ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายชื่อสงครามในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: '''รายชื่อสงครามในประเทศไทย''' มีดังต่อไปนี้ == สมัยสุโขทัย == *...
 
บรรทัด 6:
== สมัยอยุธยา ==
* '''สงครามขอมแปรพักตร์''' ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้นต่างๆมากมาย แม้กระทั่ง '''ขอม''' ซึ่งก็เป็นมาด้วยดีจนกระทั่งกษัตริย์ขอมทรงสวรรคต พระราชโอรสนาม พระบรมลำพงศ์ ทรงขึ้นครองราชย์ ซึ่ง[[พระบรมลำพงศ์]]ก็แปรพักตร์ไม่เป็นไมตรีดังแต่ก่อน [[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1]] จึงมีบัญชาให้ [[สมเด็จพระราเมศวร]] ยกทัพไปตีกัมพูชา และให้[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1]] หรือ ขุนหลวงพะงั่ว ทรงยกทัพไปช่วย จึงสามารถตีเมืองนครธมแตกได้ พระบรมลำพงศ์ทรงสวรรคตในศึกครั้งนี้ [[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1]] จึงแต่งตั้ง '''ปาสัต''' พระราชโอรสของพระบรมลำพงศ์เป็นกษัตริย์ขอม
 
* '''สงครามเมืองเชียงใหม่''' เมื่อปี [[พ.ศ. 1933|พ.ศ. 1933]] [[สมเด็จพระราเมศวร]]ทรงยกกองทัพขึ้นไปยัง[[เชียงใหม่|เมืองเชียงใหม่]] ในชั้นแรกนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ได้ขอสงบศึก โดยขอเวลา 7 วันแล้วจะนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายเพื่อเจริญพระราชไมตรี ในการนี้มุขมนตรีนายทัพนายกองได้ปรึกษาหารือว่า อาจจะเป็นกลอุบายของพระเจ้าเชียงใหม่เพื่อจะได้เตรียมการรับมือกองทัพของกรุงศรีอยุธยา แต่พระองค์ตรัสว่าเมื่อเขาไม่รบแล้วเราจะรบนั้นดูมิบังควรและถึงแม้ว่าพระเจ้าเชียงใหม่จะไม่รักษาสัตย์ก็ใช่ว่าจะสามารถรอดพ้นจากทหารของกรุงศรีอยุธยาไปได้ เมื่อผ่านไป 7 วัน พระเจ้าเชียงใหม่ไม่ได้นำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย พระองค์จึงยกกำลังเข้าตีเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่ต้านไม่ได้จึงหนีออกไป แต่สามารถจับนักสร้างพระโอรสพระเจ้าเชียงใหม่ได้ พระองค์ทรงพระกรุณาให้นักสร้างขึ้นครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่ และได้กวาดต้อนผู้คนลงมาทางใต้โดยให้ไปอยู่ที่[[เมืองจันทบูร]] [[เมืองนครศรีธรรมราช]] [[เมืองพัทลุง]] และ[[เมืองสงขลา]] ทำให้ชาวเหนือและชาวใต้มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมที่ใกล้เคียงกัน
 
* '''สงครามเมืองกัมพูชาธิบดี''' หลังจากที่[[สมเด็จพระราเมศวร]]เสด็จกลับจากการทำศึก ณ เมืองเชียงใหม่แล้ว พระองค์ได้ทรงทำศึกกับเมืองกัมพูชาธิบดีอีกครั้ง เนื่องจากพระยากัมพูชาได้ยกทัพมายัง[[เมืองชลบุรี]]และกวาดต้อนผู้คนชาวเมืองจันทบูรและเมืองชลบุรีไปยังเมืองกัมพูชาธิบดีประมาณ 6,000 - 7,000 คน ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงยกกองทัพไปยังเมืองกัมพูชาธิบดีอีกครั้ง โดยโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไชยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้า เมื่อตี[[นครธม|เมืองพระนคร]]ได้แล้ว พระยากัมพูชาได้ลงเรือหลบหนีไป แต่สามารถจับพระยาอุปราชพระราชโอรสของพระยากัมพูชาได้ และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยณรงค์อยู่รั้งเมืองกัมพูชาธิบดีพร้อมกำลังพล 5,000 คน ต่อมา [[ญวน]]ยกกำลังมารบ พระองค์จึงให้พระยาไชยณรงค์กวาดต้อนผู้คนมายัง[[กรุงศรีอยุธยา]]
 
