ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อั้งยี่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Secret-soul (คุย | ส่วนร่วม)
สมาคมมืด อั้งยี่ สมาคมลับของจีน
บรรทัด 1:
'''อั้งยี่ ... สมาคมลับของจีน'''
คำสำคัญ '''"อั้งยี่"''' สามารถหมายถึง
 
*อั้งยี่” [[อั้งยี่นั้น (ความผิดอาญา)]]คนทั่วๆ ({{lang-en|secretไปพอจะเดากันได้ว่าเป็นคำมาจากภาษาจีน society}})ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานของเราอธิบายว่า -“สมาคมลับของคนจีน ชื่อ[[ความผิดอาญา]]ฐานเป็นสมาชิก ของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่.อั้งยี่”
* [[อั้งยี่ (สมาคมในประเทศไทย)]] - สมาคมลับของคนจีนในประเทศไทยราวรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์]]
* [[อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร]] - ภาพยนตร์ไทย-ไต้หวันใน พ.ศ. 2543
 
อาจารย์ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต ท่านยังกล่าวต่อไปอีกว่า คำอธิบายของพจนานุกรมนี้ตรงกับประมวลกฎหมายอาญาที่ได้บัญญัติความผิดฐานเป็นอั้งยี่ไว้ในลักษณะความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชนมาตรา ๒๐๙ ซึ่งความผิดฐานนี้ได้บัญญัติไว้นานแล้ว ตั้งแต่ ร.ศ.๑๑๖ อันเป็นมูลฐานมาก่อน” ( “ใครเป็นอั้งยี่ซ่องโจร?” -ปรีชา ทัศน์-ปรีชา สุวรรณทัต-แนวหน้า ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๕)
{{แก้กำกวม}}
 
 
 
เหตุที่ “อั้งยี่” มาจากภาษาจีนนั้น ประวัติศาสตร์ไทยบอกไว้ว่า เกิดแต่สมาคมลับของคนจีนที่มาอาศัยในประเทศไทยตั้งและรวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันประสาผู้พลัดบ้านเมืองมาจากประเทศจีน ครั้นต่อมากระทำการอันละเลยขอบเขตอันชอบด้วยกฎหมายของบ้านเมือง กลายเป็นการพยาบาท แก้แค้นกัน บังคับกันโดยพลการ ทางการจึงต้องออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำในลักษณะอั้งยี่เมื่อ ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๓๒๕+๑๑๖ = ๒๔๔๑) และใช้บังคับแก่คนที่ทำผิดในลักษณะนั้น แม้จะเรียกเป็นภาษาจีนอยู่แต่คงใช้บังคับชนชาติอื่นรวมทั้งชาติไทยด้วย มิใช่บังคับเฉพาะชาวจีนเท่านั้น
 
 
 
อั้งยี่
 
เป็นคำในภาษาจีน หมายถึง สมาคมที่คนจีนตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือกันและกัน โดยมีวิธีดำเนินการ ทั้งที่ชอบ และ มิชอบด้วยกฎหมาย เช่น เรียกค่าคุ้มครอง จากสมาชิก หรือ ผู้อื่น บางครั้ง เมื่อผลประโยชน์ขัดกัน ก็มีการต่อสู้ ฆ่าฟันกัน ทำให้ประชาชน พลอยเดือดร้อนไปด้วย ประเทศไทยได้มี กฎหมายปราบปรามอั้งยี่ ร.ศ. 116 คำว่าอั้งยี่ จึงใช้ในภาษาไทย มานานแล้ว เป็นคำที่รู้จักกันดี
 
คณะบุคคล ดังกล่าวนี้ อาจมีชื่อเรียก แตกต่างกันไป ในแต่ละประเทศ เช่น กลุ่มมาเฟียในประเทศอิตาลี หรือ แก๊งยากูซ่าในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
 
ความผิดฐานอั้งยี่และซ่องโจร นั้นบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 โดยบัญญัติว่าผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท ส่วนความผิดฐานซ่องโจร ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 210 มีองค์ประกอบความผิดดังนี้ คือ
 
1. มีการสมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
 
2. การสมคบกันนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 และ
 
3. ความผิดนั้นมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
 
ความผิดฐานเป็นอั้งยี่และซ่องโจรนั้นมีความมุ่งหมายเพื่อควบคุมและป้องกันมิให้มีการตั้งกลุ่มหรือรวมตัวกัน ของคณะบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการกระทำผิดอาญาต่อชีวิตทรัพย์สินและความสุขของสังคม เช่น กลุ่มวัยรุ่นรวมตัวกัน อาละวาด ปล้น ชิงทรัพย์ผู้อื่น กลุ่มก่อการร้ายรวมตัวกันทำร้ายฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ มิจฉาชีพรวมตัวกันเพื่อวางแผนลักทรัพย์หรือขโมยรถยนต์ เป็นต้น
 
ที่มา panyathai
 
มาดามเฟ:
อั้งยี่แรกมีในเมืองไทย
 
ในจดหมายเหตุของไทยใช้คำเรียกอั้งยี่ต่างกันตามสมัยแต่ความไม่ตรงกับที่จริงทั้งนั้น จึงจะแทรกคำอธิบายเรียกต่างๆลงตรงนี้ก่อน ชื่อของสมาคมที่ตั้งในเมืองจีนแต่เดิมเรียกว่า "เทียนตี้หวย" แปลว่า "ฟ้า ดิน มนุษย์" หรือเรียกโดยย่ออีกอย่างหนึ่งตามภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า "ซาฮะ" แปลว่า องค์สาม เป็นนามของอั้งยี่ทุกพวก ครั้นอั้งยี่แยกกันเป็นหลายกงสี จึงมีชื่อกงสีเรียกต่างกัน เช่น งี่หิน ปูนเถ้าก๋ง งี่ฮก ตั้งกงสี ชิวลิกือ เป็นต้น คำว่าอั้งยี่ แปลว่า "หนังสือแดง" ก็เป็นแต่ชื่อกงสีอันหนึ่งเท่านั้น
 
 
ยังมีชื่อเรียกสำหรับตัวนายอีกส่วนหนึ่ง ผู้ที่เป็นหัวหน้าอั้งยี่ในถิ่นอันหนึ่งรวมกันทุกกงสี เรียกตามภาษาฮกเกี้ยนว่า "ตั้วกอ" ตามภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า "ตั้วเฮีย" แปลว่าพี่ใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้ากงสีเรียกว่า "ยี่กอ" หรือ "ยี่เฮีย" แปลว่าพี่ที่สอง ตัวนายรองลงมาเรียกว่า "ซากอ" หรือ "ซาเฮีย" แปลว่าพี่ที่สาม ในจดหมายเหตุของไทยเดิมเรียกพวกที่เข้าสมาคมเทียนตี้หวยทั้งหมดว่า "ตั้วเฮีย" มาจนรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนคำว่า "ตั้วเฮีย" เรียก "อั้งยี่" ในที่นี้ขอเรียกอั้งยี่มาแต่ต้นเพื่อให้สะดวกแก่ท่านผู้อ่าน
 
 
 
 
อั้งยี่แรกขึ้นมีในเมืองไทยเมื่อรัชกาลที่ ๓ มูลเหตุที่จะเกิดอั้งยี่นั้น เนื่องมาแต่อังกฤษเอาฝิ่นอินเดียเข้าไปขายในเมืองจีนมากขึ้น พวกจีนตามเมืองชายทะเลพากันสูบฝิ่นติดแพร่หลาย จีนเข้ามาหากินในเมืองไทย ที่เป็นคนสูบฝิ่นก็เอาฝิ่นเข้ามาสูบกันแพร่หลายกว่าแต่ก่อน เลยเป็นปัจจัยให้มีไทยสูบฝิ่นมากขึ้น แม้จนผู้ดีที่เป็นเจ้าและขุนนางพากันสูบฝิ่นติดก็มี ก็ในเมืองไทยมากฎหมายห้ามมาแต่ก่อนแล้วมิให้ใครสูบฝิ่ หรือซื้อฝิ่นขายฝิ่น เมื่อปรากฏว่ามีคนสูบฝิ่นขึ้นแพร่หลายเช่นนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงดำรัสสั่งให้ตรวจจับฝิ่นตามกฎหมายอย่างกวดขัน แต่พวกจีนและไทยที่สูบฝิ่นมีมากก็จำต้องลอบหาซื้อฝิ่นสูบ
 
