ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์โก้นบอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Antelope (คุย | ส่วนร่วม)
ภาพนี้คมชัดกว่า
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 67:
ราชวงศ์อลองพญานั้นได้รับการสถาปนาขึ้นโดยการเสวยราชสมบัติของ[[พระเจ้าอลองพญา]]ในปี [[พ.ศ. 2295]] พระองค์สามารถขับไล่ชาวมอญและยึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2302]] ภายหลังการล่มสลายของ[[ราชวงศ์ตองอู]] ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองเมือง[[มณีปุระ]]ได้ในช่วงเวลาเดียวกัน ทรงสถาปนา[[เมืองชเวโบ]]ขึ้นเป็นราชธานี ก่อนจะย้ายไปที่[[อังวะ]] และทรงพัฒนาเมือง[[ย่างกุ้ง]] หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ขึ้นเป็นเมืองท่าสำคัญ และกลายเป็นเมืองหลวงในเวลาต่อมา
 
ต่อมาพระเจ้าอลองพญาได้ทรงนำทัพบุก[[อาณาจักรอยุธยา]] เนื่องจากทางอยุธยาได้ให้การสนับสนุนมอญที่ลี้ภัยสงครามเข้ามาพึ่งบารมีกษัตริย์ไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัย[[สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ]] และไม่พอใจที่ไทยยึดเรือสินค้าที่จะเดินทางมาค้าขายกับพม่าที่เมือง[[มะริด]] โดยเดินทัพเข้ามาทาง[[ด่านสิงขร]] ทาง[[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] แต่ไม่ประสบความสำเร็จและสิ้นพระชนม์หลังจากการทำสงครามครั้งนั้น [[พระเจ้ามังระ]]ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของพระราชบิดาต่อ โดยได้ส่งทัพใหญ่มา 2 ทางล้อมกรุงศรีอยุธยาในปี [[พ.ศ. 2307]] ทางหนึ่งให้[[เนเมียวสีหบดี]]นำพลเข้ามาทางเหนือด้วยการตี[[ล้านนา]] [[ล้านช้าง]]และหัวเมืองเหนือก่อน และอีกทางหนึ่งให้มังมหานรธานำกองทัพเข้ามาทางใต้ ทั้ง 2 ทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้นานถึง 1 ปีครึ่ง แม้ผ่านฤดูน้ำหลากก็ไม่ยกทัพกลับ ภายหลังแม่ทัพฝ่ายใต้ คือ มังมหานรธาจะเสียชีวิตลง ก็ส่งแม่ทัพคนใหม่จากเมือง[[เมาะตะมะ]]ชื่อ[[เมงเยเมงละอูสะนา]]เข้ามาทำหน้าที่แทน จนในที่สุดก็สามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตกได้ในปี [[พ.ศ. 2310]] แต่กองทัพพม่าก็อยู่ไม่นาน เนื่องจาก[[พระเจ้ามังระ]]ทรงให้เร่งทำการและรีบกลับเพื่อทำ[[สงครามจีน-พม่า|สงครามกับ]][[จีน]]ในรัชสมัยของ[[จักรพรรดิเฉียนหลง]]
 
ถึงแม้อาณาจักรอยุธยาจะถูกทำลายราบคาบก็ตาม แต่[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ก็ทรงสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาใหม่ที่[[กรุงธนบุรี]] พระเจ้ามังระจึงทรงส่งแม่ทัพคนใหม่มา คือ [[อะแซหวุ่นกี้]] นำทัพใหญ่เข้ามาปราบปรามฝ่ายธนบุรีในปี [[พ.ศ. 2318]] อะแซหวุ่นกี้สามารถตีหัวเมือง[[พิษณุโลก]]แตก และกำลังจะยกทัพตามลงมาตาม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] แต่ก็ต้องยกทัพกลับเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้ามังระ ในปี [[พ.ศ. 2319]] จากนั้นก็เกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเองราว 4 - 5 ปี ก่อนที่จะกลับมามีความมั่นคงขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยของ[[พระเจ้าปดุง]] พระองค์ทรงยกทัพเข้าตีดินแดน[[ยะไข่]] ได้สำเร็จ ซึ่งไม่เคยมีกษัตริย์พม่าพระองค์ใดทำได้มาก่อน ทำให้พระองค์เกิดความฮึกเหิม ยกกองทัพใหญ่มาถึง 9 ทัพ 5 เส้นทาง ที่เรียกว่า [[สงครามเก้าทัพ]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] แต่ไม่ประสบความสำเร็จ