ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษีธุรกิจเฉพาะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 2652802 สร้างโดย 58.11.5.161 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
[[หมวดหมู่:ภาษี]]
{{โครงเศรษฐศาสตร์}}
 
{{ภาษีธุรกิจเฉพาะ
 
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่
1. การธนาคาร
2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3. การรับประกันชีวิต
4. การรับจำนำ
5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร
7. การขายหลักทรัพย์
8. การประกอบกิจการอื่น
 
การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. กิจการที่ประกอบธุรกิจที่เหมือนกับธุรกิจเฉพาะบางประเภท ซึ่งได้รับการ ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีดังต่อไปนี้
 
1) กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
 
2) กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3) กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิกหรือแก่ สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น
4) กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
5) กิจการของการเคหะแห่งชาติ
6) กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น
7) กิจการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 และ (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2540
2. รายรับที่ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มี 2 กรณีดังต่อไปนี้
1) กรณีการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ได้รับการ ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะส่วนรายรับสำหรับกิจการธนาคาร พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 259) พ.ศ. 2535 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์
2) กรณีประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ กรมสรรพากรวางแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 26/2534 กำหนดให้รายรับกรณีดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ รายรับกรณีดังนี้
(1) กรณีบริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมกันเอง ไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีนี้ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำว่า “บริษัทในเครือเดียวกัน” หมายความว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำเงินทุน เงินกู้ยืม เงินเพิ่มทุน หรือเงินที่อื่นที่เหลืออยู่ไปฝากธนาคารหรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่นโดยได้รับดอกเบี้ยตามอัตราปกติ ดอกเบี้ยนั้นเป็นรายรับที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็ตาม
ตามข้อ (1) และ (2) ไม่รวมถึงการประกอบกิจการธนาคาร กิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงานหรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ โดยคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ให้กู้นั้นตามสมควร ไม่ต้องนำดอกเบี้ยนั้นรวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
 
ฐานภาษีและอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ
กิจการ ฐานภาษี
อัตราภาษีร้อยละ
1. กิจการธนาคาร ธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจ
เครดิตฟองซิเอร์ และการ
ประกอบกิจการเยี่ยง
ธนาคารพาณิชย์
- ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม
ค่าบริการ หรือ กำไรก่อนหัก
รายจ่ายใดๆ จากการซื้อหรือขาย
ตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้
ใดๆ
- กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ
แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา
การออกตั๋วเงินหรือการส่งเงินไป
ต่างประเทศ
3.0
3.0
2. กิจการรับประกันชีวิต
- ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือ
ค่าบริการ
2.5
3. กิจการโรงรับจำนำ
- ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม
- เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ
ประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ
หรือพึงได้รับจากการขายของที่
จำนำหลุดเป็น
สิทธิ
2.5
2.5
4. การค้าอสังหาริมทรัพย์
- รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ
3.0
กิจการ ฐานภาษี
อัตราภาษีร้อยละ
5. การขายหลักทรัพย์ในตลาด
หลักทรัพย์
- รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ
0.1 (ยกเว้น)
6. การซื้อและขายคืน
หลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต
จากคณะกรรมการกำกับ
หลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์
- กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ
 
ขายคืนหลักทรัพย์แต่ไม่รวมถึง
ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือ
ผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้จาก
หลักทรัพย์
3.0
7. ธุรกิจแฟ็กเตอริง
- ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม
 
หรือค่าบริการ
3.0
 
การจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
 
1. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียธุรกิจเฉพาะ กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ที่ ผู้ขายมีไว้ในการประกิจการ
2. กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
3. การให้กู้ยืมเงินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจดังกล่าว ซึ่งให้กู้ยืมเงินเป็นครั้งคราวมิใช่การประกอบกิจการเป็นปกติธุระ ในการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ (สพท.) ในต่างจังหวัดให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัดในกรณีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองแล้วแต่กรณี
การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
ผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.ธ. 40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป การยื่นแบบ ภ.ธ. 40 และชำระภาษี ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือเขตท้องที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่
 
เอกสารหลักฐานและบัญชีที่ต้องจัดทำ
ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนอกจากต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วยังมีหน้าที่ต้องทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่าย ทั้งที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและที่ไม่ต้องเสียรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยต้องจัดทำ รายงานแสดงเป็นรายวัน และรวมยอดเมื่อถึงสิ้นเดือนทุกเดือน รายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายต้องจัดตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเป็นรายสถานประกอบ กิจการ และการลงรายการต้องจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน ทำการนับแต่วันที่มี รายรับ
รายงานที่ต้องจัดทำและหลักฐานประกอบกิจการจัดทำรายงานต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี โดยเก็บไว้ ณ สถาน-ประกอบการที่ได้จัดทำรายงาน หากผู้ประกอบกิจการจะเก็บรักษารายงานและ หลักฐานประกอบกิจการจัดทำรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดี กรมสรรพากรก่อน
 
การบันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
กิจการที่มีรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะบันทึกรายการปรับปรุงภาษีธุรกิจเฉพาะค้างจ่ายของเดือนภาษีนั้นทุกเดือน หรือปรับปรุงรายการเฉพาะเดือนสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ เพื่อให้การรับรู้รายการภาษีธุรกิจเฉพาะของรอบระยะเวลาบัญชีที่จะแสดงในงบกำไรขาดทุนครบถ้วน ส่วนกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ที่จ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดินจะต้องบันทึกรายการภาษีธุรกิจเฉพาะในวันที่โอนกรรมสิทธิ์}}