ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิวเคลียสของเซลล์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
Robot: es:Núcleo celular is a good article
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:biological_cell.svg|thumb|330px|ภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วย[[ออร์แกเนลล์]]ต่าง ๆ ดังนี้ (1) [[นิวคลีโอลัส]], (2) [[นิวเคลียสเซลล์|นิวเคลียส]], (3) [[ไรโบโซม]], (4) [[เวสิเคิล]], (5) [[เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม]]แบบผิวขรุขระ, (6) [[กอลไจแอปพาราตัส]], (7) [[ไซโทสเกลเลตอน]], (8) [[เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม]]แบบผิวเรียบ, (9) [[ไมโทคอนเดรีย]], (10) [[แวคิวโอล]], (11) [[ไซโทพลาซึม]], (12) [[ไลโซโซม]], (13) [[เซนทริโอล]]]]
 
ในทาง[[ชีววิทยาของเซลล์]] '''นิวเคลียส''' ({{lang-en|Nucleus}}; พหูพจน์: Nuclei) คือ[[ออร์แกเนลล์]]ที่มีเยื่อหุ้มพบใน[[เซลล์ (ชีววิทยา)|เซลล์]][[ยูแคริโอต]] ภายในบรรจุ[[สารพันธุกรรม]] (genetic material) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็น[[ดีเอ็นเอ]] (DNA) สายยาวรวมตัวกับ[[โปรตีน]]หลายชนิด เช่น [[ฮิสโตน]] (histone) เป็น[[โครโมโซม]] (chromosome) [[หน่วยพันธุกรรม|ยีน]] (gene) ต่างๆ ภายในโครโมโซมเหล่านี้ รวมเรียกว่า [[นิวเคลียส จีโนม]] (nuclear genome) หน้าที่ของนิวเคลียสคือการคงสภาพการรวมตัวของยีนเหล่านี้และควบคุมการทำงานของเซลล์โดยการควบคุม[[การแสดงออกของยีน]] (gene expression)
 
โครงสร้างหลักของนิวเคลียสคือ [[เยื่อหุ้มนิวเคลียส]] (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อสองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจาก[[ไซโทพลาซึม]] (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ [[นิวเคลียร์ลามินา]] (nuclear lamina) ซึ่งเป็นโครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส คล้าย[[ไซโทสเกลเลตอน]] (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงต้องมี[[นิวเคลียร์พอร์]] (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ ช่องเหล่านี้ทะลุผ่านเยื่อทั้งสองของเยื่อหุ้มนิวเคลียสให้โมเลกุลขนาดเล็กและ[[ไอออน]]เคลื่อนที่เข้าออกนิวเคลียสได้ การเคลื่อนที่เข้าออกของสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ต้องมีการควบคุมและต้องใช้โปรตีนช่วยขนส่งสาร (carrier proteins)