ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อดิเรก วัฏลีลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล นักแสดง
| bgcolour =
| name = อดิเรก วัฏลีลา หรือ อังเคิล
| image = Boontin01.jpg‎
| imagesize = 200 px
| caption = อดิเรก วัฏลีลา (ขวา) บทบาทผู้หมวดอังเคิล และจ่าบุญถิ่น ในภาพยนตร์ บุปผาราตรี
| birthname = อดิเรก วัฏลีลา
| nickname = อังเคิล
| birthdate = {{วันเกิด-อายุ|2498|6|12}}
| location = [[จังหวัดสุพรรณบุรี]]
| deathdate =
| deathplace =
| spouse =
| othername =
| occupation = ผู้กำกับ ผู้อำนวยการสร้าง นักเขียนบท นักตัดต่อ นักแสดง
| yearsactive = พ.ศ. 2528 - ปัจจุบัน
| notable role = [[ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย]] (2528) <br>[[ปลื้ม]] (2529) <br>[[ดีแตก]] (2530) <br>[[ฉลุย]] (2531) <br>[[ฉลุย โครงการ2]] (2533) <br>[[ฉลุยหิน คนใข่ไข่สุดขอบโลก]] (2537) <br>[[วาไรตี้ ผีฉลุย]] (2548)
| เครื่องดนตรี =
| แนวเพลง =
| ค่าย =
| ส่วนเกี่ยวข้อง =
| homepage =
| academyawards =
| emmyawards =
| tonyawards =
| goldenglobeawards =
| baftaawards =
| cesarawards =
| goyaawards =
| afiawards =
| filmfareawards =
| olivierawards =
| grammyawards =
| ตุ๊กตาทอง =
| สุพรรณหงส์ =
| ชมรมวิจารณ์บันเทิง =
| โทรทัศน์ทองคำ =
| เมขลา =
| imdb_id = 0915026
| thaifilmdb_id = 00132
}}
 
'''อดิเรก วัฏลีลา''' หรือ '''อังเคิล''' เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2498 เป็นชาวจังหวัด [[สุพรรณบุรี]] จบการศึกษาจาก [[โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป]] เป็นผู้อำนวยการสร้าง, ผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียนบท, นักตัดต่อ, นักแสดง รวมไปถึงนักวาดภาพประกอบ
 
== ประวัติ ==
 
อังเคิลเริ่มต้นอาชีพเกี่ยวกับภาพยนตร์โดยการเป็นคนเขียนใบปิดหนังและวาดภาพประกอบ จนถึงปัจจุบันก็มีผลงานเขียนภาพประกอบและภาพปกให้กับนิตยสารไบโอสโคปในบางฉบับ ในตอนแรกเริ่มที่คิดจะทำภาพยนตร์เรื่องแรกกับ ปื๊ด-[[ธนิตย์ จิตนุกูล]] ทั้งสองคนมีต้นทุนที่รวบรวมกันได้เพียง 40,000 บาท แต่ทั้ง 2 คนมาได้พบกับ [[วิสูตร พูลวรลักษณ์]] (ปัจจุบันเป็นผู้บริหารบริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท ฮับ หรือ [[GTH]]) ได้ให้ต้นทุนในการสร้างภาพยนตร์เป็นเงิน 1.5 ล้านบาท ภาพยนตร์เรื่องนี้คือ [[ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย]] (ปี พ.ศ. 2528) หลังจากเข้าโรงฉายแล้วถือว่าประสบความสำเร็จมาก จนเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดประจำปี 2528
 
ต่อมาอังเคิลก็มีผลงานที่ประสบความสำเร็จจากผลงานกำกับภาพยนตร์ในเรื่อง [[ปลื้ม]], [[ดีแตก]], [[ฉลุย]] ผลงานภาพยนตร์ของอังเคิลได้ส่งให้ดารานำแสดงวัยรุ่นหลายคนมีชื่อเสียงและแจ้งเกิดเต็มตัว เช่น [[สุรศักดิ์ วงค์ไทย]], [[บิลลี่ โอแกน]], [[เพ็ญ พิสุทธิ์]] หลังจากประสบความสำเร็จทางด้านการกำกับภาพยนตร์แล้วในช่วงหลังอังเคิลก็ได้เบนเข็มตัวเองไปเป็นผู้อำนวยการสร้าง (Producer) ให้กับภาพยนตร์หลายๆเรื่อง โดยไปร่วมงานกับบริษัท อาร์ เอส ฟิล์ม ในปี พ.ศ. 2537 มีผลงานในฐานะผู้อำนวยการสร้าง เช่น โลกทั้งใบให้นายคนเดียว, เกิดอีกที ต้องมีเธอ, เด็กระเบิด ยืดแล้วยึด, 18-80 เพื่อนซี้ไม่มีซั๊ว, เจนนี่-กลางวันครับ กลางคืนค่ะ, ฝันติดไฟ หัวใจติดดิน, ปาฏิหาริย์ โ อม-สมหวัง, ล่องจุ๊น-ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน, แตก4-รัก โลภ โกรธ เลว, โคลนนิ่ง คนก็อปปี้คน, รวมสิบเรื่องกับสิบผู้กำกับหน้าใหม่ และต่อมาได้ออกไปร่วมก่อตั้งบริษัทฟิล์มบางกอก และ เฉลิมไทยสตูดิโอ ในปี พ.ศ. 2543 มีผลงานในฐานะผู้อำนวยการสร้าง เช่น [[ฟ้าทะลายโจร]], [[บางกอกแดนเจอรัส]], [[บางระจัน]], [[โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ]], [[ส้มแบ๊งค์ มือใหม่หัดขาย]], [[พรางชมพู]], [[องคุลิมาล]] [[คนระลึกชาติ]], [[ขุนกระบี่ ผีระบาด]], และ [[ทวิภพ]]
 
