ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาชนก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''พระมหาชนก''' เป็นเรื่องหนึ่งใน[[ทศชาติชาดก]] อันเป็นชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่ [[พระโพธิสัตว์]]จะมาประสูติเป็น[[เจ้าชายสิทธัตถะ]] และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาดกเรื่องนี้เป็นการบำเพ็ญความเพียรเป็นบารมี [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]ทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎกและทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงจากมหา[[ชนกชาดก]] ตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังทรงแปลเป็น[[ภาษาสันสกฤต]]ประกอบอีกภาษา รวมทั้งแผนที่ฝีพระหัตถ์ แสดงสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณบางแห่งและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับทิศทางลม กับกำหนดวันเดินทะเลตลอดจนจุดอัปปางของเรืออับโชค ทรงคาดคะเนโดยอาศัยข้อมูลทาง[[โหราศาสตร์]] แสดงถึงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์และโหราศาสตร์ไทย ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2539 พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกก็ออกจำหน่าย และเป็นที่ชื่นชมโดยทั่วไป แต่หนังสือพระราชนิพนธ์นี้ก็ยังอ่านค่อนข้างยาก ด้วยความซับซ้อนของข้อความและของภาพ ทำให้มีการวิจารณ์และตีความกันในทางต่างๆ นานา
 
 
== ฉบับการ์ตูน ==
เรื่องย่อบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก
โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อ พ.ศ. 2542 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ [[พระราชนิพนธ์]]เรื่อง พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินผู้ชำนาญการที่สุดเป็นผู้วาดรูป และโปรดฯ ให้พิมพ์ด้วยกระดาษไทย เพื่อความประหยัด และทุกคนมีโอกาสได้อ่าน ผู้เขียนการ์ตูนประกอบ ได้แก่ [[ชัย ราชวัตร]] ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทรงมีพระราชดำริในการให้ใช้ลายเส้นแบบไทยๆ แทนที่จะใช้ลายเส้นแบบการ์ตูนญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่นิยม แสดงถึงพระราชดำริที่ทรงภาคภูมิใจในความเป็นไทย เช่นเดียวกันกับเมื่อทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่ข้าราชการและพสกนิกร ในวโรกาสต่าง ๆ เมื่อเสด็จกลับ ก็ทรงใช้รถยนต์ [[โตโยต้า โซลูน่า]] ซึ่งผลิตใน[[ประเทศไทย]] แทนรถยนต์ยุโรปยี่ห้ออื่น ๆ สมควรที่ข้าราชบริพารและพสกนิกรควรถือเป็นแบบอย่าง
พระมหาชนก พระเจ้าแผ่นดิน ณ เมืองมิถิลาแห่งวิเทหะรัฐ ทรงมีพระโอรสสององค์ คือ พระอริฏฐชนก และ พระโปลชนก เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระอริฏฐชนกผู้เป็นอุปราช ก็ได้ครองบ้านเมืองต่อมา พระโปลชนกทรงเป็นอุปราช ครั้งนั้นยังมีอำมาตย์ออกอุบายให้พระอริฏฐชนกระแวงพระอนุชาว่า พระโปลชนกคิดขบถ พระราชาทรงเชื่ออำมาตย์ จึงให้จับพระโปลชนกไปขังไว้ ด้วยบุญบารมีของพระโปลชนกจึงสามารถเสด็จหนีไปยังชายแดน ผู้คนจำนวนมากพร้อมที่จะเข้าเป็นพวกด้วย เมื่อถึงกาลที่เอื้อ พระโปลชนกก็กองทัพไปตีเมืองมิถิลา บรรดาทหารแห่งเมืองมิถิลาพากันเข้ากับพระโปลชนกอีกเป็นจำนวนมากด้วยเห็นใจที่พระโปลชนกถูกจับไปขังไว้โดยไม่ยุติธรรม
