ref>สุนทรี อาสะไวย์. กำเนิดและพัฒนาการของอาหารชาววัง. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 101</ref>
 
==อ้างอิง==