ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:เขียนงานอย่างไรให้เป็นกลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jutiphan (คุย | ส่วนร่วม)
เริ่มบทความใหม่
 
Jutiphan (คุย | ส่วนร่วม)
+ตัวอย่างเพิ่ม
บรรทัด 6:
|colspan =2 | '''ทักษิณ ชินวัตร กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป'''
|-
|[[ภาพ:Crystal 128 error.png|10080px]]<br> เข้าข่ายไม่เป็นกลาง
|ในวันจันทร์ที่ [[23 มกราคม]] ครอบครัว[[ชินวัตร]]และ[[ดามาพงศ์]] ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน[[บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)]] ก็ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ จำนวน 49.595% ให้กับบริษัท[[เทมาเส็ก โฮลดิ้ง|เทมาเส็ก]]ของ[[ประเทศสิงคโปร์|สิงคโปร์]] อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลทักษิณได้ชี้แจงว่า พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็น พรบ. ที่ออกบังคับใช้เป็นการทั่วไปในภาคธุรกิจโทรคมนาคม ของประเทศ ไม่ได้บังคับใช้กับบริษัทชินวัตรเพียงบริษัทเดียว และในเรื่องส่วนเรื่องสัดส่วนการลงทุนจากต่างชาตินั้น ได้มีข้อตกลงของ WTO มาตั้งแต่ปี 2541 ในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่า ประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีรับการลงทุนจากต่างประเทศใน 8 ปี และกฎหมายนี้ ก็เข้าสู่การพิจารณาของสภามาตั้งแต่ปี 2547 ก่อนที่จะมีดำริขายหุ้นออกมาจากตระกูลชินวัตร และกฎหมายที่ผ่านสภานิติบัญญัติทั้งสองสภาไปแล้วย่อมไม่เป็นความลับ นอกจากนี้การเจรจาขายหุ้นของชินวัตร เพิ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม 2548 ฝ่ายผู้ที่สนับสนุนจึงสรุปว่าทั้งหมดนี้เป็นประเด็นโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มองแต่เรื่องการเมือง และพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เข้าด้วยกัน โดยที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน
|-
|[[ภาพ:Crystal Clear app clean.png|10080px]]<br> มุมมองที่เป็นกลาง
|วันที่ [[23 มกราคม]] [[พ.ศ. 2549]] ระหว่างการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่สอง ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ตระกูลชินวัตร และ ดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมด ใน [[บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)]] ให้แก่ [[เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์|บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จำกัด]] (พีทีอี) ซึ่งเป็น กองทุนเพื่อการลงทุน ของ รัฐบาลสิงคโปร์ จำนวน 1,487,740,000 หุ้น (หนึ่งพันสี่ร้อยแปดสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นหุ้น) (คิดเป็น 49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท (เจ็ดหมื่นสามพันสองร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านสองแสนเก้าร้อยสิบบาทถ้วน) ซึ่งถือเป็น การขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่าน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] ทำให้เกิด เสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในสังคมไทย โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นจุดที่ทำให้ [[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|กระแสการขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ออกจาก นายกรัฐมนตรี]] ขยายตัวออกไปในวงกว้าง
|-
บรรทัด 17:
|colspan =2 | '''GotoKnow'''
|-
|[[ภาพ:Crystal 128 error.png|10080px]]<br> เข้าข่ายการโฆษณา
|กำเนิด Gotoknow Weblog Gotoknow.org ได้ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้การสนับสนุนของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) พัฒนาโปรแกรมโดย ดร. จันทวรรณ น้อยวัน และ ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Gotoknow ได้นำขึ้นใช้เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 ในครั้งแรก ในขณะนั้น Gotoknow ต้องเช่าเครื่องแม่ข่าย (server) ผ่านทางบริษัท servepath ซึ่งติดตั้งเครื่องที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และในปัจจุบันอยู่ในระหว่างการย้ายกลับมายังประเทศไทย เนื่องมีผู้ใช้จำนวนมากอย่างเกินความคาดหมาย ทำให้ระบบล่าช้า
 