 
เป็นเหตุให้คนลอบขายฝิ่นขึ้นราคาขายได้กำไรงาม จึงมีพวกค้าฝิ่นด้วยตั้งอั้งยี่วางสมัครพรรคพวกไว้ตามหัวเมืองชายทะเลที่ไม่มีการตรวจตรา คอยรับฝิ่นจากเรือที่มาจากเมืองจีนแล้วเอาปลอมปนกับสินค้าอื่นส่งเข้ามายังกงสีใหญ่ ซึ่งตั้งขึ้นตามที่ลี้ลับในหัวเมืองใกล้ๆกรุงเทพฯ ลอบขายฝิ่นเป็นรายย่อยเข้ามายังพระนคร ข้าหลวงสืบรู้ก็ออกไปจับ ถ้าซ่องไหนมีพรรคพวกมากก็ต่อสู้จนถึงเกิดเหตุรบพุ่งกันหลายครั้ง มีปรากฏในหนังสือพงศาวดารว่า
 
 
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เกิดอั้งยี่ในแขวงจังหวัดนครชัยศรี และจังหวัดสมุทรสาคร แต่ปราบปรามได้โดยไม่ต้องรบพุ่งครั้งหนึ่ง ต่อนั้นมา ๒ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๘๗ พวกอั้งยี่ตั้งซ่องขายฝิ่นที่ในป่าแสมริมชายทะเล ณ ตำบลแสมดำ ในระหว่างปากน้ำบางปะกงกับแขวงจังหวัดสมุทรปราการต่อสูเจ้าพนักงานจับฝิ่น ต้องให้กรมทหารปากน้ำไปปราบ ยิงพวกอั้งยี่ตายหลายคน และจับหัวหน้าได้ อั้งยี่ก็สงบลงอีกครั้งหนึ่ง
 
 
ต่อมาอีก ๓ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๙๐พวกอั้งยี่ตั้งซ่องขายฝิ่นขึ้นอีกที่ตำบลลัดกรุด แขวงเมืองสมุทรสาคร ครั้งนี้พวกอั้งยี่มีพรรคพวกมากว่าแต่ก่อน พระยาพลเทพ(ปาน)ซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานจับฝิ่น ออกไปจับเองถูกพวกอั้งยี่ยิงตาย จึงโปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาพระคลังคุมกำลังไปปราบ ฆ่าพวกอั้งยี่ตายประมาณ ๔๐๐ คน และจับหัวหน้าได้จึงสงบ
 
ปราบพวกอั้งยี่ที่ลัดกรุดได้ไม่ถึงเดือน พอเดือน ๕ พ.ศ. ๒๓๙๑ พวกอั้งยี่ก็กำเริบขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทรา คราวนี้ถึงเป็นกบฏ ฆ่าพระยาวิเศษลือชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดตาย แล้วพวกอั้งยี่เข้ายึดป้อมเมืองฉะเชิงเทราไว้เป็นที่มั่น โปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ยกพลจากเมืองสมุทรสาครไปปราบ พวกอั้งยี่ที่เมืองฉะเชิงเทราต่อสู่พ่ายแพ้ พวกจีนถูกฆ่าตายกว่า ๓,๐๐๐ คน อั้งยี่เมืองฉะเชิงเทราจึงสงบ ต่อมาอีก ๒ ปีก็สิ้นรัชกาลที่ ๓
 
atcloud
 
มาดามเฟ:
 
อั้งยี่ เป็นสมาคมลับที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์จะช่วยเหลืออนุเคราะห์กลุ่มชาวจีนด้วยกันเอง ต่อมาสมาคมเหล่านี้ดำเนินงานอย่างไร้ระเบียบ ก่อปัญหารุนแรงขึ้นหลายครั้งจนทางการต้องใช้อำนาจขั้นเด็ดขาดเข้าจัดการ
 
