ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Pakawat simatham/ทดลองเขียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pakawat simatham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pakawat simatham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
| founder = พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
}}
“ปรางค์กู่” ตั้งอยู่ที่ถนนบรรณาการ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเถอเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ ก็เป็นสถาปัตยกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากขอม คำว่าปรางค์กู่นั้น เป็นชื่อเรียกของกลุ่มอาคารที่มีแผนผังและลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่ เชื่อกันว่าเป็นอโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๓
 
===ประวัติความเป็นมา===
 
ปรางค์กู่ เป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๓ หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีข้อความว่าให้อยู่ใต้พระบารมีของ[[พระพุทธเจ้า]] ผู้ทรงการ[[แพทย์]]คือ พระไภษัชยคุรุไวทูรยประภา ผู้ประทานความสุขเกษมและความไม่มีโรคให้แก่ประชาชน ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งใน[[จังหวัดชัยภูมิ]] และยังเป็นที่เคารพของคนในจังหวัดชัยภูมิเป็นอย่างสูงอีกด้วย
 
===ลักษณะทั่วไป===
 
ปรางค์กู่เป็น[[ปราสาท]]โบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง ที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวเหมือนกับปราสาทโบราณสถานที่ได้พบหลักฐานว่าเป็นอโรคยาศาล ที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นั่นก็คือ มีปรางค์องค์ประธานอยู่ตรงกลาง ๑ องค์ วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า ๑ หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้าทั้งหมด ก่อด้วยอิฐศิลาแลงยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับล้วนเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์มีสระน้ำ ๑ สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีมากสมบูรณ โดยเฉพาะปรางค์องค์ประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๕ เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก ๓ ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง ๑.๗๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เมตร ประดิษฐานอยู่ ๑ องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น นอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่น ๆ เช่น เสาประดับประตู
 
===ส่วนประกอบต่างๆ ของโบราณสถาน===
 
# ซุ้มโคปุระ คือ ซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก เป็นที่อยู่ของพาหนะของเทพเจ้าที่รักษาพระองค์ มีเทพประจำ 8 ทิศ
# ปราสาทปรางค์ประธาน มีพระพุทธรูปปางสมาธิอยู่ด้านใน มีเศียรที่ทำการบูรณะสร้างขึ้นมาใหม่
# บรรณาลัยหรือวิหาร (บรรณาลัย เป็นที่เก็บยาอยู่ขวามือของปราสาทโบราณสถาน มีแท่นรูปเคารพ (แท่นโยนี) อยู่ข้างใน สร้างตามไสวนิกายซึ่งนับถือพระเจ้าสามองค์คือ พระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม ซึ่งพระพรหมเป็นผู้ทำลายล้างและสร้างโลกใหม่เวลาที่พรหมทำพิธี จะเทน้ำรดจากปลายศิวลึงค์ ไหลลงสู่ฐานโยนี ชาวบ้านสามารถรองไปดื่มกินได้ เชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
# กำแพงล้อมรอบปราสาทปรางค์และประตูซุ้มทางเข้า-ออก
# สระบ่อน้ำ
 
===หลักฐานที่พบ===
 
นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์มีสระน้ำ ๑ สระ ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ดีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปรางค์องค์ประธานซึ่งมีผังแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด ๕ เมตร ย่อมุมไม้สิบสองด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์มี ๓ ด้าน เป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือกาล ซึ่อถือพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตาด้านหน้ามีทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนไปมากที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง ๑.๗๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๗.๕ เมตร ประดิษฐานอยู่ ๑ องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น
อยู่ ๑ องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นนอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่นๆ เช่น เสาประดับประตู
 
===ภาพสลักที่สำคัญของโบราณสถาน===
 
# ภาพพระโพธิสัตว์อวโรกิเตศวร 4 กร ที่หน้า บันมุขด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน
# ทับหลังมุขด้านทิศตะวันออกของปราสาท ปรางค์ประธานจะมีหน้ากาล ด้านบนสลักภาพพระพุทธรูปปรางค์สมาธิ
# ทัพหลังมุขด้านทิศเหนือของปราสาทประธาน สันนิษฐานว่าเป็นภาพพระรัตนไตรมหายาน อันประกอบไปด้วย ภาพพระพุทธรูปนาคปรก อยู่ตรงกลาง ด้านซ้ายเป็นภาพพระโพธิสัตว์อวโรกิเตศวร 4 กร ด้านขวาแม้ว่ายังสลักไม่เสร็จแต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพนางปรัชญาปารมีตา เทพีแห่งปัญญา
# ภาพพุทธประวัติตอนเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกมามหาภิเนษกรมณ์(เสด็จออกบวช) ที่หน้าบันด้านทิศตะวันตกของบรรณาลัย
 
===งานประจำปี===
เส้น 44 ⟶ 43:
===การเดินทาง===
 
ตั้งอยู่ที่ถนนบรรณาการ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง เขตอำเถอเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กิโลเมตร จากจังหวัดชัยภูมิมาตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 1 กิโลเมตรจะมีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าปรางค์กู่ตามทางหลวงหมายเลข 2158 เป็นระยะทางอีกประมาณ 2 กิโลเมตร