ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กิโลกรัม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
Robot: en:Kilogram is a good article
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink
บรรทัด 18:
''เมื่อแรกเริ่มนั้น'' หนึ่งกิโลกรัม นิยามไว้เท่ากับมวลของ[[น้ำ]]บริสุทธิ์ ปริมาตรหนึ่ง[[ลิตร]] ที่[[อุณหภูมิ]] 4 [[องศาเซลเซียส]]และ[[ความดันบรรยากาศมาตรฐาน]] นิยามข้างต้นวัดให้แม่นยำได้ยาก เนื่องจากความหนาแน่นของน้ำขึ้นอยู่กับความดันบรรยากาศ และความดันนิยามโดยมีมวลเป็นองค์ประกอบ ทำให้เกิด[[การขึ้นแก่กันเป็นวงกลม]]ในนิยามของกิโลกรัมข้างต้น
 
เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น จึงได้มีการนิยามกิโลกรัมใหม่ให้เท่ากับมวลของมวลมาตรฐาน''อย่างเที่ยงตรง'' ซึ่งมวลมาตรฐานดังกล่าวสร้างขึ้นโดยให้มีมวลเทียบเท่ากับมวลในนิยามเดิม นับตั้งแต่ปี [[ค.ศ. 1889]] เป็นต้นมา [[หน่วยเอสไอ|ระบบเอสไอ]]นิยามให้มวลหนึ่งกิโลกรัมเท่ากับมวลของ'''มวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม''' ซึ่งเป็นทรงกระบอกสร้างจาก[[โลหะเจือ]][[แพลตินัมแพลทินัม]]-[[อิริเดียม]] ความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลาง 39 มิลลิเมตร เก็บรักษาไว้ที่[[สำนักงานระหว่างประเทศว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด]] (Bureau International des Poids et Mesures) ได้มีการสร้างสำเนาอย่างเป็นทางการของมวลต้นแบบระหว่างชาติฯ ขึ้นหลายชิ้นด้วยกันเพื่อใช้เป็นมวลต้นแบบแห่งชาติ ซึ่งจะนำมาเปรียบเทียบกับมวลต้นแบบระหว่างชาติฯ ("''Le Grand Kilo''" ''เลอกรองกีโล'') ประมาณทุก 10 ปี มวลต้นแบบระหว่างชาติฯ นั้นสร้างขึ้นราว[[คริสต์ทศวรรษ 1880]]
 
หากถือตามนิยาม ความคลาดเคลื่อนระหว่างการเปรียบเทียบซ้ำแต่ละครั้งของนิยามปัจจุบันจะต้องเป็นศูนย์ ทว่าในการถือปฏิบัติโดยทั่วไป ถือว่าความคลาดเคลื่อนดังกล่าวอยู่ในอันดับ 2 [[ไมโครกรัม]] ความคลาดเคลื่อนนี้พบจากการเปรียบเทียบมวลต้นแบบระหว่างชาติฯ กับมวลต้นแบบแห่งชาติทุกชิ้น เนื่องจากมวลต้นแบบแห่งชาติสร้างจากวัสดุเดียวกันและเก็บไว้ในสภาวะเดียวกัน จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะกล่าวได้ว่ามวลต้นแบบระหว่างชาติฯ มีความเสถียรของมวลมากหรือน้อยไปกว่ามวลสำเนาอย่างเป็นทางการชิ้นอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้การประมาณการความเสถียรของมวลต้นแบบระหว่างชาติฯ จึงสามารถกระทำได้ กระบวนวิธีเปรียบเทียบดังกล่าวนี้จะกระทำประมาณทุก 40 ปี