ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไวรอยด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Parichate (คุย | ส่วนร่วม)
Parichate (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24:
 
== ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรอยด์ ==
ลักษณะอาการที่เกิดจากเชื้อไวรอยด์ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัส คือ แคระแกร็น ใบ ก้านใบ และดอก ลดขนาด จนไปถึงไม่แสดงอาการผิดปกติ ขึ้นกับชนิดของเชื้อไวรอยด์และพืชอาศัย เช่น เชื้อ PSTVd ก่อให้เกิดอาการหัวมันบิดยาวแหลมในมันฝรั่ง (ภาพที่ 4) เชื้อ CEVd ก่อให้เกิดอาการต้นเตี้ยแคระแกร็น เปลือกลำต้นแตกร่อน (ภาพที่ 5) และมีอาการใบหดลดรูปและเซลล์ตาย (necrosis) ในพืชกลุ่มส้ม (ภาพที่ 6) เชื้อ CCCVd ก่อให้เกิดอาการ chlorotic spot บนใบมะพร้าว (ภาพที่ 7) ทำให้ผลที่ได้มีขนาดเล็กลง (ภาพที่ 8) และทำให้พืชตายในที่สุด (ภาพที่ 9) เชื้อ ''Columnea latent viroid'' (CLVd) ก่อให้เกิดอาการต้นเตี้ยแคระแกร็น (ภาพที่ 10) ใบเหลืองบิดม้วนและมีอาการเซลล์ตายที่เส้นใบ ก้านใบ และกิ่งในมะเขือเทศ (ภาพที่ 11) เชื้อ ''Chrysanthemum stunt viroid'' (CSVd) ก่อให้เกิดอาการ ต้นเตี้ยแคระแกร็น และดอกเล็กลีบในเบญจมาศ (ภาพที่ 12) นอกจากนี้ยังมีไวรอยด์อีกหลายชนิดที่ไม่แสดงอาการผิดปกติในพืชอาศัย (latent) เช่น เชื้อ ''Hop latent viroid'' (HLVd) ''Coleus blumei viroid'' (CbVd) และ PLMVd โดยทั่วไปความรุนแรงของอาการจะขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ ไวรอยด์จะแสดงอาการของโรคในช่วงอุณหภูมิที่สูงกว่า 20 องศาเซลเซียส และจะแสดงอาการที่รุนแรงและชัดเจนเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
 
== ความเสียหายทางเศรษฐกิจ ==