ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
FoxBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ko:승상
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
'''"อัครมหาเสนาบดี"''' ({{zh-all|t=丞相|s=丞相|p=chéngxiàng, ''เฉิงเซี่ยง''}}) เป็นชื่อตำแหน่งข้าราชการประจำชั้นสูงสุดใน[[ประเทศจีน]]สมัย[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]] โดยอาจมีอายุย้อนหลังไปถึงสมัย[[ราชวงศ์ฉิน]]ที่เริ่มกำหนดตำแหน่ง "นายกแห่งข้าราชการพลเรือนทั้งปวง" ({{lang-en|"head of all civil service officials"}}) <ref>Li (2007), 74-75.</ref> อันอำนาจและหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งนี้นั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคแต่ละสมัย
 
== ศัพทมูล ==
บรรทัด 5:
ชื่อตำแหน่ง "อัครมหาเสนาบดี" นี้ ในประเทศไทยมีการแปลไปต่าง ๆ เช่น ในเรื่อง[[สามก๊ก]]ฉบับแปลไทย [[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)|เจ้าพระยาพระคลัง (หน บุญหลง)]] ใช้ว่า "เจ้าพระมหาอุปราช" และเรียกสั้น ๆ ว่า "มหาอุปราช" โดย [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ว่า เจ้าพระยาพระคลัง (หน บุญหลง) คงหยิบยกเอาชื่อบรรดาศักดิ์จาก[[พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน]]มาใช้เป็นมั่นคง<ref>สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544.</ref>
 
ขณะที่ในละครชุดจีนที่ฉายในประเทศไทยหลาย ๆ เรื่อง แปลอย่างอื่นก็มี เช่น "สมุหนายก, " "อำมาตย์, " "เสนาบดี, " "มหาอำมาตย์" เป็นอาทิ ฝ่ายภาษาอังกฤษเอง ก็ใช้หลายคำต่างกัน ยังไม่ลงรอย เช่น "Chancellor, " "Prime Minister, " "Premier, " "Chief Councillor" เป็นอาทิ ซึ่งในภาษาอังกฤษนั้น คำดังยกมาแสดงนี้ล้วนเป็นไวพจน์ซึ่งกัน ใช้แทนกันได้ ส่วนภาษาไทยหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะล้วนแต่หมายถึงตำแหน่งอันต่างลำดับศักดิ์กัน ที่ถูกต้องเป็น "อัครมหาเสนาบดี" เมื่อเทียบกันแล้ว
 
== ประวัติ ==
 
ใน[[ยุคชุนชิว]] เมื่อ 685 ปี[[ก่อนคริสต์ศักราช]] ข้าราชการแห่ง[[รัฐฉี]] ชื่อ "[[กวั่น จ้ง]]" ({{zh-all|c=管 仲|p=guǎGuǎn zhòZhòng}}) ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดีคนแรกในประเทศจีน<ref>{{zh icon}} [http://www.sd.xinhuanet.com/news/2004-09/19/content_2896197.htm Guan Zhong Memorial Opened in Linzi], [[Xinhuanet]] September 19, 2004.</ref> โดยต่อมาใน[[ยุคจ้านกว๋อ|ยุคจั้นกว๋อ]] [[รัฐฉิน]]เรียกชื่อตำแหน่งดังกล่าวอย่างเป็นทางการว่า "นายกแห่งข้าราชการพลเรือนทั้งปวง" ({{lang-en|""head of all civil service officials""}}) ในกาลครั้งนั้น บางคราวก็มีอัครมหาเสนาบดีสองคน คนหนึ่งเรียก "อัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย" ({{lang-en|Chancellor of the Left}}) หรือ "เอกอัครมหาเสนาบดี" ({{lang-en|the Senior Chancellor}}) อีกคนเรียก "อัครมหาเสนาบดีฝ่ายขวา" ({{lang-en|Chancellor of the Right}}) หรือ "อุปอัครมหาเสนาบดี" ({{lang-en|the Junior Chancellor}})
 
เมื่อยุคจั้นกว๋อสิ้นสุดลงด้วยการผนึกแว่นแคว้นและสถาปนา[[ราชวงศ์ฉิน]]ของ[[ฉินชื่อหวง]] อัครมหาเสนาบดีหนึ่ง ราชเลขาธิการ ({{lang-en|Imperial Secretary}}) หนึ่ง กับผู้บัญชาการทหารสูงสุด ({{lang-en|Grand Commandant}}) หนึ่ง รวมเป็นสาม เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดในการบริหารประเทศ รวมกันเรียกว่า "[[สามมูลนาย]]" ({{zh-all|t=三公|p=sān gōng, ''ซันกง''}}; {{lang-en|the Three Excellencies}}) <ref>Li (2007), 75.</ref>
 
สมัย[[ราชวงศ์ซ่ง]] ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี หรือ "เฉิงเซี่ยง" นั้น บางทีก็เรียก "" ({{zh-all|c=同平章事|p=tóngpíngzhāngshì}}) <ref>{{zh icon}} [http://www.zf158.com/friend/article_preview.php?know_id=372&know_type=44< Chancellor in the Song Dynasty].</ref> บางทีก็เรียก "เซี่ยง" ({{zh-all|c=首相|p=shǒxiàng}}) และมีตำแหน่งรองอัครมหาเสนาบดี เรียก "เซี่ยง" ({{zh-all|c=次相|p=cìxiàng}}) <ref>{{zh icon}} [http://www.historyteaching.net/lsxx/show.asp?id=411 The Change of Central Administration in Tang and Song Dynasties].</ref> แล้วบางทีก็กลับไปเรียกอย่างสมัยราชวงศ์ถัง
 
สมัย[[ราชวงศ์หยวน]] อัครมหาเสนาบดีมิได้เป็นหัวหน้ารัฐบาล หากได้แก่ "มกุฎราชกุมาร" ({{zh-all|c=皇太子|p=huángtàizǐ}})
บรรทัด 21:
== ดูเพิ่ม ==
 
* [[มหาอำมาตย์]]
* [[การสอบจอหงวน]]
* [[รายชื่ออัครมหาเสนาบดีคนสำคัญของจีน]]
 
== เชิงอรรถ ==
บรรทัด 31:
== อ้างอิง ==
 
* {{cite book |last= Li |first= Konghuai |title= History of Administrative Systems in Ancient China|publisher= Joint Publishing (H.K.) Co., Ltd. |year= 2007|language=Chinese |isbn= 978-962-04-2654-4}}
* {{cite journal |last=Wang |first=Yü-Ch'üan|year=1949 |month= June|title=An Outline of The Central Government of The Former Han Dynasty |journal=Harvard Journal of Asiatic Studies |volume=12 |issue=1/2 |pages=134–187|doi=10.2307/2718206}}