ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 58.11.162.233 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Taweetham
Suisse (คุย | ส่วนร่วม)
มีแล้วที่วิกิซอร์ซ
บรรทัด 12:
# การเพิ่มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน เพื่อให้เกิดความสุจริตและโปร่งใสในระบอบการเมือง
# การทำให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ
 
== รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ==
มีเนื้อหาสาระครอบคลุมหัวข้อดังต่อไปนี้
 
'''คำปรารภ'''
 
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค 2540 พรรษา ปัจจุบันสมัยจันทรคตินิยม พฤษภสมพัตสร อัสสยุชมาส ศุกลปักษ์ ทสมีดิถี สุริยคติกาล ตุลาคมมาส เอกาทสมสุรทิน โสรวารโดยกาลบริเฉท
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่าโดยที่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาเป็นเวลากว่าหกสิบห้าปีแล้ว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง แสดงว่ารัฐธรรมนูญย่อมเปลี่ยนแปลงได้
ตามความเหมาะสมแห่งกาลเวลาและสภาวะการณ์ของบ้านเมือง รัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์สำคัญที่กระจ่างแจ้ง ชัดเจน สามารถใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศและเป็นแนวทางในการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญได้
และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาจำนวนเก้าสิบเก้าคน มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมืองและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานกระแสพระราชดำรัสเพื่อเป็นสิริมงคลแก่การทำงาน ภายหลังจากนั้นสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญโดยมีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั่งนี้ โดยคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 แล้ว ทุกประการ
 
เมื่อรัฐสภาได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้นอย่างรอบคอบแล้ว ได้ลงมติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดำริว่า สมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติ ตามมติของรัฐสภา
 
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งตราไว้ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พุทธศักราช 2534 ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป
 
ขอปวงชนชาวไทยจงร่วมจิตร่วมใจสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธำรงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและนำมาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์ พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพร แก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมาสมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ
'''หมวด 1''' : บททั่วไป มาตรา 1-7
 
มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
 
มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 
มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
 
มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
 
มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
 
มาตรา 6 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
 
มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 
'''หมวด 2''' : พระมหากษัตริย์ มาตรา 8-25
 
'''หมวด 3''' : สิทธิและเสรีภาพ ของชนชาวไทย มาตรา 26-65
 
'''หมวด 4''' : หน้าที่ ของชนชาวไทย มาตรา 66-70
 
''' หมวด 5''' : แนวนโยบายพื้นฐาน แห่งรัฐ มาตรา 71-89
 
'''หมวด 6''' : รัฐสภา
:: ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 90-97
:: ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 98-120
:: ส่วนที่ 3 วุฒิสภา มาตรา 121-135
:: ส่วนที่ 4 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 136-148
:: ส่วนที่ 5 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง มาตรา 149-192
:: ส่วนที่ 6 การประชุมร่วมกันของรัฐสภา มาตรา 193-195
:: ส่วนที่ 7 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ของรัฐสภา มาตรา 196-198
:: ส่วนที่ 8 คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชน แห่งชาติ มาตรา 199-200
 
'''หมวด 7''' : คณะรัฐมนตรี มาตรา 201-232
 
'''หมวด 8''' : ศาล
:: ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 233-254
:: ส่วนที่ 2 รัฐธรรมนูญ มาตรา 255-270
:: ส่วนที่ 3 ศาลยุติธรรม มาตรา 271-275
:: ส่วนที่ 4 ศาลปกครอง มาตรา 276-280
:: ส่วนที่ 5 ศาลทหาร มาตรา 281
 
'''หมวด 9''' : การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 282-290
 
'''หมวด 10''' : การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
:: ส่วนที่ 1 การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินหนี้สิน มาตรา 291-296
:: ส่วนที่ 2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ มาตรา 297-302
:: ส่วนที่ 3 การถอดถอนจากตำแหน่ง มาตรา 303-307
:: ส่วนที่ 4 การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง มาตรา 308-311
 
'''หมวด 11''' : การตรวจเงินแผ่นดิน มาตรา 312
 
'''หมวด 12''' : การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 313
 
'''บทเฉพาะกาล''' : มาตรา 314-336
 
== อ้างอิง ==