ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทมาเส็กโฮลดิงส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
== อ้างอิง ==
<references/>
เศรษฐศาสตร์การเมืองของชินคอร์ป-เทมาเส็ก
โลกทรรศน์ อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ มติชนรายวัน วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 26 ฉบับที่ 1335
 
ตอนนี้มีการอ้างกติกาบ้าง ธุรกิจล้วนๆ บ้าง ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่เวลานี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลและธุรกิจขนาดใหญ่ก็กำลังอ้าง ว่ากันตามจริง การทุจริตในบรรษัทขนาดใหญ่ทางด้านพลังงาน Enron ของสหรัฐจนเกิดการล้มละลายเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการอ้างกติกา ธุรกิจล้วนๆ ความโปร่งใสว่าไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะในบรรษัทขนาดใหญ่ระดับโลก
 
ในทางตรงกันข้าม นักรัฐศาสตร์อย่างผมกำลังสงสัย เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งอยู่เบื้องหลังบรรษัทขนาดใหญ่โดยเฉพาะ บรรษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง และบริษัทกึ่งเอกชนกึ่งรัฐชินคอร์ปว่า
 
จะเป็นการเปิดศักราชใหม่ของรูปแบบการจัดการทางเศรษฐกิจ ระบบการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกครั้งสำคัญ
 
 
ดีลแห่งศตวรรษ : เบื้องหน้า
 
ตลอดระยะเวลาที่บริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ซื้อกิจการบริษัทกึ่งเอกชนกึ่งรัฐชินคอร์ป ผู้บริหารบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสิงคโปร์ไม่เคยให้สัมภาษณ์ใดๆ ถึงเรื่องนี้เลย จนกระทั่งเริ่มมีการรณรงค์ต่อต้านสินค้ากลุ่มบริษัทชินคอร์ป และอาจจะรวมถึงสินค้าของบริษัทสิงคโปร์ในประเทศไทย
 
บริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง และรัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์ได้ว่าจะมีการประท้วงจากประชาสังคมในประเทศไทย เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรสำหรับเขา การดีลที่เล็กกว่านี้ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ประชาสังคมในประเทศเหล่านี้ได้ประท้วงมาแล้ว แล้วการประท้วงนี้ก็เงียบไปเอง
 
แต่ที่นี่ประเทศไทย
 
บริษัทรัฐบาลสิงคโปร์และรัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์ผิด และกำลังปากกล้า ขาสั่น
 
9 มีนาคม 2549 เจ้าหน้าที่สถานทูตสิงคโปร์ในประเทศไทยกล่าวยืนยันว่า การดีลระหว่างทางบริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง และบริษัทชินคอร์ปเป็นการทำธุรกิจล้วนๆ เป็นการดำเนินการของภาคเอกชนและไม่ใช่ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล เจ้าหน้าที่สถานทูตสิงคโปร์ยังกล่าวต่อไปว่า บริษัทสิงคโปร์ทำธุรกิจในประเทศไทยต้องทำตามกฎหมายไทย (http:www.channelnewsasia.com/stories/singaporebusinessnews/view/197008/1/.html)
 
ต่อมา นาย Gordon Koh จากสถานทูตสิงคโปร์เขียนจดหมายถึงบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ The Nation เป็นทำนองว่า คนสิงคโปร์กำลังตกเป็นเป้าหมายอย่างไม่มีเหตุผลโดยผู้ประท้วงชาวไทยที่ไม่มีความรับผิดชอบ รายการโทรทัศน์ของเรา (สิงคโปร์) รายงานการประท้วงนอกสถานทูตของสิงคโปร์ในกรุงเทพฯ ผู้ประท้วงต้องการให้รัฐบาลสิงคโปร์หยุดการซื้อ-ขายระหว่างบริษัทชินคอร์ปกับบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง
 