สมาคมอั้งยี่ลักลอบนำฝิ่นเข้ามาขายในประเทศไทย ซึ่งในเวลานั้นมีคนไทยและจีนติดฝิ่นเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2390 พวกอั้งยี่ก่อเหตุขึ้นครั้งแรก ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยเริ่มไม่ไว้ใจคนจีนตั้งแต่นั้นมา ต่อมาก่อนจะสิ้นรัชกาลที่ 4 ในปี พ.ศ. 2410 อั้งยี่ในเมืองภูเก็ตสองก๊กคือ ก๊กงี่หิน มีกำลังประมาณ 3,500 คนกับ อั้งยี่ก๊กปูนเถ้าก๋ง มีกำลังประมาณ 4,000 คน เกิดปะทะกัน สาเหตุจากการแย่งชิงสายน้ำแร่ดีบุก ทางการในเมืองภูเก็ตเข้าระงับเหตุไม่สำเร็จ ต้องขอกำลังจากกรุงเทพไปปราบ พวกอั้งยี่เกรงกำลังจากกรุงเทพจึงอ่อนน้อมโดยดี เหตุการณ์จึงได้สงบลง
 
การก่อเหตุของอั้งยี่
 
2410 - 2411 อั้งยี่กำเริบที่ระนอง และภูเก็ต ทางการต้องยกกองทัพไปปราบ
2432 อั้งยี่กำเริบที่กรุงเทพ ยิงกันเอง ทางการต้องเข้าปราบปราม
2436-2439 อั้งยี่กำเริบที่ปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา
2438 อั้งยี่กำเริบที่ตลาดพลู ธนบุรี
2438-2440 อั้งยี่กำเริบที่จันทบุรี
 
วิกิพิเดีย
มาดามเฟ:
 
วิญญาณอั่งยี่ ตำนานเฮี้ยนที่วัดเมือง
 
 
 
ย้อนไปก่อนหน้าปีพุทธศักราช 2450
 
ยังคงมีเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นจริงที่ผู้เฒ่าผู้แก่ใน จ. ฉะเชิงเทรา
 
คงจะยังจำกันได้ในเหตุการณ์อันชวนขนลุกและขวัญผวาถึงกิตติศัพท์ความเฮี้ยน ของเหล่าดวงวิญญาณ "ตายโหง"
 
ที่ยังไม่ไปผุดไปเกิด โดยดวงวิญญาณนับร้อยๆดวงยังคงเร่ร่อน
 
ปรากฏกายหลอกหลอนผู้คน อยู่ ณ แดนประหารในวันที่ครั้งหนึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองในฐานะที่เคยเป็นวัดประจำเมืองฉะเชิงเทราในสมัยโบราณ
 
ซึ่งว่ากันว่าเจริญกว่าวัดพระพุทธโสธรในปัจจุบันนี้เสียอีก วัดแห่งนั้นชื่อว่า "วัดเมือง" หรือว่า "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์"
 
ผู้เขียนเมื่อได้ทราบความเป็นมาของดวงวิญญาณ
 
ที่เคยสิงสถิตอยู่ภายในวัดแห่งนี้ก็รีบเดินทางเพื่อไปสำรวจสถานที่ และสภาพในปัจจุบันทันที
 
และพบว่าปัจจุบันวัดเมืองจากที่เคยรุ่งเรืองกลับกลายเป็นวัดเล็กๆที่ดูเงียบสงัด ทั้งๆที่วัดนี้ก็อยู่ไม่ห่างจากวัดพระพุทธโสธรที่มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มากนัก
 
แต่ก็ไม่ค่อยมีใครมาเที่ยววัดนี้เท่าที่ควร
 
 
ที่วัดเมืองแห่งนี้ในอดีตขึ้นชื่อว่า "ผีดุ" มากเพราะเป็นแหล่งรวมของดวงวิญญาณนับร้อย ที่ต้องตายอย่างเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน
 
จนกลายเป็นตำนานเฮี้ยนของเหล่าดวงวิญญาณที่ผู้คนใน จ.ฉะเชิงเทรายุคก่อนๆ เล่าสืบต่อกันมาจนถึงรุ่นลูกหลาน
 
"วัดเมือง" จ.ฉะเชิงเทราในอดีตเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ไทย
 
โดยเมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ครั้งนั้นบ้านเมืองเราเจริญรุ่งเรืองทางการค้ากับต่างประเทศเป็นอย่างมาก
 
ถึงขนาดแต่งสำเภา นำสินค้าของไทยไปขายยังเมืองจีน ขนกำไรการค้าเป็นเงินตราจากเมืองจีนกลับมามากมาย
 
นอกจากนี้ยังมีการติดต่อการค้ากับยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ
 
ทั้งๆที่ขณะนั้นอังกฤษกำลังล่าอาณานิคมในแถบเอเชียอาคเนย์ แต่ถึงแม้เราจะทำการค้ากับอังกฤษเราก็คงไม่ประมาท
 
