ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อารีเฟน ฮะซานี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
โทนโฆษณาถือว่าไม่มีแล้วเมื่อเทียบกับบทความอื่น แต่จะมาช่วยแก้จากที่เจ้าตัวมาเขียนให้
บรรทัด 1:
{{ชีวประวัติขาดเพิ่มอ้างอิง}}
{{อัตชีวประวัติ}}
{{issues|ปรับภาษา=yes|โฆษณา=yes}}
[[ไฟล์:เฟน สตูดิโอ.jpg|thumb|อารีเฟน ฮะซานี (เฟน สตูดิโอ)]]
 
บรรทัด 11:
[[ไฟล์:Ramavatar01.JPG|thumb|ตัวอย่างผลงานการ์ตูนชุด [[รามาวตาร]]]]
 
เขียนการ์ตูนครั้งแรกในขณะเรียนอยู่ชั้น ปวช. ที่ [[วิทยาลัยเพาะช่าง]] เมื่อปี พ.ศ. 2520 จากความตั้งใจที่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูนและอยากมีรายได้ใช้จ่ายเป็นค่าเล่าเรียน จึงลองเขียนการ์ตูนตลก 3ช่อง ไปเสนอที่สำนักพิมพ์อุดมศึกษา ซึ่งเขาก็รับต้นฉบับไว้ เริ่มต้นได้ค่าต้นฉบับแผ่นละ 15 บาท... แต่เนื่องจากขณะนั้นทางสำนักพิมพ์ได้พิมพ์การ์ตูนแนวนิทานพื้นบ้าน จักรๆวงศ์ๆ ชื่อหนังสือการ์ตูน ทวีปัญญาและ การ์ตูนนิทานไทย ซึ่งต้องการนักเขียนไปเสริมทีมงานของคุณอิศวร จึงได้มีโอกาสเข้าไปเขียนการ์ตูนเป็นรายได้พิเศษ หลังโรงเรียนเลิกแล้วในช่วงเย็น
 
ปีพ.ศ. 2521 [[การ์ตูนเล่มละบาท]] กำลังเป็นที่นิยมในตลาดการ์ตูน เขาจึงลองเขียนการ์ตูนเล่มละบาท แล้วนำไปเสนอขายให้สำนักพิมพ์ ศิริสาส์น ได้ค่าต้นฉบับ 500 บาทต่อหนึ่งเล่มมี 24 หน้า... แล้วย้ายมาเขียนให้กับสำนักพิมพ์สามดาว ค่าต้นฉบับก็ค่อยๆขยับขึ้นมาเรื่อยจนมาอยู่ที่ 1,200 บาทต่อเล่ม เนื้อเรื่องที่เขียนก็เป็นแนวชีวิตบ้าง แนวนิทานพื้นบ้านจักรๆวงศ์ๆ ซึ่งแต่งขึ้นเองทุกเรื่องโดยอารีเฟน ฮะซารี
 
จนกลางปีพ.ศ. 2523 มีความคิดว่าอยากเขียนการ์ตูนกับสำนักพิมพ์ ที่พิมพ์การ์ตูน [[หนูจ๋า]]และ [[เบบี้]] ที่ตนเองติดตามอ่านมาตั้งแต่เด็กๆ และใฝ่ฝันไว้ว่าอยากจะเขียนร่วมกับสำนักพิมพ์เดียวกันกับ [[อาจุ๋มจิ๋ม ]]และ [[อาวัฒน์]] จึงได้ลองเอาการ์ตูนของตัวเองไปเสนอที่ [[สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น]] ซึ่งทางสำนักพิมพ์ก็ได้รับต้นฉบับไว้ และได้ลงผลงานในหนังสือการ์ตูน เยาวชน เป็นนิยายภาพเรื่องยาว เรื่องสวัสดีโรงเรียน และเลิกเขียนการ์ตูนเล่มละบาทนับตั้งแต่นั้นมา
บรรทัด 21:
พ.ศ. 2525 หลังจากที่ศึกษาจบวิทยาเขตเพาะช่าง ได้วุฒิด้านศึกษาศาสตร์บัณฑิตแล้ว ก็ถือโอกาสใช้วิชาความรู้ ไปเป็นครูอยู่ที่ [[โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] สอนศิลปะให้กับนักเรียนชั้นประถมปลายเป็นเวลา 3ปี และยังคงใช้เวลาว่างเขียนการ์ตูนส่งสำนักพิมพ์เป็นระยะๆ อยู่เช่นเดิม
 
จนปีพ.ศ. 2529 เพื่อนชวนไปทำงานกับบริษัทโฆษณาเล็กๆแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 2 ปี และยังคงใช้เวลาว่างเขียนการ์ตูนส่งสำนักพิมพ์เช่นเดิม
 
ช่วงนี้เองที่ บก.วิธิต ให้เขียนนิยายภาพลงในการ์ตูนเบบี้ และให้เขียนลงในหนังสือการ์ตูน [[ขายหัวเราะ]] และ [[มหาสนุก]] เล่มใหญ่ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้เปลี่ยนแนวการเขียน จากนิยายภาพมาเป็นการ์ตูนที่ลายเส้นเรียบง่าย และมีเนื้อหาตลกหรรษา กับการ์ตูนเรื่องสั้นชุด พ่อแม่..ลูก ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักอ่านการ์ตูนมหาสนุกพอสมควร
 
ในปีพ.ศ. 2530 เพื่อนได้ชักชวนให้ไปทำงานด้านดีไซน์และออกแบบลายผ้าให้กับบริษัท ในเครือ GQ GROUP อยู่ 3 ปี... และยังคงใช้เวลาหลังเลิกงานเขียนการ์ตูนอยู่เหมือนเดิม
 
ในช่วงนี้เองได้เขียนการ์ตูนตลกชุด บ้าครบสูตร ลงในหนังสือ มหาสนุก และเขียนนิยายภาพเรื่องยาวเรื่อง สิงห์สยาม ลงใน หนังสือการ์ตูนหนูจ๋า อีกด้วย
บรรทัด 74:
 
{{เกิดปี|2500}}
 
[[หมวดหมู่:นักวาดการ์ตูนไทย]]
[[หมวดหมู่:บรรลือสาส์น]]