ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาเสือตอลายใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26:
==ลักษณะ==
มีรูปร่างแบนข้าง ปากยาวสามารถยืดได้ ครีบก้นเล็กมีก้านครีบแข็ง 3 ชิ้น ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งมีเงี่ยง 13 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน พื้นลำตัวสีเหลืองน้ำตาลจนถึงสีส้มอมดำ มีแถบสีดำคาดขวางลำตัวในแนวเฉียงรวมทั้งสิ้นประมาณ 5-6 แถบ หรือ 7 แถบ ส่วนหัวมีลักษณะลาดเอียงมาก เกล็ดเป็นแบบสาก มีลักษณะนิสัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ใต้น้ำ โดยมักจะอาศัยบริเวณใกล้ตอไม้หรือโพรงหินด้วยการอยู่ลอยตัวอยู่นิ่งๆ หัวทิ่มลงเล็กน้อย หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารแบบฉกงับ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กและแมลงต่างๆ มีขนาดลำตัวโตสุดประมาณ 40 [[เซนติเมตร]] หนักถึง 7 [[กิโลกรัม]]
==การกระจายพันธุ์==
==ที่อยู่==
อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ใน[[ภาคกลาง]]ของ[[ประเทศไทย]] เช่น [[แม่น้ำเจ้าพระยา]], [[แม่น้ำแม่กลอง]], [[แม่น้ำท่าจีน]] ในภาคอีสานเช่น [[แม่น้ำโขง]]และสาขา ต่างประเทศพบที่[[กัมพูชา]]และ[[เวียดนาม]] โดยเฉพาะทื่[[บึงบอระเพ็ด]]เป็นที่ขึ้นชื่อมากเพราะมีรสชาติอร่อย กล่าวกันว่า ใครไปถึงบึงบอระเพ็ดแล้ว ไม่ได้กินเสือตอ ถือว่าไปไม่ถึง แต่ปัจจุบัน ไม่มีรายงานการพบมานานแล้ว จนเชื่อว่าสูญพันธุ์จากธรรมชาติแล้วในประเทศไทย
 
 
เป็นปลาที่ได้รับการคุ้มครองจาก[[กฎหมาย]]ในประเทศไทย เป็นสัตว์น้ำจืดคุ้มครองของ[[กรมประมง]]ร่วมกับปลาชนิดอื่น อีก 3 ชนิด ([[ปลาตะพัด]] (''Scleropages formosus''), [[ปลาหมูอารีย์]] (''Yasuhikotakia sidthimunki'') และ [[ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์]] (''Oreoglanis siamensis'')) ซึ่งหากใครจะค้าขายหรือเพาะเลี้ยงต้องได้รับการอนุญาตก่อน
== การอนุรักษ์ ==
ปลาเสือตอลายใหญ่เป็นปลาที่ได้รับการคุ้มครองจาก[[กฎหมาย]]ในประเทศไทย เป็นสัตว์น้ำจืดคุ้มครองของ[[กรมประมง]]ร่วมกับปลาชนิดอื่น อีก 3 ชนิด ([[ปลาตะพัด]] (''Scleropages formosus''), [[ปลาหมูอารีย์]] (''Yasuhikotakia sidthimunki'') และ [[ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์]] (''Oreoglanis siamensis'')) ซึ่งหากใครจะค้าขายหรือเพาะเลี้ยงต้องได้รับการอนุญาตก่อน
 
เป็นปลาที่ได้รับความนิยมมากจากนักเลี้ยงปลาสวยงาม เพราะมีสีสันและลวดลายที่สวยงาม เมื่อเวลาล่าเหยื่อจะกางครีบทุกครีบ ก่อนจะฉก แม้จะมีราคาที่แพง เพราะหายาก ปลาที่มีขายในตลาดปลาสวยงามทุกวันนี้ นำเข้าจากประเทศกัมพูชาและเวียดนาม แม้ปัจจุบัน มีผู้เพาะพันธุ์ได้แล้วจากการผสมเทียม แต่ยังได้ผลไม่แน่นอนและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่ก็ยังมีความพยายามอยู่จากทั้งภาครัฐ<ref>[http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNekF6TVRBMU13PT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1DMHhNQzB3TXc9PQ== เพาะ'ปลาเสือตอ' คืนสู่ธรรมชาติ จาก[[ข่าวสด]]]</ref>และเอกชน
เส้น 36 ⟶ 38:
 
{{คำพูด|ปลาชนิดนี้มีรูปร่างและลายคล้าย[[ปลาเสือ]] จึงได้ชื่อว่าเป็นปลาเสือไปด้วย แต่พ่นน้ำไม่ได้ เป็นปลาที่ทนทาน และสามารถเลี้ยงไว้ในอ่างแก้วได้ โดยให้เนื้อและกุ้งเป็นอาหาร นับว่าเป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีผู้นิยมรับประทานเพราะเนื้อแน่นแสนอร่อย เฉพาะที่[[ปากน้ำโพ]] ปลาชนิดนี้ขายได้ราคาดี แต่นาน ๆ จะมีมาตลาดสักคราวหนึ่ง}}<ref>[[สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์]], สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ หน้า 135 ([[กรุงเทพ]], [[พ.ศ. 2547]]) ISBN 974-00-8738-8</ref>
 
ปลาเสือตอลายใหญ่ พฤติกรรมในการกินอาหาร คือ มักจะกินเฉพาะอาหารที่มีชีวิตหรือเคลื่อนไหวได้เท่านั้น หากจะให้กินอาหารที่ตายต้องใช้ระยะเวลาในการฝึก น้อยรายมากที่จะฝึกให้กินอาหารเม็ดได้
 
==ชื่อเรียกอื่น==