อดิเรก วัฏลีลาได้รับการประกาศเกียรติคุณในฐานะ เป็นศิลปินผู้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย จากคณะกรรมการจัดงานมหกรรมภาพยนตร์ เอเชีย-แปซิฟิก เป็นผู้ผลักดันให้เกิดภาพยนตร์และผู้กำกับหน้าใหม่ๆมากมาย ตั้งแต่อยู่ บริษัท อาร์ เอส ฟิล์ม จนถึง บริษัท ฟิล์ม บางกอก จนประสพความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ทั้งในและต่างประเทศ
 
== อดิเรก วัฏลีลา ในฐานะนักแสดงภาพยนตร์ ==
นอกจากผลงานกำกับภาพยนตร์ และอำนวยการสร้างแล้ว อังเคิลยังอีกบทบาทนึงที่ทำให้ผู้ชมภาพยนตร์จดจำได้ คือการแสดงในบทบาทตำรวจคู่กับ [[บุญถิ่น ทวยแก้ว]] ทั้ง 2 มักจะรับบทเป็นตำรวจคู่หูคู่ฮาที่รับส่งมุกตลกและออกฉากมาได้แบบถูกจังหวะในภาพยนตร์ไทยหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะภาพยนตร์แนวตลก-สยองขวัญ อังเคิล และ [[บุญถิ่น ทวยแก้ว]] ปรากฏตัวในบทบาทตำรวจครั้งแรกในเรื่อง [[บุปผาราตรี]] หลังจากนั้นทั้ง 2 คนก็ได้ไปปรากฏตัวในบทบาทเดียวกันนี้ในภาพยนตร์อีกหลายๆเรื่อง ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างนึงที่ผู้คนจำได้เป็นอย่างดี
 
== ผลงานกำกับภาพยนตร์ ==
* [[วาไรตี้ผีฉลุย]] (2548)
* [[ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก]] (2537)
* [[ฉลุยโครงการ 2]] (2533)
* [[ฉลุย]] (2531)
* [[ดีแตก]] (2530)
* [[ปลื้ม]] (2529)
* [[ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย]] (2528)
 
== ผลงานอำนวยการสร้างภาพยนตร์ ==
บรรทัด 92:
 
== ผลงานแสดง ==
บทที่อังเคิลแสดงโดยมักจะเป็นนักแสดงสมทบ ในบทบาทของตำรวจคู่กับ [[บุญถิ่น ทวยแก้ว]] ปรากฏในภาพยนตร์หลายๆเรื่อง คือ
 
* [[ฉลุย]] (2531) แสดงในบทอื่นที่ไม่ใช่ตำรวจ
บรรทัด 109:
* [[รัก/สาม/เศร้า]] (2551)
* [[กอด]] (2551)
* [[เทวดาท่าจะเท่ง]] (2551)
* [[บุปผาราตรี 3.2]] (2552)
* [[รูมเมท]] (2552) แสดงในบทอื่นที่ไม่ใช่ตำรวจ
* [[ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ]] (2553)
 
* [[สามย่าน]] (2553)
* [[มือปืนดาวพระศุกร์]] (2553)
* [[มือปืนดาวพระเสาร์]] (2553)
 
== ผลงานเขียน-ประพันธ์ ==
บรรทัด 128:
* [[เทวดาท่าจะเท่ง]] (2551)
* [[ท้าชน]] (2552)
* [[แผ่นผี มีกรรม]] (2553) ละครทีวีชุด บันทึกกรรม
* [[แฟนเก่า]] (2552)
* [[แฟนใหม่]] (2553)
บรรทัด 149:
 