* '''สงครามเมืองชากังราว''' [[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1]]ทรงยกกองทัพขึ้นไปยัง[[เมืองชากังราว]]ถึง 4 ครั้ง เนื่องจากเมืองชากังราวเป็นเมืองหน้าด่านของ[[กรุงสุโขทัย]] โดยครั้งแรกนั้นทรงยกกองทัพไปเมืองปี [[พ.ศ. 1916]] พระยาไสแก้วและพระยาคำแหงเจ้าเมืองชากังราวออกรบต่อพระองค์ การศึกในครั้งนั้นเป็นเหตุให้พระยาไสแก้วเสียชีวิตแต่พระยาคำแหงนั้นสามารถกลับเข้าเมืองได้ แล้วทรงยกทัพกลับ[[กรุงศรีอยุธยา]] พระองค์ยกทัพขึ้นไปเมืองชากังราวครั้งที่ 2 เมื่อปี [[พ.ศ. 1919]] พระยาคำแหงและท้าวผ่าคองคิดกันว่าจะยอทัพหลวงทำมิได้ ครั้งนั้นท้าวผ่าคองเลิกทัพหนีแต่พระองค์ทรงยกทัพตามและสามารถตีทัพท้าวผ่าคองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นเป็นจำนวนมากแล้วทรงยกทัพหลวงกลับพระนคร พระองค์ยกทัพมาเมืองชากังราวเป็นครั้งที่ 3 เมื่อปี [[พ.ศ. 1921]] ครั้งนั้น[[พระมหาธรรมราชาที่ 2|พระมหาธรรมราชา (ที่ 2)]] พระมหากษัตริย์แห่ง[[กรุงสุโขทัย]]ทรงออกรบเป็นสามารถ แต่เห็นจะสู้ทัพจากกรุงศรีอยุธยาไม่ไหว ดังนั้น พระมหาธรรมราชาจึงออกมาถวายบังคม พระองค์ทรงให้พระมหาธรรมราชาครองเมืองต่อไปในฐานะเป็น[[เมืองประเทศราช]]ของกรุงศรีอยุธยาแล้วทรงยกทัพหลวงกลับพระนคร พระองค์ยกทัพไปเมืองชากังราวอีกครั้งเมื่อปี [[พ.ศ. 1931]] แต่ไม่ปรากฏว่าทรงยกทัพไปด้วยสาเหตุอันใด ครั้งนั้นทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตระหว่างการเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา
 
* '''การศึกกับเขมร (สมัยเจ้าสามพระยา)''' เมื่อ [[พ.ศ. 1974]] พระเจ้าธรรมาโศก กษัตริย์[[อาณาจักรเขมร]] ได้ยกกำลังเข้ามากวาดต้อนผู้ตามหัวเมืองชายแดนของ[[กรุงศรีอยุธยา]]ไป ทำให้[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2]] ได้เสด็จยกทัพไปตี[[นครธม|เมืองพระนครหลวง]](นครธม) เมื่อ [[พ.ศ. 1975]] พระองค์ตั้งทัพล้อมเมืองพระนครหลวงอยู่ 7 เดือน ก็สามารถตีเอาเมืองพระนครหลวงได้ ครั้งนั้นพระองค์ทรงให้พระอินทราชา พระโอรสปกครองเมืองนครหลวงในฐานะเมืองประเทศราชขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา แล้วให้นำ พระยาแก้ว พระยาไทย และรูปภาพ (เทวรูป สมบัติศิลปะของขอม) ทั้งปวงพร้อมทั้งกวาดต้อนผู้คนและสิ่งของสำคัญๆ มายังกรุงศรีอยุธยา ทำให้อิทธิพลของเขมรในด้านการปกครอง ประเพณี ตลอดจนงานศิลปะมาปรากฏชัดในอยุธยา พระอินทราชานั้นครองราชย์เมืองพระนครไม่นานก็สิ้นพระชนม์ เนื่องจากทนภาวะอากาศไม่ได้ [[กรุงศรีอยุธยา]]ก็ไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดขึ้นไปดูแลแทน จึงทำให้ชาวเขมรนั้นไม่อาจกลับมายังที่เมืองพระนครได้ ปล่อยให้เมืองร้างลง ภายหลังเมื่อเขมรมีอำนาจคืนได้จึงมีการย้ายราชธานีไปตั้งที่[[พนมเปญ|เมืองพนมเปญ]] ทำให้เมืองพระนครล่มสลายในที่สุด
 