ถ้าข้อเสนอนี้ล้มเหลวพวกผู้ประท้วงจะต่อต้านต่อไปและหาหนทางต่อต้านสินค้าสิงคโปร์
 
นาย Gordon Koh กล่าวต่อไปว่า คนสิงคโปร์ทำผิดอะไร การทำธุรกิจกับคนไทย ใครก็ตามตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ทางธุรกิจอย่างเดียวล้วนๆ ไม่ว่าพลเมืองคนไหนก็ตามที่คอร์รัปชั่นหรือไม่ก็ตาม เขาไม่ได้คอร์รัปชั่นภายในประเทศของเรา ถ้าคุณคนไทยต้องการให้เราชาวสิงคโปร์ ไม่ทำธุรกิจกับคนที่คอร์รัปชั่นในประเทศของคุณ เราคนสิงคโปร์ต้องมองเห็นเหตุการณ์ที่แสดงว่าเขาคอร์รัปชั่น ทักษิณไม่ได้ถูกพิสูจน์ในศาลต่อข้อกล่าวหาว่าเขาคอร์รัปชั่น
 
หนังสือพิมพ์ Straits Times ได้ตีพิมพ์คำสัมภาษณ์ของประธานาธิบดีสิงคโปร์ นายลี เซียว ลุง (Lee Hsien Loong) ว่าบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ซื้อบริษัทชินคอร์ปเป็นการตัดสินใจทางธุรกิจ เขากล่าวถึงบริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ว่า เราสนับสนุนให้บริษัทก้าวสู่ภูมิภาค เราส่งเสริมให้บริษัทมีการลงทุนระยะยาวในประเทศเพื่อนบ้านของเรา เพราะเรามีความมั่นใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเพื่อนบ้านของเรา
 
นี่เป็นความเห็นครั้งแรกของประธานาธิบดีสิงคโปร์หลังจากที่การประท้วงในกรุเทพฯ โดยคนหลายหมื่นคนที่ต่อต้านนายกฯ ทักษิณ ผู้ประท้วงกำลังต้องการให้บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ยกเลิกการซื้อกิจการของบริษัทชินคอร์ป
 
ทั้งนักหนังสือพิมพ์ นักการทูตตลอดจนถึงประธานาธิบดีสิงคโปร์ต่างยืนยัน กติกาบ้างและธุรกิจล้วนๆ บ้าง
 
หากดูพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเมืองของสิงคโปร์ในเอเชีย รวมทั้งไทยจะมองสิ่งที่อยู่เบื้องหลังกติกา และธุรกิจล้วนๆ มากมาย
 
 
ดีลแห่งศตวรรษ : เบื้องหลัง
 
ไทยเป็น Strategic partner ของสิงคโปร์ จริงอยู่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง เป็นบริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ที่ลงทุนในเอเชียเป็นจำนวนมาก คือ ลงทุนในจีน อินเดีย ไต้หวัน มาเลเซียและไทยโดยมีการลงทุนครอบคลุมหลายด้านได้แก่ กลุ่มบริษัทดีบีเอสเน้นการลงทุนด้านบริการการเงิน เช่น ธนาคารในฟิลิปปินส์ ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุของไทย
 
การลงทุนทางด้านพลังงานโดยผ่านบริษัทเคพเพล กรุ๊ป ลงทุนด้านพลังงานและไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกา อาเซอร์ไบจานและฟิลิปปินส์ อีกกลุ่มหนึ่งคือ สิงเทล เป็นหัวหอกการลงทุนในด้านสื่อสารโทรคมนาคมอันได้แก่ ออปตัสของออสเตรเลีย พีที บูกากาของอินโดนีเซีย ภารตี เทเลคอมของอินเดียและบริษัท เอไอเอส ของบริษัทชินคอร์ปในไทย เป็นต้น
 
แต่เมื่อย้อนกลับมาดูไทยด้วยเหตุผลทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิเศรษฐศาสตร์ ไทยเป็น Strategic partner ของสิงคโปร์มากกว่าประเทศใดๆ
 
คือเป็นพันธมิตรทั้งทางด้านการลงทุน ธุรกิจ รวมทั้งทางด้านความมั่นคงทางการทหาร
 
ชินคอร์ปและนโยบายของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ได้เปิดโครงข่ายโทรคมนาคมในอินโดจีน พม่า อินเดีย จีนหมดแล้ว ดังนั้น บริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิ้ง จึงได้ทั้งการขยายตลาดโทรคมนาคมไปทั่วภูมิภาค อีกทั้งยังได้วงโคจรของไทย จากดาวเทียม Ipstar ของบริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ อันเป็นดาวเทียมบรอดแบรนด์ดวงแรกของโลก ที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งกิจการเอกชน และทางการทหาร
 
