ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาเสือตอลายใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.4) (โรบอต แก้ไข: vi:Cá hổ Xiêm
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31:
เป็นปลาที่ได้รับการคุ้มครองจาก[[กฎหมาย]]ในประเทศไทย เป็นสัตว์น้ำจืดคุ้มครองของ[[กรมประมง]]ร่วมกับปลาชนิดอื่น อีก 3 ชนิด ([[ปลาตะพัด]] (''Scleropages formosus''), [[ปลาหมูอารีย์]] (''Yasuhikotakia sidthimunki'') และ [[ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์]] (''Oreoglanis siamensis'')) ซึ่งหากใครจะค้าขายหรือเพาะเลี้ยงต้องได้รับการอนุญาตก่อน
 
เป็นปลาที่ได้รับความนิยมมากจากนักเลี้ยงปลาสวยงาม เพราะมีสีสันและลวดลายที่สวยงาม เมื่อเวลาล่าเหยื่อจะกางครีบทุกครีบ ก่อนจะฉก แม้จะมีราคาที่แพง เพราะหายาก ปลาที่มีขายในตลาดปลาสวยงามทุกวันนี้ นำเข้าจากประเทศกัมพูชาและเวียดยามเวียดนาม แม้ปัจจุบัน มีผู้เพาะพันธุ์ได้แล้วจากการผสมเทียม แต่ยังได้ผลไม่แน่นอนและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่ก็ยังมีความพยายามอยู่จากทั้งภาครัฐ<ref>[http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNekF6TVRBMU13PT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1DMHhNQzB3TXc9PQ== เพาะ'ปลาเสือตอ' คืนสู่ธรรมชาติ จาก[[ข่าวสด]]]</ref>และเอกชน
 
[[หลวงมัศยจิตรการ]]และ ศ.[[โชติ สุวัตถิ]] ได้กล่าวถึงปลาเสือตอลายใหญ่ไว้ในปี [[พ.ศ. 2503]] ว่า
บรรทัด 38:
 
ปลาเสือตอลายใหญ่ พฤติกรรมในการกินอาหาร คือ มักจะกินเฉพาะอาหารที่มีชีวิตหรือเคลื่อนไหวได้เท่านั้น หากจะให้กินอาหารที่ตายต้องใช้ระยะเวลาในการฝึก น้อยรายมากที่จะฝึกให้กินอาหารเม็ดได้
 
==ชื่อเรียกอื่น==
มีชื่อเรียกใน[[ภาษาอีสาน]]ว่า "ลาด"