* '''การศึกกับล้านนา (สมัยเจ้าสามพระยา)''' ในปี [[พ.ศ. 1985]] [[พระเจ้าติโลกราช]]แห่งเชียงใหม่ ได้รบกับท้าวช้อยผู้เป็นพระอนุชา ท้าวช้อยแพ้หนีไปอยู่[[อำเภอเทิง|เมืองเทิง]](อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย) เจ้าเมืองเทิงได้มาขอสวามิภักดิ์กับ[[กรุงศรีอยุธยา]]และขอให้ส่งกองทัพไปช่วยรบ [[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2]] จึงทรงยกกองทัพไปตีเมือง[[เชียงใหม่]]ของ[[อาณาจักรล้านนา]]แต่ก็ตีไม่สำเร็จประกอบกับทรงพระประชวรจึงทรงยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อ [[พ.ศ. 1987]] ทรงตั้งทัพหลวงที่ตำบลปะทายเขษม ครั้งนี้ได้หัวเมืองชายแดนของเชียงใหม่กับเชลยอิก 120,000 คน จึงยกทัพหลวงกลับพระนคร
 
* '''สงครามตีเมืองทวาย (สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3)''' [[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3]] ทรงเสด็จไปตีเมืองทวายซึ่งตั้งแข็งเมืองต่อกรุงศรีอยุธยาและทรงได้รับชัยชนะ
 
* '''สงครามมะละกา''' เมื่อ [[พ.ศ. 2043|พ.ศ. 2043]] [[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] ทรงส่งกองทัพทั้งทางบกและทางเรือไปทำสงครามกับ[[มะละกา]]ถึงสองครั้ง โดยเข้าโจมตีชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก แม้ไม่ประสบผลสำเร็จแต่ก็ทำให้มะละกาได้ตระหนักถึงอำนาจของอยุธยาที่มีอิทธิพลเหนือหัวเมืองในคาบสมุทรภาคใต้ โดยมีเมืองนครศรีธรรมราชทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ใช้เป็นฐานในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ในคาบสมุทรแห่งนี้ กษัตริย์มะละกาผู้ปกครอง [[ปัตตานี]] [[ปาหัง]] [[กลันตัน]] และเมืองท่าที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทั้งหมดต้องส่งบรรณาการต่อกษัตริย์อยุธยาทุกปี
 
* '''สงครามล้านนา (สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2)''' [[พระเมืองแก้ว]] กษัตริย์เมือง[[เชียงใหม่]]แห่ง[[อาณาจักรล้านนา]] ยกทัพมาตี[[กรุงสุโขทัย]] [[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] ได้ทรงออกทัพขึ้นไปป้องกันทางเหนือ จนกองทัพเชียงใหม่แตกกลับไป พระองค์ได้ทรงยกกองทัพขึ้นไปตีล้านนาอีกหน คราวนี้ทรงตี[[ลำปาง|เมืองลำปาง]]ได้
 
* '''สงครามเชียงกราน''' ในรัชสมัยของ[[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]] ได้เกิดสงคราม[[ไทย]]กับ[[พม่า]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2081]] เมื่อ[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] แห่งกรุง[[หงสาวดี]] ได้ยกกองทัพมาตีเมือง[[เชียงกราน]] อันเป็นหัวเมืองชายแดนทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกทัพไปตีกลับคืนมา ในการทัพครั้งนี้ พระองค์นำทหารอาสาชาวโปรตุเกสไปด้วย อาสาชาว[[โปรตุเกส]]มีความชำนาญในการใช้ปืนไฟ และได้เริ่มใช้ปืนไฟ ในการรบเป็นครั้งแรก กองทัพไทยสามารถยึดเมืองเชียงกรานกลับคืนมาได้
 
