ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจับ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 55:
 
ราษฎรที่พบเห็น[[ความผิดซึ่งหน้า|การกระทำความผิดซึ่งหน้า]] สามารถจับผู้กระทำความผิดนั้นได้<ref>ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 79<br><blockquote>"ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่งมาตรา 82 หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ด้วย"</blockquote></ref> วิธีจับ ให้ราษฎรผู้จับแจ้งบุคคลนั้น ๆ ว่า ''"คุณต้องถูกจับ"'' จากนั้น ให้สั่งให้เขาเดินทางไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีนั้นหรือผู้มีอำนาจในท้องที่นั้นพร้อมด้วยราษฎรผู้จับ<ref name = "CCrP-S83-P1"/>
 
ในการจับ ห้ามเจ้าพนักงานฉุดคร่าผู้ถูกจับไป เพียงให้บอกข้างต้นแล้วสั่งให้เขาไปหรือพาเขาไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนเท่านั้น แต่ถ้าเขาขัดขวางหรือหลบหนี หรือจะทำเช่นนั้น เจ้าพนักงานมีอำนาจใช้มาตรการต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นตามสถานการณ์<ref name = "CCrP-S83-P1"/> <ref name = "CCrP-S83-P3"/>
 
เมื่อถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนจะรับมอบตัวผู้ถูกจับไว้ และทำบันทึกชื่อ อาชีพ ที่อยู่ของผู้จับ อีกทั้งพฤติการณ์แห่งการจับนั้นไว้ แล้วให้ผู้จับลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าวไว้เป็นสำคัญ จากนั้น พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อกล่าวหา และเหตุผลที่จับ ให้ผู้ถูกจับทราบ พร้อมกับแจ้งสิทธิอย่างเดียวกับกรณีการจับโดยเจ้าพนักงานข้างต้น<ref>ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง<br><blockquote>"เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา 83 โดยทันที และเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้</blockquote>
<blockquote>"(1) ...</blockquote>
<blockquote>"(2) ในกรณีที่ราษฎรเป็นผู้จับ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัว บันทึกชื่อ อาชีพ ที่อยู่ของผู้จับ อีกทั้งข้อความและพฤติการณ์แห่งการจับนั้นไว้ และให้ผู้จับลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นสำคัญ เพื่อดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ และแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้"</blockquote>
</ref>
 
หลังจากจับแล้ว พนักงานสอบสวนจะถามปากคำผู้ถูกจับเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนความผิดอาญา ในระหว่างนี้ พนักงานสอบสวนมีอำนาจปล่อยเขาไปชั่วคราว หรือจะขังเขาไว้ก่อนก็ได้ โดยถ้าจะขัง พนักงานสอบสวนจะปฏิบัติเช่นเดียวกับกรณีการจับโดยเจ้าพนักงานดังพรรณนามาแล้วนั้น
 
<!--
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/การจับ"