สคส. ทำอะไรบ้างกับ Gotoknow? เริ่มต้นจากวงเล็กๆ ภายในกลุ่มภาคีที่ สคส. คุ้นเคยและไปแนะนำกระบวนการ KM ผ่านรูปแบบ workshop ใน session ท้ายก็จะมีการสอนให้รู้จัก Gotoknow และขออาสาสมัครมาทดลองเปิดลงทะเบียนใช้จริง เพื่อเป็นการสาธิตให้ท่านอื่นได้ดูตามไปด้วย ทีมงาน สคส. จะประชาสัมพันธ์ทุกครั้งที่ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร หรือร่วมในการประชุม เสวนาในทุกเรื่อง จากนั้นไม่นาน สคส. ได้เรียนรู้ว่า gotoknow นั้น เป็นเครื่องมือชั้นเยี่ยมเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ปฏิบัติ ทั้งในสายงานเดียวกัน ข้ามสายงาน หรือแม้แต่ข้ามองค์กรก็สามารถทำได้ ผู้ใช้ หรือที่เราเรียกกันว่า blogger นั่นเอง เริ่มมีพัฒนาการในการประยุกต์ใช้ Gotoknow สคส. จึงเดินเครื่องเพื่อเสริมกำลังใจแก่ active blogger เหล่านั้น ให้หัวใจพองโตมากยิ่งขึ้น สคส. เริ่มใช้กลยุทธ์การให้รางวัลเพื่อกระตุ้นให้บรรยากาศคึกคักขึ้น เริ่มจากรางวัล “สุดคนึง” (Best Blog of the Month) และต่อมาเพิ่มรางวัล “จตุรพลัง” (คุณเอื้อ, คุณอำนวย, คุณกิจ, และคุณลิขิตดีเด่น)
|-
|[[ภาพ:Crystal Clear app clean.png|10080px]]<br> มุมมองที่เป็นกลาง
|'''Gotoknow.org''' เป็น[[บล็อก]] สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้บน[[อินเทอร์เน็ต]] พัฒนาโดย ดร. จันทวรรณ น้อยวัน และ ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ จากคณะวิทยาการจัดการ [[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] เริ่มใช้เมื่อวันที่ [[15 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2548]]<ref name="ข่าว">[http://www.thaitv3.com/what_up/newsletter.html ข่าวฉลองครบรอบ 1 ปี Gotoknow]</ref> โดยในขณะนั้นมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ [[ซานฟรานซิสโก]]ใน[[สหรัฐอเมริกา]] ก่อนที่จะย้ายมาที่เมืองไทยในวันที่ [[27 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2549]] ภายใต้การสนับสนุนหลักโดย[[สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม]] (สคส.) ในเว็บไซต์จะมีการแบ่งย่อยออกเป็นตามกลุ่ม (หลายชุมชน) ตามเนื้อหาที่สนใจ เช่น ชุมชนเบาหวาน ชุมอาหารปลอดภัย ชุมชนการป้องกันโรค นอกจากนี้ ในแต่ละหน้าจะเชื่อมโยงกันตาม[[กลุ่มป้าย]]เพื่อง่ายต่อการค้นหาและเชื่อมโยงเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน
|}
 
{|class="wikitable"
|colspan =2 | '''Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย'''
|-
|[[ภาพ:Crystal 128 error.png|80px]]<br> เข้าข่ายการโฆษณา
|'''seasons<span style="color:#ff7f50">change เพราะอากาศ</span>เปลี่ยนแปลงบ่อย''' เป็น[[ภาพยนตร์]]ไทย เรื่องราวเกี่ยวกับ เด็กวัยรุ่น 5 คน ประกอบด้วย 3 หนุ่ม 2 สาว ที่มีความใฝ่ฝันว่าจะเป็นนัก[[ดนตรี]]ที่ประสบความสำเร็จ แต่ละคน จึงเลือกทางเดินชีวิตของตน เข้ามาสู่ '''[[วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล|วิทยาลัยดุริยางคศิลป์]] [[มหาวิทยาลัยมหิดล]]''' เป็นเส้นทางที่ทำให้ทั้งหมดมาพบกัน และ ก่อนหน้านั้น ก้าวแรกสู่วงการ[[เพลง]]ของสามหนุ่ม คือ การเข้าประกวด วงดนตรีระดับมัธยมศึกษา ที่ดังกระหึ่ม[[ที่สุดในประเทศไทย|ที่สุดในประเทศ]] นาม [[ฮอทเวฟมิวสิคอวอร์ด]] แม้จะพบอุปสรรคท้อใจ แต่เด็กๆ เหล่านี้ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ พวกเขาและเธอ จะไปถึงจุดหมายสูงสุดของชีวิตหรือไม่....
|-
|[[ภาพ:Crystal Clear app clean.png|80px]]<br> มุมมองที่เป็นกลาง
|'''Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย''' เป็น[[ภาพยนตร์]]ไทย เรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเด็กวัยรุ่น 3 คน ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี ที่ [[วิทยาลัยดุริยางคศิลป์]] [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] โดยเปรียบเทียบกับฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ กำกับโดย [[นิธิวัฒน์ ธราธร]] และเข้าฉาย เมื่อวันที่ [[31 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2549]]
|}