ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไมโครทิวบูล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kunemata (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kunemata (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
ในเซลล์แต่ละเซลล์นั้น จะมีจุดซึ่งเป็นศูนย์กลางในการสร้างไมโครทิวบูล ซึ่งศูนย์กลางในการสร้างนั้นจะมีอยู่หลายจุดด้วยกัน ได้แก่ที่เซนโทรโซม แฟลเจลลา ซีเลีย เบซัลบอดี เป็นต้น สำหรับการสร้างนั้นจะเริ่มจากการสร้างส่วนที่เป็นแกนกลางขึ้นมาก่อนโดยอาศัยแกมมา-ทิวบูลิน แล้วจึงจะมีการต่อสายยาวโดย heterodimer ตามมา จนเกิดเป็นไมโครทิวบูลในที่สุด<br />
 
สำหรับ [[เซนโทรโซม]] (centrosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์สัตว์เท่านั้น และพบบริเวณใกล้กับ[[นิวเคลียส]]ของเซลล์ เซนโทรโซมประกอบด้วยเซนทริโอล 2 อัน วางตั้งฉากกัน ทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการแบ่งเซลล์ <br />
 
สำหรับหน้าที่ในการลำเลียงสารของไมโครทิวบูลนั้นจะมีการทำงานร่วมกับโปรตีน 2 ชนิด เรียกว่า Microtubule Associated Protein ซึ่งมีโครงสร้างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) จับกับไมโครทิวบูล และส่วนหาง (Tail) จับกับสารที่ต้องการลำเลียง โปรตีนตัวแรกมีชื่อว่า ไคนีซิน (Kinesis) ทำหน้าที่ในการลำเลียงสารออก เรียกวิธีการลำเลียงนี้ว่า Anterograde transport ส่วนโปรตีนอีกชนิดซึ่งทำหน้าที่ในการลำเลียงสารเข้าเรียกว่า ไดนีน (Dynein) เรียกวิธีการลำเลียงนี้ว่า Reterograde transport ตัวอย่างการทำงานเช่น การลำเลียงสารสื่อประสาทออกจากปลายประสาท การลำเลียงไมโทคอนเดรียเข้ามาในเซลล์ประสาท เป็นตัน<br />
<br />
 
หน้าที่ของไมโครทิวบูล คือจัดระเบียบออร์แกเนลล์ต่างๆภายในเซลล์ เป็นตัวสร้างเส้นใยสปินเดิลซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการแบ่งเซลล์ สร้างออร์แกเนลล์อื่นๆ รวมทั้งทำงานร่วมกับโปรตีนอื่นเพื่อทำหน้าที่ในการลำเลียงสาร
 
สารที่มีผลต่อการทำงานของไมโครทิวบูล เช่น Nokodazol ยับยั้งการสร้างไมโครทิวบูล Colchicine สกัดจากดอกดองดึง สลายโครงสร้างไมโครทิวบูล Vinblastin หรือ Vincristin สกัดจากดอกแพงพวย สลายโครงสร้างของไมโครทิวบูลเช่นกัน และ Taxol ช่วยเพิ่มความคงตัวของไมโครทิวบูล เป็นต้น
 
สำหรับในเซลล์พืชนั้น บทบาทในการคงรูปร่างของเซลล์ของไมโครทิวบูลจะไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก เพราะเซลล์พืชจะมี[[ผนังเซลล์]] (cell wall) ช่วยในการคงรูปร่างของเซลล์อยู่แล้ว
 
== อ้างอิง และเชิงอรรถ ==