ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันดับลิ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
ลิ่นมีเล็บที่แหลมคมและยื่นยาว ใช้สำหรับขุดพื้นดินหาอาหารและขุดโพรงเป็นที่อยู่อาศัยและพักผ่อน และปีนต้นไม้ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลา[[กลางคืน]]
 
ลิ่นออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 1-2 ตัว [[ตั้งท้อง]]นานราว 130 วัน เมื่อแรกเกิด ลูกลิ่นจะมีเกล็ดติดตัวมาตั้งแต่เกิด และจะเกาะกับแม่ตรงบริเวณโคนหาง ซึ่งลูกลิ่นวัยอ่อนจะยังไม่มีเกล็ดแข็งเหมือนกับลิ่นวัยโต แต่จะค่อย ๆ แข็งขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเจริญเติบโต<ref>[http://sarakade.itgo.com/animal6.html ตัวนิ่ม]</ref>
 
ลิ่นมีทั้งหมด 8 ชนิด (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์ไปในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับใน[[ประเทศไทย]]พบ 2 ชนิด คือ [[ลิ่นซุนดา]] หรือ ลิ่นชวา (''M. javanica'') ที่พบได้ทั่วไปทุกภาค กับ[[ลิ่นจีน]] (''M. pentadactyla'') ที่มีรายงานการพบเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น บริเวณ[[อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2483]] ซึ่งมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่า หางสั้นกว่า และมีสีที่คล้ำกว่า<ref>[[กองทุนสัตว์ป่าโลก]], ''สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน'' ([[กรุงเทพมหานคร]], [[พ.ศ. 2543]]) ISBN 974-87081-5-2</ref>
บรรทัด 43:
 
โดยผู้ที่เข้าป่าหาตัวลิ่นจะใช้[[สุนัข]]ดมกลิ่นตามล่า หากลิ่นปีนขึ้นต้นไม้ ก็จะใช้การตัดต้นไม้ต้นนั้นทิ้งเสีย โดยการค้าตัวลิ่นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะลิ่นไม่ว่าชนิดไหน ในประเทศไทย ถือว่าเป็น[[สัตว์ป่าคุ้มครอง]] ตาม[[พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535]] และมีกฎหมายคุ้มครองระหว่างประเทศอีกด้วย ผู้กระทำผิดจะได้รับโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุก 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ <ref>บุญเลิศ ชายเกตุ, ''ตัวนิ่ม สัตว์ป่าราคาแพง...วันนี้เสี่ยงสูญพันธุ์ นักเปิบยังนิยม'ขบวนการซื้อขาย'ไม่เข็ดขยาดกฎหมาย'' [[เดลินิวส์]] หน้า 12: [[วันศุกร์]]ที่ [[12 มกราคม]] [[พ.ศ. 2555]] ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 [[ปีเถาะ]]</ref>
 
ซึ่งคำว่า "Pangolin" ซึ่งเป็น[[คำศัพท์]]ในภาษาอังกฤษที่เรียกลิ่นนั้น มาจาก[[ภาษามาเลย์]]คำว่า ''Peng-goling'' แปลว่า ''"ไอ้ตัวขด"''<ref>[http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakU0TURVMU1nPT0=&sectionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBd09TMHdOUzB4T0E9PQ== ลิ่นหรือนิ่ม จาก[[ข่าวสด]]]</ref>
 
==ดูเพิ่ม==