== รางวัลในประเทศ ==
ได้รับการประกาศเกียรติคุณในฐานะ เป็นศิลปินผู้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย จากการเป็นเจ้าของผลงานภาพยนตร์เรื่อง [[ฉลุย]] ซึ่งได้รับเลือกให้เข้าประกวดในงาน มหกรรมภาพยนตร์ เอเชีย – แปซิฟิก และได้รับรางวัล ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2528 [[ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย]] ได้รับ [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] ภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดประจำปี จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]]
* พ.ศ. 2529 [[ปลื้ม]] ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จาก[[สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์]] ในสาขา ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม ได้รับ [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]]ในสาขาภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดประจำปี
* พ.ศ. 2530 [[ดีแตก]] ได้เข้าชิง 9 รางวัล และได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จาก[[สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์]]ในสาขา [[กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม]]
* พ.ศ. 2531 [[ฉลุย]] ได้รับรางวัล ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม จากมหกรรมภาพยนตร์ เอชีย – แปซิฟิก ครั้งที่ 33 และรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากนิตยสาร filmview
* พ.ศ. 2533 [[ฉลุย โครงการ2]] ได้รับ [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]]ในสาขา กำกับภาพยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลจาก[[ชมรมวิจารณ์บันเทิง]]ในสาขา กำกับภาพยอดเยี่ยม และสาขา ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2534 [[สยึ๋มกี๋ย]] ได้รับรางวัลจาก[[ชมรมวิจารณ์บันเทิง]]ในสาขา ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2537 [[ฉลุยหิน – คนไข่สุดขอบโลก]] ได้รับ [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]]ในสาขา เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จาก[[สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์]]ในสาขา แต่งหน้ายอดเยี่ยม และได้รับรางวัลจาก[[ชมรมนักวิจารณ์บันเทิง]]ในสาขา กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2538 [[โลกทั้งใบให้นายคนเดียว]] ได้รับ 8 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จาก[[สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์]] ได้รับ 3 [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]] รวมถึงรางวัลภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดประจำปี
[[เกิดอีกที…ต้องมีเธอ]] ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จาก[[สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์]] ในสาขา แต่งหน้ายอดเยี่ยม สาขา เทคนิคพิเศษทางภาพยอดเยี่ยม สาขา เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสาขา ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ได้รับ [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]]ในสาขา บันทึกเสียงยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2539 [[เจนนี่…กลางวันครับ กลางคืนค่ะ]] ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จาก[[สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์]]ในสาขา เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2541 [[ฝันติดไฟ หัวใจติดดิน]] ได้รับ [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]]ในสาขา นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม และสาขา นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
[[ปาฏิหาริย์…โอม+สมหวัง]] ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จากสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ในสาขา เทคนิคพิเศษทางภาพยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2542 [[โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน]] ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จาก[[สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์]] ในสาขา บันทึกเสียงยอดเยี่ยมได้รับ [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]] ในสาขา นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลจาก [[ชมรมวิจารณ์บันเทิง]]ในสาขา ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2543 [[ฟ้าทะลายโจร]] ได้รับ [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]] ในสาขา เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สาขา กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และสาขา เทคนิคพิเศษทางภาพยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จาก[[สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์]] ในสาขา เทคนิคพิเศษทางภาพยอดเยี่ยม และสาขา ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลจาก [[ชมรมวิจารณ์บันเทิง]]ในสาขา นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม สาขา กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และสาขา ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม และอีกหลายๆสถาบันทั้งในและต่างประเทศ
[[บางกอกแดนเจอรัส]] ได้รับ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จาก[[สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์]] ในสาขา นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม สาขา นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และสาขา นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลจาก [[ชมรมวิจารณ์บันเทิง]]ในสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สาขา กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม สาขา บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสาขา ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2544 [[บางระจัน]] ได้รับ 11 [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]] และอีกหลายรางวัลจากหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ฯลฯ
[[โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ]] ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จากสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ในสาขา กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสาขา ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม ได้รับ [[รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี]] จาก[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]]ในสาขา ตัดต่อลำดับภาพยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลจาก[[ชมรมวิจารณ์บันเทิง]]ในสาขา นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2545 [[พรางชมพ]] ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] ในสาขา เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2546 [[องคุลิมาล]] ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] จาก[[สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์]] ในสาขา นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม สาขา ออกแบบเครี่องแต่งกายยอดเยี่ยม สาขา การสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลจาก [[สตาร์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์อวอร์ด]] ในสาขา กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และสาขา ออกแบบเครี่องแต่งกายยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2547 [[ทวิภพ]] ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] ในสาขา กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม สาขา ออกแบบเครี่องแต่งกายยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลจาก [[ชมรมวิจารณ์บันเทิง]]ในสาขา กำกับภาพยอดเยี่ยม และสาขา กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลจาก [[สตาร์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์อวอร์ด]] ในสาขา ออกแบบเครี่องแต่งกายยอดเยี่ยม
* พ.ศ. 2548 [[ขุนกระบี่ ผีระบาด]] ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุพรรณหงส์ทองคำ]] ในสาขา แต่งหน้ายอดเยี่ยม
 
== รางวัลต่างประเทศ ==