ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันมวยไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Benjaras (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''วันมวยไทย''' ตรงกับวันที่ [[6 กุมภาพันธ์]] ของทุกปี เป็นวันที่ โดยถือวันที่[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (สมเด็จพระเจ้าเสือ)]] เสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์ และมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน <ref>http://www.culture.go.th/thai/index.php?option=com_content&view=article&id=1712:2012-02-06-07-02-29&catid=34:news&Itemid=351</ref>
'''วันมวยไทย''' หรือ '''วันนักมวย''' ตรงกับวันที่ [[17 มีนาคม]] ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่[[นายขนมต้ม]] นัก[[มวยคาดเชือก]]ชาวอยุธยา ที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นเชลยในระหว่าง[[เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2]] ขึ้นชกมวยต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้าอังวะ และสามารถชกชนะนักมวยพม่าได้ถึงสิบคนติดต่อกัน เมื่อวันที่ [[17 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2317]] <ref>http://www.calend.ru/holidays/0/0/1546/</ref><ref>http://www.muay.ru/muay-thai/</ref><ref>http://todase.kz/blog/sobytiya/17-marta-den-nacionalnogo-boksa-muaj-taj/</ref>
 
== ประวัติความเป็นมาของการสถาปนาวันมวยไทย ==
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชนชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ ดังปรากฏในประวัติศาสตร์และพงศาวดารมาทุกยุคทุกสมัย เป็นการใช้อาวุธของร่างกาย ๙ อย่าง หรือที่เรียกว่า นวอาวุธ ได้แก่ มือ ๒/เท้า ๒/ เข่า ๒/ ศอก ๒ และศีรษะ ๑ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของโลก จากความสำคัญดังกล่าวมานี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ซึ่งจะเป็นมาตรการสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในคุณค่าการยกย่ององค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ
ใน พ.ศ. 2310 [[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|กรุงศรีอยุธยาได้พ่ายแพ้แก่พม่าและเสียกรุง]] มีชาวไทยถูกต้อนเป็นเชลย ซึ่งมี[[นายขนมต้ม]]รวมอยู่ด้วย ต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2313 นายขนมต้มได้แสดงฝีมือต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าอังวะ ในงานฉลองพิธียกฉัตรยอดพระมหาเจดีย์ธาตุ การประลองในครั้งนั้น นายขนมต้มสามารถชนะนักมวยชาวพม่าได้สิบคน พระเจ้าอังวะทอดพระเนตรแล้วตรัสสรรเสริญว่า ชาวไทยมีพิษสงอยู่ทั่วตัว แม้มีมือเปล่าไม่มีอาวุธ ยังสามารถชนะนักมวยชาวพม่าได้สิบคน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้ยึดเอาวันที่ 17 มีนาคม ดังกล่าว เป็นวันมวยไทยของทุกปี<ref>สมบัติ สวางควัฒน์. (2554). '''ย้อนตำนานแวดวงมวยไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน'''. สำนักพิมพ์ ก้าวแรก. ISBN 978-616-7446-13-4. หน้า 138-139</ref>
นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับภาคเอกชนที่ดำเนินการเกี่ยวกับมวยไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีมติเป็นเอกฉันท์ในการร่วมกันผลักดันให้มีการสถาปนาวันมวยไทยขึ้น โดยได้พิจารณาจากข้อเสนอต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ซึ่งในที่สุดได้เห็นชอบให้วันขึ้นเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (สมเด็จพระเจ้าเสือ) คือ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ เป็นวันมวยไทย (วันเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติตรงกับวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๒๔๕) เนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์ คือ
๑. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ เป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เสด็จออกไปชกมวยกับสามัญชน
๒. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีความสามารถเกี่ยวกับมวยไทยมาก ทรงคิดท่าแม่ไม้ ไม้กลมวยไทยขึ้นมาเป็นแบบฉบับเฉพาะพระองค์ เรียกว่า “มวยไทยตำรับพระเจ้าเสือ” และได้รับการถ่ายทอดเป็นตำรามวยไทยให้แก่คนรุ่นหลังจนถึงทุกวันนี้
๓. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ใช้ศิลปะมวยไทยในการปกป้องราชอาณาจักรให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาวต่างชาติ
ในการนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ กำหนดให้วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมวยไทย”
<ref>กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2555). '''วันมวยไทย'''. หน้า 15</ref>
 
== การเฉลิมฉลอง ==
เส้น 14 ⟶ 21:
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
 
{{commonscat|Muay Thai|มวยไทย}}
* [http://www.calend.ru/holidays/0/0/1546/ День национального бокса Муай Тай в «Календаре праздников»] {{ru icon}}
* [http://todase.kz/blog/sobytiya/17-marta-den-nacionalnogo-boksa-muaj-taj/ 17 марта – день национального бокса Муай Тай] {{ru icon}}
* [http://www.muay.ru/muay-thai/ มวยไทย] {{ru icon}}
 
[[หมวดหมู่:วันสำคัญของไทย|มวยไทย]]
[[หมวดหมู่:มวยไทย]]
{{โครงปี}}
 
[[ru:День национального бокса Муай Тай]]