บางคนอาจจะโต้แย้งว่า บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ถือหุ้น 51% ในดาวเทียม Indosat ของรัฐบาลอินโดนีเซียอยู่แล้วตั้งแต่ปี 2545 แต่การถือหุ้นในดาวเทียมของรัฐบาลอินโดนีเซียช่วยทำให้เราตาสว่างขึ้นว่า แม้กฎหมายอินโดนีเซีย ไม่มีข้อห้ามการถือหุ้นต่างชาติในกิจการโทรคมนาคม คนอินโดนีเซียก็โจมตีการขายชาติของรัฐบาลอินโดนีเซีย
 
โดยเฉพาะเกลียดและกลัวสิงคโปร์ในความเอาเปรียบด้วย
 
ถึงกระนั้นก็ตาม อินโดนีเซียแตกต่างจากไทย กล่าวเฉพาะกิจการโทรคมนาคมรัฐบาลสิงคโปร์ โดยบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ทำดีลแห่งศตวรรษเปลี่ยนประเทศไทยเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจสู่อินโดจีน พม่าและจีน
 
ในแง่ยุทธศาสตร์ทางการทหาร ไทยก็เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของสิงคโปร์ไปแล้ว การบริจาคเครื่องบิน F 16 A/B 7 ลำมูลค่า 1 หมื่นล้านบาทแก่กองทัพอากาศไทย คนฉลาดอย่างสิงคโปร์คงไม่ได้ให้อะไรแก่ใครฟรีๆ การใช้จังหวัดกาญจนบุรี เป็นค่ายฝึกกำลังพล การใช้จังหวัดขอนแก่นเป็นสนามฝึกยิงปืน และการใช้จังหวัดอุดรธานีเป็นสนามฝึกบินคือ
 
สิ่งที่รัฐบาลทักษิณแลกเปลี่ยนก่อนที่จะมาถึงดีลแห่งศตวรรษมูลค่า 7.3 หมื่นล้านบาท
 
นี่เป็นทั้งการตอบสนอง โรคความมั่นคง ของคนสิงคโปร์ที่เป็นประเทศเล็กและกลัวประเทศใหญ่อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซียและไทย
 
ในเวลาเดียวกัน ดีลแห่งศตวรรษนี้แก้ปมทางจิตวิทยากลัวไทยลงไปได้
 
 
ดีลแห่งศตวรรษ : เบื้องลึก
 
นี่เป็นดีลแห่งศตวรรษจริงๆ แต่ไม่ใช่เรื่องมูลค่าตัวเงินแต่เป็นตัวแบบของหลายสิ่งหลายอย่าง
 
ถ้าดีลนี้สำเร็จ รัฐบาลสิงคโปร์จะเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในทางการบริหารจัดการธุรกิจ รัฐบาลสิงคโปร์ สามารถใช้นโยบายของรัฐบาลไทย เป็นปัจจัยการผลิตในโมเดลทางเศรษฐกิจได้ แต่ในด้านกลับกัน นี่เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของมิตรประเทศในกลุ่มอาเซียน
 
ในแง่ของไทย-สิงคโปร์เราควรศึกษาการวางตัว เป็นนายทุนนายหน้า (comprador) ในยุคโลกาภิวัตน์ จริงๆ กลุ่มทุนโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของไทยอาจจะเป็นเพียงนายทุนนายหน้าของกลุ่มทุนสิงคโปร์ เหนืออื่นใด เราอาจจะชี้ให้เห็น การติดสินบนข้ามชาติ ของกลุ่มทุนสิงคโปร์ที่ทำเหมือนกับทุนในประเทศเจริญแล้วในยุคล่าอาณานิคมและยุคโลกาภิวัตน์
 
กติกาและธุรกิจล้วนๆ เป็นคำโกหกพกลมทั้งผู้นำไทยและสิงคโปร์
 
==แหล่งข้อมูลอื่น==