ด้วยสายพระเนตรยาวไกล รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างค่ายคูประตูเมือง ด้านที่ติดกับทะเล
 
เพื่อป้องกันการรุกรานอธิปไตยของต่างชาติ
 
โดยจัดงบประมาณแผ่นดินทำการซ่อมแซมป้อมปราการเดิมของทุกเมืองให้แข็งแรงมั่นคง และสร้างป้อมปราการใหม่เช่น ค่ายเนินวง เมืองจันทบุรี
 
และกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ติดกับปากอ่าว อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางทะเล
 
สำหรับเมืองฉะเชิงเทรา พระองค์โปรดเกล้าฯให้ "กรมหลวงรักษ์รณเรศ"
 
ซึ่งเป็นพระปิตุลาหรือลุงของพระองค์เป็นแม่กองมาควบคุมการสร้างกำแพงเมืองและประตูเมืองฉะเชิงเทรา ในปีพ.ศ.2377
 
(ซึ่งแนวกำแพงเมืองเก่านี้ก็อยู่ไม่ไกลจากวัดเมืองมากนัก) และเมื่อสร้างกำแพงและประตูเมืองเสร็จแล้ว
 
กรมหลวงรักษ์รณเรศก็ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
 
สร้างวัดขึ้นใกล้กับกำแพงและประตูเมือง วัดที่สร้างนี้ชาวบ้านมักเรียกกันว่า "วัดเมือง"
 
เพราะในอดีตบริเวณที่สร้างวัดคือใจกลางเมืองแปดริ้วนั่นเอง แต่ทางราชการตั้งชื่อว่า "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์"
 
เล่ามาเสียยืดยาวจนหลายคนอาจสงสัยว่าแล้ววัดเมืองแห่งนี้
 
ไปเกี่ยวเนื่องกับความเฮี้ยนของเหล่าวิญญาณพวก "อั้งยี่" ได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของเมืองฉะเชิงเทราเลยทีเดียว
 
โดยเมื่อครั้งหนึ่งเมืองฉะเชิงเทรานี้มีเจ้าเมืองปกครองดูแล ต่อมาได้เกิดปัญหากับชาวจีนที่ตั้งก๊กเรียกตัวเองว่า "อั้งยี่"
 
ซึ่งทำการขยายอำนาจ อิทธิพลจากเมืองชลบุรี เข้ามายังฉะเชิงเทรา
 
และทำการเรียกเก็บค่าคุ้มครองหรือภาษีเถื่อนแข่งกับทางการ จนเจ้าเมืองฉะเชิงเทราขณะนั้นต้องนำกำลังไปปราบปราม
 
จนพวกอั้งยี่แตกไปคนละทิศทาง แต่ตัวการใหญ่ที่หนีไปกลับไม่ยอมแพ้ ได้หวนกลับมารุมทำร้ายเจ้าเมืองและทหารคนสนิทในจวน
 
กระทั่งเสียชีวิต มิหนำซ้ำยังตัดศีรษะเจ้าเมืองนำมาประจาน
 
เพื่อข่มขวัญผู้คนให้เกรงกลัว และยังได้ประกาศให้เมืองฉะเชิงเทราเป็นอาณาจักรของพวกอั้งยี่อีกด้วย
 
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 2391 ณ เวลานั้นความได้ทราบไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
 
พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้กองทัพหลวงยกมาทั้งทางน้ำและทางบก
 
ไปรวมกันในเมืองฉะเชิงเทรา ครั้งนั้นฝ่ายอั้งยี่ได้เข้ายึดวัดเมือง เป็นฐานที่ตั้งสุมกำลังเพื่อสู้กับทัพเมืองบางกอก
 
แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ พวกที่ตายก็ตายไป ฝ่ายที่เหลือก็ถูกจับเป็นเชลย และก็ยังมีบางส่วนที่หนีตายจากฉะเชิงเทราไปอยู่ที่บางปลาสร้อย เมืองชลบุรี
 
ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับเมืองฉะเชิงเทรา ครั้งนั้น รัชกาลที่ 3
 
ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศว่า
 
"อันการกระทำของอั้งยี่คราวนี้เป็นขบถต่อแผ่นดิน และยังกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการตัดศีรษะเจ้าเมือง
 
