ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุศาสนาจารย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ไม่เป็นสารานุกรม}}
'''อนุศาสนาจารย์'''<ref>[http://www.cpc.rtaf.mi.th/?page_id=3 ประวัติความเป็นมากองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ]</ref> ({{lang-en|Chaplain}}) มาจากคำว่า อนุศาสนา+อาจารย์ ในภาษาไทย มีความหมายถึงข้าราชการทหารที่ทำหน้าที่ดูแลด้านกิจการศาสนาในกองทัพ (แต่เป็นฆราวาส มิใช่นักบวช) ขอบข่ายงานของอนุศาสนาจารย์นั้น มีดังต่อไปนี้ 1.เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณทางศาสนาของตน 2.ผู้นำประกอบพิธีทางศาสนาของตน 3.ให้คำแนะนำและคำปรึกษาพื้นฐานตามจริยธรรมและศาสนศาสตร์ของตน 4.ผู้สอนศาสนธรรมให้แก่ศาสนิกชนของศาสนาตน 5.ให้คำปรึกษาแก่ทุกคนที่ต้องการคำปรึกษาไม่จำกัดเฉพาะศาสนิกของตนเท่านั้น 6.จัดหาทรัพยากรทางด้านศาสนาให้กับผู้ที่ต้องการ
บทบาทของอนุศาสนจารย์ในความหมายเดิมคือ Chaplain ในภาษาอังกฤษนั้น ทำงานทั้งในสถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และกองทัพด้วย แต่ในภาษาไทย คำว่า อนุศาสนาจารย์ ใช้ค่อนข้างเป็นการเฉพาะจำกัดในกองทัพเท่านั้นก่อนเป็นหลัก มิได้ใช้ทั่วไปกองกองทัพมากนัก (เว้นแต่ในราชการของกรมราชทัณฑ์) และมีความหมายต่างจาก ศาสนาจารย์ (Minister) ในศาสนาคริสต์บางนิกาย ซึ่งไม่ได้หมายถึงข้าราชการทหาร
 
ในยุคแรกเริ่มก่อตั้ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกุรณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดให้มีอนุศาสนาจารย์ออกไปประจำในกองทัพสยามที่ออกไปงานพระราชสงคราม ณ ทวีปยุโรป (คือสงครามโลกครั้งที่ 1) โดยจัดจากข้าราชการพลเรือนที่มีความรู้ทางพุทธศาสนาดีในระดับเปรียญ ต่อมาสมัยหลังจึงมีอนุศาสนาจารย์ที่เป็นนายทหาร และต่อมาอีกจึงขยายไปทางราชการพลเรือน คือตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ในกรมราชทัณฑ์ ซึ่งทำงานดูแลนักโทษ เพิ่มขึ้นมาด้วย
 
==ดูเพิ่ม==