ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาไบเคอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
'''ปลาไบเคอร์''' หรือที่นิยมเรียกกันใน[[ประเทศไทย]]ว่า '''ปลาบิเชียร์''' ({{lang-en|Bichir}}) เป็น[[ปลากระดูกแข็ง]]ใน[[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับ]] [[Polypteriformes]]
 
จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีโครงร่างแตกต่างไปจากปลากระดูกแข็งและ[[ปลากระดูกอ่อน]]ทั่วไป โดยเป็นปลาที่มีพัฒนาการมาจาก[[ยุคก่อนประวัติศาสตร์]] คือ ในส่วนของกระดูกแข็งนั้นพบว่ามี[[กระดูกอ่อน]]เป็นจำนวนมาก มี spiracles[[Spiracle|ช่องน้ำออก]] 1 คู่ และภายในลำไส้มี spiral valveลักษณะขดเป็นเกลียว ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในกลุ่ม[[ฉลาม]]และ[[ปลากระเบน|กระเบน]] ทั้งยังมีเหงือกแบบพิเศษอยู่หลังตาแต่ละข้าง เกล็ดเป็นแบบ ganoidกานอยด์ ซึ่งเป็นเกล็ดที่พบในปลามีกระดูกสันหลังในยุคแรก มีรูปทรงเป็น[[รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว|สี่เหลี่ยมรูปว่าว]]และมีส่วนยื่นรับกับข้อต่อ ระหว่างเกล็ดแต่ละชิ้น ซึ่งปัจจุบันจะพบปลาที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ ปลาใน[[Lepisosteiformes|อันดับปลาเข็ม]], [[Acipenseriformes|ปลาฉลามปากเป็ด และปลาสเตอร์เจียน]] เป็นต้น หัวมีขนาดเล็กแต่กว้าง ช่วงลำตัวรวมกับส่วนอก ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวคล้ายกับ[[งู]]มากกว่าจะเหมือนปลาทั่วไป ส่วนอกนั้น มีครีบที่ค่อนข้างแข็งแรง มีลักษณะเป็นฐานพูเนื้อคลุมด้วยเกล็ด คอยช่วยยึดเส้นครีบทั้งหลายที่แผ่ออกมาเป็นแฉก ๆ เหมือนจานพังผืด ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวในพื้นน้ำเหมือนกับการเดินคล้ายกับ[[ปลาซีลาแคนท์]] ในส่วนท้องจะมีถุงลม 2 ถุง ช่วยในการหายใจทำหน้าที่คล้ายกับปอด [[กระเพาะปลา|ถุงลม]]ด้านซ้ายมีการพัฒนาน้อยกว่าด้านขวา เช่นเดียวกับ[[ปลาปอด]] ตั้งอยู่บริเวณช่องท้องโดยยึดติดกับหลอดอาหาร โดยที่ทำงานร่วมกับเหงือก ทำให้สามารถอยู่โดยปราศจาก[[น้ำ]]ได้เป็นเวลาหลาย[[ชั่วโมง]] ส่วนหลังจะมีชุดครีบ ประกอบไปด้วย 5-18 ครีบ ซึ่งรวมกันเป็นครีบหลัง แต่ละครีบนั้นจะมีแกนครีบเดี่ยว 1 แกน รองรับด้วยพังผืดเล็ก ๆ ในแต่ละครีบ ครีบหางมีลักษณะ[[ทรงกลม|กลม]]ใหญ่ปลายแหลม
 
นับได้ว่าปลาไบเคอร์เป็นรอยต่อที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึง[[วิวัฒนาการ]]จาก[[ปลา]]ขึ้นมาจาก[[น้ำ]]มาใช้ชีวิตอยู่บกอีกจำพวกหนึ่ง<ref>[http://www.wetwebmedia.com/fwsubwebindex/polypterids.htm Ropefish and Bichirs, Family Polypteridae]</ref>