* '''สงครามล้านนา (สมัยสมเด็จพระไชยราชา)''' เกิดการผลัดแผ่นดินขึ้นที่[[เชียงใหม่]] [[พระเมืองเกษเกล้า]]ถูกลอบปลงพระชนม์ บรรดาท้าวพระยาเมืองลำปาง เมืองเชียงราย และเมืองพานได้ ยกกำลังเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ได้ แล้วพร้อมใจกันแต่งตั้ง[[พระนางจิรประภามหาเทวี|พระนางมหาเทวีจิรประภา]] พระอัครมเหสีพระเมืองเกษเกล้า ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ [[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]]ทรงยกกองทัพไปถึงเชียงใหม่ เมื่อปี [[พ.ศ. 2081]] พระนางมหาเทวีจิรประภาได้ออกมาถวายการต้อนรับ และขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในขณะนั้นพระนางมหาเทวี ฯ ทรงเกรงอานุภาพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ซึ่งได้ขยายอาณาเขตมาจรดเขตของเชียงใหม่ จึงได้ยอมอ่อนน้อมต่อฝ่ายพม่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปเช่นนี้ ในอนาคต[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] จะเข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงได้ยกทัพเข้าตีเชียงใหม่ เมื่อปี [[พ.ศ. 2088]] โดยได้ตีนครลำปาง และนครลำพูน พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพยกไปเชียงใหม่ พระนางมหาเทวี ฯ จึงเห็นสถานการณ์เช่นนั้นแล้ว จึงทรงต้อนรับพระยาพิษณุโลก และทรงยอมเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
 
