ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วลาดที่ 3 นักเสียบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46:
ในวัยเยาว์ พระองค์และพระอนุชา '''ราดู ผู้รูปงาม''' (Radu Cel Frumos) ถูกส่งไปเป็นตัวประกันภายใต้จักรวรรดิออตโตมานในฐานะประเทศราช พระบิดาของพระองค์ '''วลาดที่ 2''' และพระเชษฐา '''เมียร์ชาที่ 2''' (Mircea II) ถูกพวกขุนนางภายใต้สังกัดฮังการีสังหารในปี [[ค.ศ. 1447]] เพื่อเป็นการกำจัดอิทธิพลของฮังการีในวาลาเคีย จักรวรรดิออตโตมานจึงส่งกองทัพมายึดวาลาเคีย และตั้ง วลาดที่ 3 ในวัย 17 ปี เป็นเจ้าชายผู้ครองรัฐภายใต้จักรวรรดิออตโตมาน แต่วลาดที่ 3 ก็ต้องสูญเสียบัลลังค์ เมื่อ '''ฮุนยาดี ยานอช''' (Hunyadi János) ผู้สำเร็จราชการของฮังการี นำทัพเข้าพิชิตวาลาเคีย วลาดจึงต้องหนีไปอยู่ที่มอลดาเวียกับ '''บ็อกดานที่ 2''' (Bogdan II) เจ้าชายแห่งมอลดาเวียซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง ภายหลัง บ็อกดาน ถูกลอบสังหาร จึงหนีไปอยู่ฮังการี ซึ่งฮุนยาดีประทับใจในความรู้ความสามารถของวลาด และความเกลียดชังของวลาดที่มีต่อสุลต่านพระองค์ใหม่ [[สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2]] ฮุนยาดีจึงตั้งเป็นที่ปรึกษา หลังจากฮุนยาดีถึงแก่อสัญกรรม วลาดได้นำกำลังเข้ายึดวาลาเคียจาก '''วลาดิสลาฟที่ 2''' (Vladislav II) และขึ้นครองบัลลังค์
 
[[ค.ศ. 1459]] สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 ได้ส่งทูตมาเรียกร้องบรรณาการจากวาลาเคีย วลาดปฏิเสธที่จะจ่ายบรรณาการ และสังหารทูตโดยการตอกตะปูกับผ้าโพกหัวให้ติดกับศีรษะ สุลต่านทรงพิโรธ และส่งทหารเข้าโจมตีวาลาเคียในปี [[ค.ศ. 1462]] ซึ่งวลาดได้รบแบบกองโจรและประสบความสำเร็จหลายครั้ง แต่ภายหลังวลาดต้องแพ้เพราะมีขุนนางไส้ศึก ออตโตมานเข้าพิชิตวาลาเคีย และตั้ง '''ราดู ผู้รูปงาม''' (Radu Cel Frumos) พระอนุชาของวลาด ซึ่งเป็น ชาวมุสลิมและสวามิภักดิ์ออตโตมาน ขึ้นบัลลังค์ วลาดได้หนีไปหาขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรของพระองค์คือฮังการี แต่กลับถูกจับกุมตัวโดย '''พระเจ้ามะติอัช''' (Corvin Mátyás ภาษาอังกฤษเรียก Matthias Corvinus) ซึ่งเป็นบุตรชายของ ฮุนยาดี ยานอช และเป็นกษัตริย์แห่งฮังการี เนื่องจากพระเจ้ามะติอัชไม่ต้องการจะเปิดศึกกับออตโตมาน ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้รับเงินสนับสนุนจากพระสันตะปาปาให้ช่วยวลาดทำสงครามกับออตโตมาน แต่พระองค์ทรงใช้ไปกับการอื่นแล้ว จึงไม่ต้องการจะทำศึกกับออตโตมานอีก พระองค์จึงได้ทำจดหมายปลอมแปลงว่าวลาดฝักใฝ่สวามิภักดิ์ต่อออตโตมานโดยวางแผนทรยศฮังการีและยังเป็นผู้นำที่โหดเหี้ยมอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าเหตุใดพระองค์จึงไม่ช่วยวลาดในการทำสงคราม
 
วลาดถูกปล่อยตัวในปี [[ค.ศ. 1474]] และในปี [[ค.ศ. 1476]] ราชอาณาจักรฮังการีได้ตัดสินใจที่จะสนับสนุนวลาดให้กลับไปยึดวาลาเคียอีกครั้ง วลาดสามารถยึดบัลลังค์จาก '''บาซารับ ลาโยตู''' (Basarab Laiotă) ได้ และปกครองบัลลังค์วาลาเคียเป็นสมัยที่ 3 ซึ่งพระองค์ปกครองได้ไม่นาน ก็ได้ถูกสังหารลงในการรบกับออตโตมาน