อันเป็นตัวแทนต่างพระเนตรพระกรรณให้มาปกครองเมือง เอาศีรษะมาเสียบประจานให้ลงโทษประหารเชลยทุกคน
 
และผู้ให้ความร่วมมือทั้งหมด และให้ไล่ตามจับกุมอั้งยี่ที่หนีตาย
 
จากฉะเชิงเทราไปอยู่ที่บางปลาสร้อยกลับมาประหารชีวิตทั้งหมด"
 
สถานที่ประหารชีวิตพวกอั้งยี่ ณ เวลานั้น ก็คือ บริเวณโคนต้นจันทน์ใหญ่ของวัดเมือง
 
เล่ากันว่าเหตุการณ์ชวนสยดสยองให้เวทนาน่าสงสาร
 
และแม้ว่าเหล่าอั้งยี่จะส่งเสียงร้องร่ำไห้ ขอชีวิตอย่างไร
 
เหล่าเพชฌฆาตก็ยังคงทำหน้าที่โดยจับนักโทษมามัดติดกับหลักประหาร และผลัดเปลี่ยนกันลงดาบนักโทษนับร้อยๆคนจนเลือดสาดกระจาย
 
เนืองนองไปทั่วหลักประหารในวัดเมืองส่งกลิ่นเหม็นคาวคลุ้งน่าสะอิดสะเอียน
 
มาดามเฟ:
 
 
 
การประหารชีวิต "อั้งยี่" ที่วัดเมืองครั้งนั้นเป็นข่าวดังไปทั่วหัวเมืองต่างๆ
 
 
บ้างก็รู้สึกสาสมใจ บ้างก็สงสารและเกิดทุกขเวทนา
 
ศพอั้งยี่แต่ละศพเป็น "ผีหัวขาด" และถูกนำไปฝังแบบไร้ญาติ ไม่มีใครกล้ามาขอรับศพไปทำพิธีให้ถูกต้องตามประเพณีเพราะเกรงว่า
 
อาจจะถูกประหารตามไปด้วย ข้อหาสมรู้ร่วมคิด
 
จึงจำต้องปล่อยให้พ่อ แม่ ลูก และพี่น้องของตัวเองถูกตัดหัวไปต่อหน้าต่อตา
 
ความตายของอั้งยี่นั้นทุกข์ทรมานนัก จิตสุดท้ายก่อนสิ้นลมเต็มไปด้วยความกลัว มีอารมณ์โกรธแค้น ชิงชัง
 
ยามที่วิญญาณออกจากร่าง จิตจึงยึดอารมณ์ดังกล่าวเป็นที่ตั้ง จนนำพาไปยัง "ทุคติภูมิ"
 
อยู่ในโลกของวิญญาณในภพภูมิที่ทุกข์ทรมาน
 
แรงอาฆาตพยาบาทความแค้นที่ฝังใจก่อนตาย ทำให้วิญญาณแต่ละดวงไม่สงบสุข หาทางไปเกิดก็ไม่ได้
 
เพราะเป็นวิญญาณตายโหงที่ยังไม่ถึงเวลาตายแต่ด้วยกรรมมาตัดรอนจำต้องตาย วิญญาณทั้งหลายจึงสิงสถิตอยู่ในวัดเมืองเต็มไปหมด
 
วัดเมืองจึงขึ้นชื่อว่าเป็นวัดผีดุมานับแต่นั้น
 
 
"วัดเมือง" หลังจากเสร็จศึกเหตุการณ์นองเลือดระหว่างทหารบางกอกกับกบฏอั้งยี่แล้ว ก็ได้กลายเป็นวัดร้าง สภาพวัดชำรุดทรุดโทรม
 
เพราะถูกอั้งยี่เผาทำลาย ทั้งยังถูกลูกหลงจากกระสุนปืนใหญ่ ทำให้สภาพวัดเสื่อมโทรมลงมาก และยังไม่ทันที่ "กรมหลวงรักษ์รณเรศ"
 
จะขอพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากงบประมาณแผ่นดิน
 
มาบูรณะวัดเมือง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ก็มาเสด็จสวรรคตเสียก่อน เป็นที่น่าเสียดาย
 
และเมื่อผลัดแผ่นดินใหม่แล้วในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 อำนาจของกรมหลวงรักษ์รณเรศก็ลดลง ไม่มีทางใดที่จะได้เงินหลวงมาทำนุบำรุงวัด
 