[[ไฟล์:Queen Suriyothai elephant combat.jpg|thumb|right|360px|[[สมเด็จพระสุริโยทัย]] (กลาง) ไสช้างเข้าขวางช้าง[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] (ขวา) ซึ่งกำลังเสียทีช้างพระเจ้าแปร (ซ้าย) ใน[[สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]] (จิตรกรรมประกอบโคลงพระราชพงศาวดาร ฝีพระหัตถ์[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์]])]]
* '''[[สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]]''' <ref name="ดนัย216">ดนัย ไชยโยธา. (2543). '''พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑'''. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 216.</ref> ในปี [[พ.ศ. 2091]] หลังจาก[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]]ขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดเดือน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งนี้เป็นที่กระฉ่อนไปทั่ว จนทราบไปยังพระกรรณ[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้|พระเจ้าหงสาวดีพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] กษัตริย์[[พม่า]]ทรงพระราชดำริว่า ทางกรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อำนาจมายัง[[กรุงศรีอยุธยา]] จึงได้ยกกองทัพใหญ่มาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ [[กาญจนบุรี|เมืองกาญจนบุรี]] (บางพงศาวดารบอกว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้เสด็จมาทอดพระเนตรกำแพงเมืองอยุธยาก่อนหน้านี้มาครั้งหนึ่งแล้ว เพื่อประเมินกำลังศึก) โดยตั้งค่ายหลวงที่ตำบลกุ่มดอง ทัพ[[พระเจ้าบุเรงนอง|พระมหาอุปราชาบุเรงนอง]]ตั้งที่เพนียด ทัพพระเจ้าแปรตั้งที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งวรเชษฐ์ ใน[[วันอาทิตย์]] ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 [[พ.ศ. 2092]] สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จออกไปดูลาดเลากำลังศึก ณ [[ทุ่งภูเขาทอง]] พร้อมกับ[[สมเด็จพระศรีสุริโยทัย]] [[พระราเมศวร]] และ[[สมเด็จพระมหินทราธิราช|พระมหินทร์]] <ref name="Wood 113">Wood p. 113</ref><ref name="Damrong 18">Damrong Rajanubhab p. 18</ref> สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้กระทำ[[ยุทธหัตถี]]กับ'''พระเจ้าแปร''' <ref>[http://www.thaiwaysmagazine.com/thai_article/2417_elephant/elephant.html Thaiwaysmagazine.com - Elephant Duel: The Honorary Combat on Elephant Back] Retrieved 2010-02-06</ref> ช้างพระที่นั่งเสียที สมเด็จพระสุริโยทัยจึงทรงไสช้างเข้าขวางช้างข้าศึก เพื่อป้องกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ <ref name="Wood 113"/><ref name="Damrong 19">Damrong Rajanubhab p. 19</ref> พระเจ้าแปรได้ทีจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยด้วยของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง <ref name="สารานุกรมไทย"/> พระราเมศวรและพระมหินทร์ ได้ขับช้างเข้ากันพระศพกลับเข้าพระนคร <ref name="Wood 113"/><ref name="Damrong 19"/> ในการต่อสู้กับข้าศึกในขั้นต่อไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้นำ'''ปืนใหญ่นารายณ์สังหาร''' ลงเรือสำเภาแล่นไปตามลำน้ำโจมตีข้าศึกที่ตั้งล้อม[[กรุงศรีอยุธยา]]อยู่ อำนาจการยิงของปืนใหญ่ทำให้ฝ่าย[[พม่า]]ล้มตายเป็นอันมาก ประกอบกับเป็นเวลาใกล้ฤดูฝน และเสบียงอาหารร่อยหรอลง อีกทั้งทางฝ่ายพม่าได้ข่าวว่า มีกองทัพไทยจากหัวเมืองเหนือยกมาสนับสนุน เกรงว่าจะถูกตีกระหนาบ จึงปรึกษากับแม่ทัพนายกองจะยกทัพกลับ แม่ทัพทั้งหลายเห็นควรจะยกทัพกลับทางด่านเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) แต่พระเจ้าตเบ็งชเวตี้เห็นว่าทางที่ยกมานั้น ทรงทำลายเสบียงอาหารเสียหมดแล้ว ถ้ายกไปทางนี้จะประสบปัญหาขาดแคลน และจะถูกทหารไทยยกมาซ้ำเติมลำบากอยู่ จึงทรงให้ยกทัพขึ้นไปทางด่านแม่ละเมา (ตาก) เพื่อตีทัพของพระมหาธรรมราชาด้วยไพร่พลนั้นน้อยนัก และจะได้แย่งเสบียงมา เมื่อปะทะกับกองทัพของ[[พระมหาธรรมราชา]]และ[[พระราเมศวร]] ไล่ติดตามไปจนเกือบถึง[[กำแพงเพชร|เมืองกำแพงเพชร]] ฝ่ายพม่าได้ทำอุบายซุ่มกำลังไว้ทั้งสองข้างทาง พอกองทัพกรุงศรีอยุธยาถลำเข้าไป จึงได้เข้าล้อมไว้ จับได้ทั้งพระมหาธรรมราชา และพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องทรงขอหย่าศึก และไถ่ตัวคืนโดยแลกกับช้างชนะงาสองเชือกคือ '''พลายศรีมงคล'''กับ'''พลายมงคลทวีป''' จากนั้นกองทัพม่าก็ถอยกลับไปยัง[[หงสาวดี]] ส่วนการพระศพ[[สมเด็จพระสุริโยทัย]]นั้นเมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีพระราชทานเพลิง ณ [[สวนหลวง]] และให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงเป็นพระอารามเพื่ออุทิศ พระราชกุศลพระราชทาน แด่สมเด็จพระอัครมเหสี ประกอบด้วยพระเจดีย์ พระวิหาร แล้วพระราชทานนามพระอารามอันเป็นพระราชานุสรณ์แห่งสมเด็จพระสุริโยทัยแห่งนี้ว่า '''วัดสบสวรรค์''' ในปัจจุบันชื่อ '''[[วัดสวนหลวงสบสวรรค์]]'''
 
* '''สงครามเขมร (สมัยพระเฑียรราชา)''' [[พ.ศ. 2099]] ในเดือน 12 [[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]]ทรงให้แต่งทัพไปตีเมืองละแวก '''พระยาองค์ (โอง) สวรรคโลก''' (เชื่อว่าเป็นคนเดียวกับพระยาสวรรคโลกที่กำจัด[[ขุนวรวงศาธิราช]]) เป็นทัพหลวง ยกทัพ 30,000 ให้พระมหามนตรีถืออาชญาสิทธิ์ พระมหาเทพถือวัวเกวียน ให้พระยาเยาวเป็นแม่ทัพเรือ แต่ลมพัดไม่เป็นใจทัพเรือจึงตามทัพบกไม่ทัน พระยารามลักษณ์แม่ทัพบกได้เข้าตี[[เขมร]]ในตอนกลางคืน แต่เสียทีถอยหนีมาถึงทัพใหญ่ ในศึกนี้เสียพระยาองค์ (โอง) สวรรคโลกกับไพร่พลอีกจำนวนมาก