พระพระอริฏฐชนกจึงตรัสสั่งพระมเหสีซึ่งกำลังทรงครรภ์แก่ ให้ทรงหลบหนี เอาตัวรอด ส่วนพระองค์เองทรงออกทำสงคราม และสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พระโปลชนกจึงทรงได้เป็นกษัตริย์ ครองเมืองมิถิลาสืบต่อมา ฝ่ายพระมเหสีของพระพระอริฏฐชนก เสด็จหนีไปอยู่เมือง กาลจัมปากะ พระอินทร์จึงเสด็จมาช่วย ทรงแปลงกายเป็นชายชราขับเกวียนมา พาเสด็จไปนั่งพักอยู่ในศาลาแห่งหนึ่งในเมืองนั้น บังเอิญอุทิจจพราหมณ์มหาศาลเดินผ่านมา เกิดความเอ็นดูสงสาร จึงรับพระนางไปอยู่ด้วย อุปการะเลี้ยงดูพระนางเหมือนเป็นน้องสาว ไม่นานนัก พระนางก็ประสูติพระโอรส ทรงตั้งพระนามว่า มหาชนกกุมาร ซึ่งเป็นพระนามของพระอัยกา วันหนึ่ง มหาชนกกุมารชกต่อยกับเพื่อนเล่นเนื่องจากถูกเด็กล้อเลียนว่าเป็นลูกไม่มีพ่อ มหาชนกพยายามสืบความจริง พระมารดาจึงตรัสเล่าเรื่องทั้งหมดให้พระโอรสทราบ ก็ทรงตั้งพระทัยว่าจะได้เสด็จไปเอาราชสมบัติเมืองมิถิลาคืนมา
พระมารดาจึงทรงนำเอาทรัพย์สินมีค่ามาจากมิถิลา 3 สิ่ง คือ แก้วมณี แก้วมุกดา และแก้ววิเชียร เพื่อเป็นทุนล่องเรือไปค้าขายที่สุวรรณภูมิ ในระหว่างทางเกิดพายุใหญ่ โหมกระหน่ำ ฝ่ายมหาชนกกุมาร เมื่อทรงทราบว่าเรือจะจมแน่แล้ว ก็เสวยอาหารจนอิ่มหนำ ทรงนำผ้ามาชุบน้ำมันจนชุ่ม แล้วนุ่งผ้านั้นอย่างแน่นหนา ครั้นเมื่อเรือจมลง เหล่าพ่อค้ากลาสี เรือทั้งปวงก็จมน้ำ ส่วนพระมหาชนกทรงแหวกว่าย อยู่ในทะเลถึง 7 วัน นางมณีเมขลา เทพธิดาผู้รักษามหาสมุทร เห็นพระมหาชนก ว่ายน้ำอยู่เช่นนั้น จึงสนทนาแลกเปลี่ยนกัน จนนางมณีเมขลาเข้าใจในปรัชญาของการบำเพ็ญวิริยบารมี นางมณีเมขลาจึงช่วยอุ้มพามหาชนกกุมาร ไปจนถึงฝั่งเมืองมิถิลา ฝ่ายพระโปลชนกไม่มีพระโอรส ทรงมีแต่พระธิดาพระนามว่า สิวลี ในเมื่อไม่ทรงมีพระโอรส พระโปลชนก ตรัสสั่งอมาตย์ว่า ผู้ใดสามารถไขปริศนาขุมทรัพย์ได้ก็ยกบ้านเมืองให้แก่ผู้นั้น ในที่สุดบรรดาเสนาข้าราชบริพารจึงตั้งพิธีเสี่ยงราชรถ ราชรถหยุดอยู่หน้าศาลาที่พระมหาชนกประทับอยู่ ทรงไขปริศนาได้หมด ผู้คนจึงพากันสรรเสริญปัญญาของพระมหาชนก พระองค์ได้ครองวิเทหรัฐด้วยความผาสุกตลอดมาด้วยทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม ต่อมาพระนางสิวลีประสูติพระโอรส ทรงนามว่า ทีฆาวุกุมาร เมื่อเจริญวัยขึ้น พระบิดาโปรดให้ดำรงตำแหน่งอุปราช อยู่มาวันหนึ่ง พระราชามหาชนกเสด็จอุทยานทอดพระเนตร เห็นมะม่วงต้นหนึ่งมีผล ต้นหนึ่งไม่มีผล ต้นที่มีผล ผลมีรสชาติอร่อย ตรัสชมแล้วตั้งใจจะเสวยเมื่ออกจากพระราชอุทยาน แต่เมื่ออกมาต้นมีผลก็เสียหายจนหมดเพราะผู้คนพากันโค่นเพื่อเอาผลมะม่วง ส่วนต้นไม่มีผลยังอยู่รอดได้ พระมหาชนกทรงคิดว่า ราชสมบัติ เปรียบเหมือนต้นไม้มีผลอาจถูกทำลาย แม้ไม่ถูกทำลายก็ต้องคอย ระแวดระวังรักษา เกิดความกังวล พระองค์ประสงค์จะทำตนเป็นผู้ไม่มีกังวลเหมือนต้นไม้ไม่มีผล แต่ก็ไม่ทรงทำเช่นนั้นเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของพระราชาที่จะทำให้สังคมอยู่รอดพ้นก่อน เพราะสังคมยังขาดสติปัญญาเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะหน้าจึงทำลายต้นมะม่วงมีผล คิดดังนั้นจึงเห็นควรทำนุบำรงต้นมะม่วงด้วยหลักวิชาการทางการเกษตร และจัดตั้งสถานศึกษาชื่อ ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย เพื่อให้คนเป็นคนดีมีสติปัญญา
 
== เรื่องย่อ ==