จึงต้องบูรณะวัดด้วยกำลังทรัพย์ที่พึงมีของท่านเอง
 
และหลังจากนั้นไม่นาน กรมหลวงรักษ์รณเรศก็ต้องพระราชอาญาแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
 
โดยถูกสั่งประหารด้วยการใช้ท่อนจันทน์ทุบที่พระนาภีจนสิ้นชีพิตักษัย ซึ่งในประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นการประหารชีวิตเชื้อพระวงศ์ครั้งสุดท้าย
 
ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ และตั้งแต่นั้นมาวัดเมืองก็ไม่มีการบูรณะวัดใดๆอีกเลย
 
ทำให้กลายเป็นวัดร้างที่ทรุดโทรม บรรยากาศน่ากลัวจนไม่มีใครกล้าเดินผ่านในยามค่ำคืน
 
ด้วยกิตติศัพท์ "ความเฮี้ยน" ที่เคยมีผู้พบเห็น "ผีอั้งยี่" ผู้ประสบเหตุหลายคนเล่าว่า
 
เคยเห็นคนจีนเลือดท่วมตัว หิ้วหัวเดินรอบวัด
 
บางคนเป็นคนแขนขาขาด ไส้ไหล เดินโซซัดโซเซ ผอมเหลือแต่กระดูก สภาพอดอยากหิวโหย ไม่มีใครทำบุญไปให้เพราะญาติพี่น้องหรือคนรู้จักก็คงกลัวว่า
 
ถ้าจะนำเครื่องเซ่นไปไหว้ตามประเพณีจีนก็กลัวจะถูกจับอีก จึงทำให้วิญญาณอดโซทรมานจนต้องอาละวาดหลอกหลอนหนักขึ้นไปอีก
 
มีเรื่องเล่าจากผู้ที่อยู่ใกล้วัดเมืองผู้หนึ่ง เล่าว่าสมัยที่เธอยังเด็ก
 
ก๋งเคยพามาเที่ยวที่วัดนี้ ก๋งยังชี้ให้ดูหลักประหารและบอกว่า สถานที่บริเวณโคนต้นจันทน์นี้ เคยใช้เป็นที่ประหารคนจีนหรืออั้งยี่นับร้อยๆคน
 
แม้แต่เมื่อหมดสมัยอั้งยี่แล้ว เจ้าเมืองยุคต่อมาเมื่อจะประหารชีวิตใครก็มักจะใช้วัดเมืองเป็นแดนประหาร เพราะเงียบสงัด
 
ปราศจากผู้คนจึงทำให้วัดดูน่ากลัว ยิ่งขึ้นไปอีกจนไม่มีใครกล้าผ่านไปมา
 
โดยเฉพาะยามค่ำคืน
 
จนถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปีพุทธศักราช 2450 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาวัดเมืองเพื่อตรวจวัด
 
เมื่อเห็นสภาพที่เสื่อมโทรมมาก พระองค์จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อซ่อมแซมวัดจนอยู่ในสภาพดีดังเดิม
 
พร้อมพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ประดับไว้ที่หน้าบันพระอุโบสถ
 
และพระราชทานนามวัดใหม่เป็น "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏ์"
 
เล่ากันว่าแม้สภาพของวัดเมืองจะถูกปรับปรุงให้สวยงาม มีชีวิตชีวาดังเดิมแล้วก็ตาม แต่เรื่องราวความเฮี้ยนของ "ผีอั้งยี่"
 
ก็ยังคงมีต่อเนื่องตลอดเวลาจนสมาคมจีนใน จ.ฉะเชิงเทรา ต้องทำพิธีปลดปล่อยวิญญาณอั้งยี่ที่ทนทุกข์ทรมานให้ไปเกิดจึงจัดพิธีล้างป่าช้าขึ้นที่วัดเมืองถึง 2 ครั้ง
 
และในการขุดครั้งแรก พอบรรดาเซียนได้เขียนชื่อปักธง
 
ขุดเอาโครงกระดูกขึ้นมาทำพิธีก็ได้พบหลักฐานยืนยันถึงการประหารชีวิตนักโทษอั้งยี่อย่างชัดเจน
 
