ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Akemaserati (คุย | ส่วนร่วม)
Akemaserati (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
{{ตรวจลิขสิทธิ์}}
 
'''เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง''' (เพ็ง เพ็ญกุล ) เป็นคนโปรดใน [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งท่านมีความสามารถ ทางด้านการละคร โดยเป็นผู้ริเริ่มการแสดงละคร แบบเก็บเงิน หรือตีตั๋วเป็นครั้งแรก และตั้งชื่อโรงละคร แบบฝรั่งว่า "Prince Theatre" รวมทั้งละครของท่าน ยังก่อให้เกิดคำว่า "วิก" อีกด้วย
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เดิมชื่อ วันเพ็ง หรือวันเพ็ญ เนื่องจากท่านเกิด ในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 โดยต่อมาเรียกกันเพียงสั้นๆ ว่า "เพ็ง" เป็นบุตรของหลวงจินดาพิจิตร (ด้วง) เมื่อ ครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงเป็น เจ้าฟ้ามงกุฏ ทรงเสด็จไปศึกษา ในสำนักพระพุฒาจารย์ (ขุน) ซึ่งนายด้วง (หลวงจินดาพิจิตร) บวชเป็นสามเณรอยู่ สมเด็จพุฒาจารย์ (ขุน) จึงมอบหมายให้สามเณรด้วง ถวายการดูแล เจ้าฟ้ามงกุฏ จนเกิดความสนิทสนมกัน
ต่อ มา นายด้วงลาอุปสมบท ไปมีภรรยา และเข้ารับราชการ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็น หลวงจินดาพิจิตร มีบุตรธิดา 5 คน คนสุดท้ายคือ "วันเพ็ง" เมื่อหลวงจินดาพิจิตร มีโอกาสเข้าเฝ้า เจ้าฟ้ามงกุฏ เด็กชายเพ็งจึงตามไปด้วย ทรงทอดพระเนตรเห็น จึงออกพระโอษฐ์ ขอเด็กชายเพ็งวัย 13 ปี จาก[[หลวงจินดาพิจิตร]] เพื่อรับเลี้ยง เป็นบุตรบุญธรรม โดยทรงเรียก "พ่อเพ็ง" เรื่อยมา เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พ่อเพ็งเป็น "เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี" หัวหมื่นมหาดเล็ก
เนื่อง จาก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงล่าอาณานิคม ของสหราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งอังกฤษ ได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2398 โดยสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พระ บรมราชินี ได้อัญเชิญพระสาส์น และเครื่องราชบรรณาการ มาถวาย แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังมีการลงนามร่วมกัน ใน "[[สนธิสัญญาบาวริ่ง]]" อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2400 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นราชทูต และเจ้าหมื่นสรรเพชรภักดี เป็นอุปทูต นำพระราชสานส์ และคุมเครื่องบรรณาการ ออกไปเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศอังกฤษ ภายหลังจากเสร็จกิจ ในฐานะอุปทูต เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "พระบุรุษรัตนราชวัลลภ"
ต่อมารัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี เป็น "พระยาราชสุภาวดี สมุหพระสุรัสวดี"
เนื่อง จากในสมัยนั้น ระบบไพร่มีความซับซ้อนมาก ไพร่จะต้องสังกัด กับมูลนาย ทำให้ไม่สามารถ ย้ายถิ่นฐาน เพื่อการประกอบอาชีพได้ และนำไปสู่ปัญหาอื่น เช่น ในเวลาที่บ้านเมืองถูกคุกคาม จากจักรวรรดินิยม ไพร่อาจขอขึ้นทะเบียนสังกัด เป็นคนในบังคับต่างชาติได้
ด้วย เหตุนี้ พระองค์จึงทรงดำริให้ ไพร่มีหน้าที่ ต่อราชการ เท่าเทียมกัน โดยให้มีการแลกตัวเลก ซึ่งจะให้มีฐานะเสมอกัน (ตัวเลกหมายถึงไพร่) โดยขณะนั้น พระยาราชสุภาวดี สมุหพระสุรัสวดี ทำหน้าที่ ดูแลกรมพระสุรัสวดี ซึ่งเป็นเพียงกรมเล็กๆ ที่มีหน้าที่สักเลก ในเขตความรับผิดชอบเท่านั้น (งานสักเลก เป็นงานหลัก ของกรมมหาดไทย ,กรมพระกลาโหม และกรมท่า) ในปี พ.ศ. 2417 จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีเป็น "เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง สกูลวงศ์อรเอกดิเรกยศ มธุรพจนสุนทรธรรมยุติยานุวัติ บุรุษรัตนทุวาธิราชนิกรวรยุคลบาท บรมนาถสวามิภักดิสนิท วิสิฐคุณศรีรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ" เท่าเทียมกับ[[สมุหนายก]] [[สมุหพระกลาโหม]] และกรมท่า เพื่อให้มีอำนาจ ในการจัดระเบียบ การควบคุมกำลังคน และการสักเลกมากกว่าเดิม รวมทั้งการเกณฑ์ไพร่ มาทำราชการ ในกรณีพิเศษ เช่น การปราบปรามโจรผู้ร้าย การปราบกบฎ เป็นต้น
ต่อ มาในปี [[พ.ศ.2418]] เกิดการชุมนุม ของพวกฮ่อ (ชาวจีนอพยพ เข้ามาทำมาหากิน ในภาคเหนือ ของประเทศไทย) ที่ทุ่งเชียงคำ เพื่อหมายจะตีเมืองหลวงพระบาง ทางการ จึงจัดกำลังเข้าปราบปราม โดยแบ่งเป็น 4 กอง ซึ่งหนึ่งในนั้น มีกองทัพของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เป็นแม่ทัพ และยกกำลัง มาจากกรุงเทพฯ ไปหนองคาย โดยสามารถ ปราบปราม[[พวกฮ่อ]] ให้ล่าถอยไปได้
 
== อ้างอิง ==