ศพหลายศพถูกขุดพบพร้อมโซ่ตรวน เครื่องพันธนาการ ศพจำนวนมากศีรษะหาย บางศพแขน ขาขาดอวัยวะไม่ครบสมบูรณ์
 
สันนิษฐานว่าคงเป็นศพที่ตายระหว่างการสู้รบ นอกจากนี้ยังพบเครื่องประดับ
 
ประเภทแหวนหยก ป้ายหยก ที่ติดตัวศพในสภาพที่ชำรุด ศพถูกนำมาชำระล้างทำความสะอาดเพื่อนำไปประกอบพิธีทางจีน
 
คือการส่งวิญญาณ โดยครั้งนั้นชาวจีนสกุลแซ่ต่างๆ ในฉะเชิงเทราและชลบุรี มาร่วมเป็นเจ้าภาพอย่างมากมาย
 
แต่แม้ว่าทางสมาคมชาวจีนจะทำการล้างป่าช้าแล้วก็ตาม
 
ปรากฏว่าเรื่องราวของ "ผีอั้งยี่" ที่วัดเมืองก็ยังไม่เลิกเฮี้ยน จึงต้องทำพิธีล้างป่าช้าเป็นครั้งที่ 2 โดยเปลี่ยนองค์เซียนซือใหม่
 
จากนั้นความเฮี้ยนจึงค่อยๆเบาบางลง แต่ก็ยังมีผู้เจอวิญญาณบางดวงอยู่ที่โคนต้นจันทน์ซึ่งเป็นที่ตั้งหลักประหาร
 
จนต้องไปให้ผู้มีญาณตรวจดูจึงรู้ว่ายังมีวิญญาณอีกหลายดวง
 
ที่คงสิงสถิตอยู่กับหลักประหาร หากจะให้วิญญาณเหล่านี้สงบก็ต้องทำพิธีขุดเอาเสาหลักประหารขึ้นมาจากดิน
 
และทำพิธีสะกดวิญญาณพร้อมทั้งต้องปรับพื้นที่บริเวณนั้นให้เสมอกัน เทปูนปิดทับรอยหลักประหารให้หมด
 
แล้วความเฮี้ยนหรืออาถรรพ์ทั้งหลายก็จะค่อยๆหมดไป
 
 
สำหรับต้นจันทน์ที่เคยเป็นจุดปักหลักประหารนี้ปัจจุบันก็ยังคงอยู่และผู้นำรูปหล่อของ "พ่อปู่ชีวกโกมารภัจจ์" มาตั้งไว้เพื่อแก้เคล็ดบางอย่าง
 
โดยเชื่อกันว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ประหารชีวิตคนจึงต้องให้ปูชีวกฯ มาช่วยชีวิตคน
 
"วัดเมือง" ในปัจจุบันมีการบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ โดยกรมศิลปากรได้มาสำรวจ และขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของ จ.ฉะเชิงเทรา
 
ในบริเวณวัดด้านข้างวิหารก็เป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อไกรสร
 
หรือศาลเจ้าพ่อกรมหลวงรักษ์รณเรศ ซึ่งภายในศาลมีรูปหล่อของท่านในชุดแม่ทัพ ใครผ่านไปผ่านมาที่เคยทราบประวัติของวัดดีก็มักจะมาสักการะ
 
ในฐานะที่ท่านได้สร้างวัดนี้ขึ้น และถือว่าเป็นศาลเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งของฉะเชิงเทรา
 
เรื่องนี้จึงเป็นอีกหนึ่งตำนานความเฮี้ยนของหลายร้อยดวงวิญญาณ
 
ที่แม้จิตจะละจากร่างเดิมแล้วก็ยังไม่สามารถไปผุดไปเกิดได้ เพราะจิตยังคงยึดติดอยู่กับโลกมนุษย์ นั่นเพราะ "อารมณ์สุดท้าย"
 
เมื่ออยู่ในภาวะใกล้ตายเป็น "อกุศล" โกรธ เคียดแค้น กลัว ผูกพัน ห่วงหา หรือเสียใจอย่างหนัก
 
ดังนั้น หากว่าเราทุกคนต้องการจะจากไปสู่ "โลกหลังความตาย" อย่างสุขสงบแท้จริง เราจำต้อง "ปล่อยวาง" ตัดตนและทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยมี และเคยเป็นบนโลกไว้ข้างหลัง